For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์.

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์

หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์
ทิวทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก
แผนที่
36°37′06″N 121°54′05″W / 36.618253°N 121.901481°W / 36.618253; -121.901481
วันที่เปิด20 ตุลาคม ค.ศ. 1984[1]
ที่ตั้งมอนเทอเรย์, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
จำนวนสัตว์35,000[2]
จำนวนสปีชีส์623 (พืชและสัตว์ในปี ค.ศ. 2005) [2]
ปริมาตรตู้ใหญ่4,500,000 ลิตร
นักท่องเที่ยวต่อปี1.8 ล้านคน[1]
สมาชิกภาพAZA[3]
เว็บไซต์www.montereybayaquarium.org

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ ตั้งอยู่ที่บริเวณที่เคยเป็นโรงงานผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องบนแคนเนอร์รีโรว์ (Cannery Row) แนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในเมืองมอนเทอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย มีผู้เข้าชมปีละ 1.8 ล้านคน จัดแสดงพืชและสัตว์รวม 35,000 ตัวอย่าง จาก 623 ชนิด มีการหมุนเวียนน้ำทะเลในพิพิธภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพโดยสูบน้ำจากอ่าวมอนเทอเรย์เข้ามาตามท่อเข้าสู่พิพิธภัณฑ์

ภายในพิพิธภัณฑ์มีตู้จัดแสดงสิ่งมีชีวิตมากมาย แต่มีอยู่สองตู้ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษ คือ ตู้สูง 10 เมตร ปริมาตร 1.3 ล้านลิตรที่ตั้งอยู่กลาง Ocean's Edge Wing สำหรับจัดแสดงสิ่งมีชีวิตตามชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ในตู้นี้มีเคลพยักษ์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแห่งแรกที่สามารถเพาะเลี้ยงเคลพยักษ์ได้ โดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นที่อยู่ด้านบนสุดของตู้ (การเคลื่อนไหวของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเลี้ยงเคลพยักษ์ ที่จะดึงสารอาหารจากน้ำโดยรอบและน้ำต้องขุ่น) ด้านบนตู้เปิดรับแสงอาทิตย์ และหมุนเวียนน้ำทะเลจากอ่าวเข้ามา อีกตู้หนึ่งคือ ตู้ปริมาตร 4.5 ล้านลิตรในปีกอาคารนอกอ่าว (Outer Bay Wing) ที่มีกระจกแผ่นเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดแผ่นหนึ่งในโลก (ความจริงแล้วเป็นกระจกห้าแผ่นต่อเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่น) [4]

ตู้แสดงป่าเครพความสูง 10 เมตร

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เช่น กระเบน แมงกะพรุน นากทะเล กุ้งมังกร อายุกว่า 50 ปี และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่พบในท้องถิ่น ซึ่งสามารถชมได้ทั้งจากด้านบนหรือใต้ระดับน้ำ ในการจัดแสดงแมงกะพรุนนั้น พิพิธภัณฑ์ได้ใช้ตู้ที่เรียกว่า Kreisel tank ที่สร้างกระแสน้ำไหลเวียนเพื่อให้แมงกะพรุนสามารถลอยตัวอยู่ได้ ผู้เข้าชมสามารถชมสิ่งมีชีวิตในป่าเครพได้จากชั้นต่าง ๆ ของอาคาร และในพิพิธภัณฑ์ไม่จัดแสดงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ นอกจากนาก

ประวัติ

[แก้]
ทางเข้าด้านหน้าพิพิธภัณฑ์

อาคารเดิมของพิพิธภัณฑ์ออกแบบโดยบริษัท Esherick Homsey Dodge & Davis และเปิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2527 จุดมุ่งหมายของพิพธภัณฑ์คือ "สร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ทะเล" แรกเริ่มนั้นได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก David Packrd ผู้ร่วมก่อตั้ง ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และในฐานะที่เป็นช่างตีเหล็ก Packard ยังได้ออกแบบและสร้างส่วนการจัดแสดงต่าง ๆ สำหรับพิพิธภัณฑ์ที่โรงตีเหล็กของตนที่ Big Sur รวมทั้งสร้าง Wave machine สำหรับ Kelp forest และกรงนก ปัจจุบัน Julie Packard ลูกสาวของ Packard ซึ่งเป็นนักชีววิทยาทางทะเล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารของพิพิธภัณฑ์

