For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พืชกรรมสวน.

พืชกรรมสวน

สวนไม้ดอกในฝรั่งเศส

พืชกรรมสวน หรือ วิชาพืชสวน (อังกฤษ: horticulture) คือวิชาที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งการเพาะปลูกพืชผล นักพืชสวน หรือพืชกรสวน (horticulturists) ทำงานและปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยในงานในสาขาการขยายพันธุ์พืช การเพาะปลูก การผลิตกรรมทางเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช งานวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ชีวเคมีพืช และสรีรวิทยาพืช ขอบเขตของงานเกี่ยวข้องกับ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล เบอร์รี (berries) ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nuts) ผัก ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและหญ้าสนาม พืชกรทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผล คุณค่าทางอาหารของพืชผลและการต้านทานต่อโรค แมลงและสภาพเครียดทางสิ่งแวดล้อม

การศึกษาด้านพืชกรรมสวน

[แก้]

การศึกษาด้านพืชสวนแบ่งออกได้เป็น 8 สาขาซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มกว้าง ๆ ได้ 2 กลุ่มคือ พืชประดับ (ornamentals) และพืชอาหาร (edibles)

  • รุกขกรรม (arboriculture) อันได้แก่การศึกษา การคัดเลือก การปลูก การดูแลรักษาและการโค่นต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้หลายปีมีแก่น (perennial woody plants)
  • บุษบากรรม หรือวิชาไม้ดอก (floriculture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดด้านพืชผลไม้ดอก
  • พืชกรรมภูมิทัศน์ (landscape horticulture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดและการดูแลรักษาพืชพรรณภูมิทัศน์ (landscape plants)
  • วิชาพืชผัก (olericulture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดพืชผัก
  • วิทยาไม้ผล (pomology) ได้แก่การผลิตและการตลาดผลไม้
  • วิชาการปลูกองุ่น (viticulture) ได้แก่ ได้แก่การปลูกและการตลาดองุ่น
  • สรีรวิทยาหลังเก็บเกี่ยว (postharvest physiology) ได้แก่การรักษาคุณภาพและป้องกันการเน่าเสียของผลิตผลพืชสวน

พืชกรสวนทำงานในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและสถาบันการศึกษา หรือเป็นนักสะสมเอกชน พวกเขาสามารถวิศวกรระบบพืชผล (cropping systems engineers) ผู้จัดการธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายพันธุ์และเพาะเนื้อเยื่อ (ไม้ผล ผัก ไม้ดอกและหญ้า) เป็นผู้ตรวจพืชผล ที่ปรึกษาด้านการผลิต ผู้เชี่ยวชาญงานอบรม นักปรับปรุงพันธุ์ นักวิจัยและครูอาจารย์

สาขาวิชาหรืออาชีพที่สัมพันธ์เกื้อกูลกับวิชาพืชกรรมสวนรวมถึง ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ กีฏวิทยา เคมี คณิตศาสตร์ พันธุศาสตร์ สรีรวิทยา สถิติ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ การสื่อสาร การออกแบบสวน การออกแบบปลูกต้นไม้ พืชศาสตร์ วิชาในสาขาพืชกรรมสวนรวมถึง วัสดุพืชพรรณ วิชาการขยายพันธุ์พืช การผลิต การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผสมเกษร โภชนาการพืชผล กีฏวิทยา พยาธิวิทยาพืช เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ อาชีพพืชกรรมสวนในบางครั้งต้องการพื้นความรู้ในระดับปริญญโทหรือปริญญาเอก

มีการนำวิชาพืชกรรมสวนไปปฏิบัติตามสวนต่าง ๆ เช่น ในศูนย์เพาะชำและเรือนเพาะชำ งานที่ปฏิบัติมีตั้งแต่การจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ กิ่งชำไปจนถึงการทำต้นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มักจำหน่ายให้สวนไม้ประดับและตลาดขายต้นไม้ทั่วไป

พืชกรรมสวนกับมานุษยวิทยา

[แก้]

ต้นกำเนิดของพืชกรรมสวนเกิดจากการเปลี่ยนจากการเป็นชุมชนเร่ร่อนที่เปลี่ยนที่อยู่ตามแหล่งล่าสัตว์และเก็บกินอาหารมาเป็นชุมชนอยู่เป็นที่หรือกึ่งเป็นที่ในพื้นที่เพาะปลูก มีการเริ่มเพาะปลูกพืชผลชนิดต่าง ๆ ในขนาดเล็กรอบที่พัก หรือมิฉะนั้นก็เป็นการเดินทางจากที่พักไปยังที่เพาะปลูกตามฤดูแล้วกลับที่พัก เช่น มิลปาหรือไร่ข้าวโพดของวัฒนธรรมอเมริกายุคกลาง[1] ในพื้นที่ป่า งานพืชกรรมสวนมักทำโดยการโค่นและเผา (slash and burn) ของสวีเดน[2] ลักษณะของชุมชนเพาะปลูกทั่วไปจะปลูกต้นไม้ที่เป็นประโยชน์อยู่รอบ ๆ ชุมชน หรือด้วยการรักษาต้นไม้โดยรอบไว้ตามระบบนิเวศเดิม

ในบางครั้งพืชกรรมสวนมีความแตกต่างไปจากการเกษตร คือ (1) เป็นการเพาะปลูกขนาดเล็ก ใช้แปลงปลูกขนาดเล็กที่ปลูกพืชผลคละหลายชนิดมากกว่าการเป็นแปลงขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชชนิดเดียว (2) ปลูกพืชผลหลากชนิดที่มักรวมกับไม้ผล ในอเมริการเหนือก่อนมีการติดต่อกับคนภายนอกมีชุมชนกึ่งอยู่กับที่ชุมชน "อีสเทิร์นวู๊ดแลนด์" (ปลูกข้าวโพด บวบและทานตะวัน) ซึ่งต่างกันเป็นอย่างมากจากชุมชนเรร่อนเคลื่อนย้ายของชาวอินเดียน ในอเมริกากลาง พืชกรรมสวนของอารยธรรมมายาจะใช้วิธีปลูกเพิ่มในป่าเดิมด้วยมะละกอ อโวกาโด โกโก ซีบาและละมุดฝรั่ง ในไร่ข้าวโพดมีการปลูกพืชหลากชนิด เช่น ถั่ว (ใช้ต้นตอข้าวโพดทำร้านค้ำ) บวบ ฟักทองและพริก ในบางวัฒนธรรมใช้ผู้หญิงล้วน ๆ เป็นคนเพาะปลูก[3]

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ชีววิทยา
  • งานแสดงดอกไม้เชลซี
  • การทำสวน
  • งานแสดงดอกไม้แฮมตันคอร์ท
  • ประวัติศาสตร์การทำสวน
  • รายชื่อวิชาด้านเกษตรกรรม
  • ป่าถาวร
  • ราชสมาคมพืชกรรม
  • แผ่นคลุมดิน
  • งานแสดงดอกไม้

อ้างอิง

[แก้]
  1. von Hagen, V.W. (1957) The Ancient Sun Kingdoms Of The Americas. Ohio: The World Publishing Company
  2. McGee, J.R. and Kruse, M. (1986) Swidden horticulture among the Lacandon Maya [videorecording (29 mins.)]. University of California, Berkeley: Extension Media Center
  3. Thompson, S.I. (1977) Women, Horticulture, and Society in Tropical America. American Anthropologist, N.S., 79: 908-910

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Principles of Horticulture, C K Adams, Butterworth-Heinemann; 5 edition (11 Aug 2008), ISBN 0750686944

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พืชกรรมสวน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?