For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระสุนทรีวาณี.

พระสุนทรีวาณี

พระสุนทรีวาณี
พระนางสุนทรีวาณี ประดิษฐาน ณ ด้านซ้ายมือของพระศรีศากยมุนี ภายในพระวิหารหลวงของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตsundarīvāṇī
มนตร์พระคาถาพระสุนทรีวาณี

พระสุนทรีวาณี หรือที่รู้จักกันในอีกพระนามหนึ่งว่า นางสุนทรีวาณี เป็นเทพธิดาตามคติในศาสนาพุทธในประเทศไทย มีหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาพระธรรมและพระไตรปิฎก มีต้นกำเนิดจากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ลักษณะเป็นเทพธิดามีพระวรกายสีขาวบริสุทธิ์ ฉลองพระองค์ดั่งนางกษัตรีย์ในศิลปะไทย อาภรณ์สีขาว มีสองกร หัตถ์ขวาแสดงอาการกวักเรียก (ต่อมาเปลี่ยนเป็นวิตรรกมุทรา) หัตถ์ซ้ายทรงดวงแก้วไว้ในหัตถ์วางบนเพลา (ตัก)[1] โดยลักษณะและคติความเชื่อของนางพระสุนทรีวาณีนี้ คล้ายคลึงกับคติการบูชาพระสรัสวดีในศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธแบบทิเบต ศาสนาพุทธแบบพม่า และเบ็นไซเต็งในพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น พุทธศาสนาแบบจีน และลัทธิชินโต [2]

ประวัติของพระสุนทรีวาณี

[แก้]

แต่เดิมนั้นเป็นภาพพระสุนทรีวาณี อันเป็นเทพธิดาสถิตอยู่บนดอกบัว สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงคิดแบบขึ้นจากพระสูตรสัททาวิเสส แล้วทรงให้หมื่นศิริธัชสังกาศ (แดง) เจ้ากรมขอเฝ้าในพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ (พระอิสริยยศสุดท้ายเป็นที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุน) จัดการเขียนขึ้นเอาไว้ในพระตำหนักของสมเด็จฯ ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยและนับถือยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงโปรดให้สร้างโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร จึงให้ออกแบบพระสุนทรีวาณีเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำเป็นต้น[3][4]

พระสุนทรีวาณีในปัจจุบัน

[แก้]

เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์หนังสือ “พระสุนทรีวาณี” พระราชทานเป็นพระราชกุศลธรรมทาน ทรงพระอนุสรณ์ถึง “คาถาพระสุนทรีวาณี” ที่โบราณบัณฑิตสรรเสริญว่าหากบริกรรมสม่ำเสมอจะเกิดปัญญา โดยพระเถระผู้ใหญ่มักแนะนำให้นวกภิกษุผู้เริ่มศึกษาพระธรรม บริกรรมคาถานี้เป็นนิตย์ ก่อให้เกิดสมาธิจิตตั้งมั่น บันดาลให้เข้าถึงถ่องแท้ในพระพุทธศาสนาโดยง่าย และนำไปสู่ความกระจ่างลึกซึ้งถึงแก่นพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นตามลำดับ พร้อมน้อมนำความใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาเป็นทางประพฤติของตน ทั้งอำนวยผลเป็นสติปัญญาแก่ผู้หมั่นศึกษา และพากเพียรดำเนินตามรอยพระราชจริยาอันเป็นแบบอย่างที่พระราชทานไว้นับแต่อดีตสมัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์มาจัดพิมพ์เป็นปก พร้อมบทพระราชปรารภพระราชทานไว้ในตอนต้นของเล่ม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประมวลเนื้อหาประกอบด้วยพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 และลายพระหัตถ์ของพระบรมวงศ์ ลิขิตของพระเถระ จดหมายกราบทูลของข้าราชการ และเรื่องสืบเนื่องซึ่งเกี่ยวกับพระสุนทรีวาณี อีกทั้งรูปพระสุนทรีวาณีซึ่งถ่ายจากต้นฉบับของสมเด็จพระวันรัต (แดง สีละวัฑฒะโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม และพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕[5][6][7]

พระนางสุนทรีวาณีในที่ต่าง ๆ

[แก้]
  • หน้าบันของศาลาประจำมุขด้านปีกซ้ายของอาคาร วัดราชบุรณราชวรวิหาร เขตพระนคร
  • หน้าบันของอุโบสถ ประจำวัดประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
  • วัดไชยภูมิ ตำบลชายนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  • วัดในบุตกาญจนคีรี ตำบลลานสะกา อำเภอลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วัดพรหมสุวรรณ ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
  • วัดประทุมคณาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
  • มูลนิธิพุทธางกูร ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม เขตธนบุรี[8]
  • ภาพปูนปั้นบนเจดีย์ข้างวิหารพระพุทธไสยยาสณ์ วัดสรรพยาวัฒนาราม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
  • หน้าบันของหอไตรวัดบ้านแพน ตำบลสามกอ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ประวัติ พระนางสุนทรีวาณี
  2. พระสุนทรีวาณี นางฟ้าแห่งปัญญา ผู้พิทักษ์พุทธศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดสุทัศน์
  3. เปิดประวัติ "พระสุนทรีวาณี" เทพนารีแห่งปัญญาผู้รักษาพระพุทธศาสนา นำพาการรู้แจ้ง.. ศักดิ์สิทธิ์มากเสด็จพ่อร.5ก็สวดบูชา
  4. "คาถาพระสุนทรีวาณี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  5. ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ และ หนังสือพระสุนทรีวาณี พระราชทานแก่ประชาชน ในพิธีมหามงคลเจริญพระพุทธมนต์
  6. ในหลวง โปรดเกล้าฯ จัดพิมพ์หนังสือ ‘บทเจริญพระพุทธมนต์’ และ ‘พระคาถาพระสุนทรีวาณี’
  7. เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์หนังสือ “พระสุนทรีวาณี” พระราชทานเป็นพระราชกุศลธรรมทาน
  8. ศรีคุรุเทพมนตรา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระสุนทรีวาณี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?