การออกแบบขั้นพื้นฐาน

[แก้]

ในขั้นตอนการออกแบบขั้นพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์ ได้ดำเนินการสูบน้ำทะเลจากอ่าวมอนเทอเรย์ตลอดทั้งวัน ด้วยอัตรา 2,000 แกลลอนต่อนาที สำหรับตู้จัดแสดงกว่า 100 ตู้ ในเวลากลางวันน้ำจะถูกกรองให้ใสขึ้น ขณะที่เวลากลางคืน น้ำทะเลดิบที่ยังไม่ผ่านการกรองจะถูกสูบเข้ามาในตู้ต่าง ๆ เพื่อนำแพลงก์ตอนเข้ามาสำหรับเป็นอาหารสัตว์ น้ำทะเลที่ใช้แล้วจากพิพิธภัณฑ์จะไหลลงสู่อ่าว การออกแบบลักษณะนี้พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวในเชิงนิเวศวิทยา และทำให้สามารถเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตอย่าง Giant kelp ซึ่งปกติแล้วไม่สามารถเพาะเลี้ยงพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเลทั่วไปได้

Newer exhibits

[แก้]

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์ได้เปิด Outer Bay wing สำหรับจัดแสดงระบบนิเวศทะเลเปิดของ Monterey's Outer Bay ซึ่งนอกจากจะมีตู้ขนาดล้านแกลลอนแล้ว ยังมีตู้รูปวงแหวนแสดงฝูงปลาในวงศ์ปลาแมว 3,000 ตัว (ปลาที่เคยเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจของ Monterey) ว่ายทวนกระแสน้ำ

ส่วน Outer Bay เปิดให้เข้าชมเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เป็นส่วนที่จัดแสดงฉลามขาวยักษ์เพศเมีย ซึ่งนับเป็นตัวแรกที่สามารถนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำได้ ฉลามตัวนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 198 วัน และถูกปล่อยไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากกัด Soupfin shark สองตัวในตู้เดียวกัน ซึ่งทั้งสองตัวได้ตายลงในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เชื่อว่าฉลามอาจแสดงออกเช่นนั้นเพื่อปกป้องอาณาเขตเนื่องจากไม่ได้มีท่าทีว่าจะกินฉลามอีกสองตัวเลย เมื่อเย็นวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ได้นำฉลามขาวเพศผู้ที่ยังไม่โตเต็มที่เข้ามาจัดแสดงในส่วน Outer Bay ฉลามตัวนี้ถูกจับมาจากนอกอ่าว Santa Monica เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม[5] และถูกปล่อยไปเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 ในระหว่างที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ฉลามตัวนี้เจริญเติบโตขึ้นจากความยาว 5-foot-8 และน้ำหนัก 103 ปอนด์ เป็นความยาว 6-foot-5 และน้ำหนัก 171 ปอนด์ ข้อมูลจากฉลามขาวตัวที่สองนี้ถูกส่งกับมาที่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จาก pop-off satellite tag หลังจากปล่อยไป 90 วัน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พิพิธภัณฑ์ได้นำฉลามขาวมาจัดแสดงเป็นตัวที่สาม ซึ่งเป็นเพศผู้ที่ยังไม่โตเต็มที่เช่นเดียวกับตัวที่สอง ขนาดตัวยาว 4 ฟุต 9 นิ้ว และหนัก 67.5 ปอนด์ โดยถูกจับหลังจากติดอยู่กับเครื่องจับสัตว์น้ำเช่นเดียวกับฉลามเพศเมียตัวแรก และเคยอยู่ใน ocean holding pen นอกฝั่งมาลิบู ทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย เพื่อเฝ้าสังเกตว่าสามารถกินอาหารและว่ายน้ำในพื้นที่จำกัดได้ดีหรือไม่ ต่อมาได้ปล่อยไปเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ฉลามขาวตัวที่สี่เป็นเพศเมีย จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2551 และถูกปล่อยไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากกินอาหารได้น้อย[6] และเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ก็ได้นำฉลามขาวเพศเมียอีกตัวหนึ่งมาจัดแสดงในส่วน Outer Bay และมีรายงานว่าการจัดแสดงเป็นไปอย่างเรียบร้อย[7]

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 พิพิธภัณฑ์ได้เปิดตู้จัดแสดงนกเพนกวินเพิ่มเติมจากตู้จัดแสดงนากทะเลที่เป็นที่นิยมแล้ว โดยได้นกเพนกวิน 19 ตัวมาจาก Aquarium of the Americas ในนิวออร์ลีนส์ พร้อมกับนากทะเลอีกสองตัว หลังจากพิพิธภัณฑ์เสียหายอย่างหนักจากพายุเฮอร์ริเคน Katrina

ในบรรดาส่วนจัดแสดงต่าง ๆ มีตู้ขนาดใหญ่อยู่สามตู้ ได้แก่

Monterey Bay Habitats

[แก้]

เป็นตู้ทรงนาฬิกาทราย ยาวกว่า 27 เมตร บรรจุน้ำ 350,000 แกลลอน มีกระจกหน้าต่างอะคริลิกหนา 3-4 นิ้ว จัดแสดงระบบนิเวศแบบต่าง ๆ ในอ่าว Monterey ทั้งแนวปะการัง โขดหิน ผิวทะเล พื้นทรายก้นทะเล เป็นต้น ตู้ทรงนาฬิกาทรายทำให้ฉลามขนาดใหญ่ในตู้สามารถว่ายน้ำได้อย่างสะดวก

ตัวอย่างสัตว์ที่จัดแสดง : California halibut, Broadnose sevengill shark, White sturgeon, Common murre

Kelp Forest

[แก้]

เป็นตู้สูง 8.40 เมตร ซึ่งเป็นตู้แสดงสัตว์น้ำที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นตู้แสดงระบบนิเวศแบบ Kelp forest แห่งแรกของโลก จัดแสดง Giant kelp และสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ Kelp forest ออกแบบให้สามารถรับชมได้เหมือนมุมมองของนักดำน้ำจากกระจกอะคริลิกหนา 7.25 นิ้ว กว้าง 2.4 เมตร สูง 4.8 เมตร และหนักแผ่นละ 2.8 ตัน นำมาต่อกันเป็นหน้าต่าง ด้านบนตู้เปิดให้ได้รับแสงอาทิตย์ มีระบบสูบน้ำทะเลเข้ามาในตู้ด้วยอัตรา 2,000 แกลลอนต่อนาที และมีระบบกรองน้ำที่สูบเข้ามาในเวลากลางวัน ขณะที่เวลากลางคืนระบบกรองจะไม่ทำงาน

ตัวอย่างสัตว์ที่จัดแสดง : Leopard shark, Pacific sardine, California sheephead, Cabezon, Rockfish

Outer Bay

[แก้]

เป็นตู้ที่ใหญ่ที่สุดในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีหน้าต่างกระจกยาว 16.95 เมตร สูง 5.10 เมตร หนา 13 นิ้ว และหนัก 78,000 ปอนด์ จัดเป็นหนึ่งในกระจกหน้าต่างที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถชมได้จากชั้นต่าง ๆ สามชั้นของอาคาร แต่ละวันจะมีน้ำหมุนเวีนในตู้ประมาณ 1.3 ล้านแกลลอน โดยเป็นน้ำทะเลจากทะเลโดยตรง 80,000 แกลลอน ที่เหลือเป็นน้ำที่ใช้แล้วที่กรองแล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ แต่น้ำปริมาณ 1 ใน 3 จะอยู่ด้านหลังผนังรูปโค้งที่ทำจากฉนวนใยแก้ว ผนังนี้ทำให้เกิดมุมมองจากกระจกหน้าต่างอย่างลื่นไหลเหมือนไม่มีผนังด้านหลัง น้ำในตู้ถูกควบคุมให้มีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20 องศาเซลเซียสเสมอ ซึ่งสูงกว่าน้ำในอ่าว Monterey เวลากลางคืนท่อใต้กระจกหน้าต่างจะปล่อยฟองอากาศออกมาปกคลุมที่กระจก เพื่อให้ปลาในตู้สามารถมองเห็นกระจกและไม่ว่ายชนกระจกเมื่อแสงไฟในพิพิธภัณฑ์เปิดขึ้นในเวลาทำความสะอาด

ตัวอย่างสัตว์ที่จัดแสดง : ปลาพระอาทิตย์, Pelagic ray, Scalloped hammerhead shark, Moon jellyfish, Pacific bluefin tuna

การวิจัยทางทะเล

[แก้]

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ Monterey Bay Aquarium Research Institute (MBARI) ซึ่งตั้งอยู่ที่ Moss Landing แคลิฟอร์เนีย ที่ส่วนต้นของ Monterey Canyon มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากการวิจัยสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกและงานวิจัยอื่น ๆ เกี่ยวกับชีววิทยาทางทะเล[8] อ่าว Monterey อยู่ในเขต Monterey Bay National Marine Sanctuary (MBNMS) ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล (เทียบเท่ากับอุทยานแห่งชาติทางทะเล) นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนกลาง

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฉลามขาวยักษ์ไว้ในครอบครองเกิน 16 วัน ทางพิพิธภัณฑ์ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงฉลามขาวที่ยังไม่โตเต็มที่ในหลาย ๆ ครั้ง และเจ้าหน้าที่ได้พัฒนากระบวนการจับ จัดแสดง ขนส่ง และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น ฉลามขาวแต่ละตัวจะถูกติด Tag ก่อนปล่อยออกสู่ทะเล โดยสาเหตุที่ต้องปล่อยอาจเนื่องมาจากเริ่มล่าสัตว์อื่น ๆ ในตู้เดียวกัน หรือจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเพื่อความปลอดภัยในการปล่อยออกสู่ทะเล

การระดมทุน

[แก้]

แรกเริ่มนั้นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ได้รับบริจาคเงินทุนจาก มูลนิธิ David and Lucile Packard ซึ่งได้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง ทุนดำเนินงานนั้นครอบคลุมทั้งค่าเข้าชม ค่าธรรมเนียม Special event และค่าธรรมเนียมสมาชิก[9] การจัดองค์กรภายในพิพิธภัณฑ์ได้แบ่งออกเป็นสามหน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Monterey Bay, the Support Services และ the Research Institue ที่ดำเนินงานเรือเดินสมุทรสามลำสำหรับงานวิจัย

Cultural references

[แก้]

พิพิธภัณฑ์ได้ปรากฏในภาพยนตร์ Star Trek IV: The Voyager Home เมื่อ พ.ศ. 2529 ซึ่งได้สมมติเป็น Cetacean Institute ใน Sausalito มีการใช้เทคนิคพิเศษเพื่อจำลองอาคารพิพิธภัณฑ์ให้เป็นตู้เลี้ยงวาฬหลังค่อมสองตัว

ในภาพยนตร์ Lemony Snicket's A Series of Unfortunate Events ตัวละครชื่อ Stephano ทำงานเกี่ยวกับงูทะเลอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นี้ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วพิพิธภัณฑ์นี้ไม่มีงูทะเลอยู่เลย

พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ถัดจากบ้านและ lab (Pacific Biological Laboratories) ของ Ed Ricketts นักชีววิทยาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในปัจจุบัน Ricketts มีชื่อเสียงในฐานะ "Doc" แห่ง Cannery Row ของ John Steinbeck ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ ของ Ricketts อย่างเช่นหนังสือบางเล่ม และในร้านค้ายังจำหน่ายส่วนหนึ่งของ Monterey and Steinbeck books

ทีมผู้สร้าง The Penguins of Madagascar ได้กล่าวว่า นากที่ชื่อว่า Marlene ได้ถูกย้ายจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์มายัง New York city zoo

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FAQ
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 2005_press_kit
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ aza_list
  4. [1] เก็บถาวร 2013-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Official website FAQ. Accessed July 22, 2009.
  5. Second great white shark introduced เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at San Francisco Chronicle
  6. Monterey Bay Aquarium. White Sharks on Exhibit. เก็บถาวร 2009-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. SeaNotes, Monterey Bay Aquarium. Red Herrings and White Elephants เก็บถาวร 2012-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. September 25, 2009
  8. "About MBARI". August 26, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
  9. "An Inside Look at Monterey Bay Aquarium". Salmon Facts. December 18, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?