For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระราชพิธีพรุณศาสตร์.

พระราชพิธีพรุณศาสตร์

พระราชพิธีพรุณศาสตร์ เป็นพระราชพิธีขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าวในราชอาณาจักรสยาม เป็นพระราชพิธีจรคือไม่มีประจําทุกปีจะทําเฉพาะปีที่น้ำฝนแล้ง ซึ่งจะตรงกับเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติ มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธีทั้งพุทธและพราหมณ์ มีการสวดมนต์ตลอดเวลาเป็นการสวดอธิษฐานให้ฝนตก ไม่มีกำหนดเลิกสวดขึ้นอยู่กับเทียนชัยและถ้าฝนตกเริ่มตกจนตกมากจึงมีการดับเทียนชัย[1]

พระราชพิธีพรุณศาสตร์มีบันทึกไว้ในหนังสือ นางนพมาศ ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ บรรยายภาพพระราชพิธีนี้ในสมัยสุโขทัย ความว่า "ครั้นถึงเดือนเก้า พราหมณ์คณาจารย์ก็พร้อมกันกระทำการพระราชพิธีพรุณศาสตร์ ตั้งเกยสี่เกยที่ลานหน้าพระเทวสถานหลวง ประดับด้วยฉัตรธงกันกระทำด้วยหญ้าคาตีนนก อ่างทองสัตตโลหะสี่อ่าง"[2]

ปัจจุบันได้มีการยกเลิกพระราชพิธีพรุณศาสตร์นี้ไปแล้ว ส่วนพิธีทางราษฎร์ในลักษณะขอฝน เช่น พิธีแห่นางแมว ในกลุ่มชาวอีสานมีประเพณีบุญบั้งไฟ[3]

พระราชพิธี

[แก้]

พระราชพิธีพรุณศาสตร์ทำที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการประดิษฐาน พระพุทธคันธารราษฎร์ สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นประธานในปะรำพิธี จนในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการย้ายออกไปทำที่พลับพลาท้องสนามหลวง ซึ่งยังมีการโยงสายสิญจน์เข้ามาที่พระมหามณีรัตนปฏิมากรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[4] หน้าพลับพลากลางแจ้งมีสระสี่เหลี่ยม กว้างสี่ศอก ยาวสี่ศอก ลึกหนึ่งศอก พูนดินเป็นคันรอบสูงศอกหนึ่ง ปั้นรูปพระสุภูตินั่งริมฝั่งสระหันหน้าไปข้างเหนือ ที่กลางสระมีรูปพระอินทร์ และพญาปลาช่อนพร้อมบริวาร จากนั้นผู้ประกอบพิธีสวดสุภูติเถรคาถา[5]

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา มีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์แต่แยกกันทําพิธีคนละสถานที่ พิธีสงฆ์มีผู้ประกอบพิธีหลักคือพระสงฆ์ ประกอบพิธีที่สนามหลวง แต่พิธีพราหมณ์ทำพิธีที่ทุ่งส้มป่อยโดยมีหัวหน้าพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี ในการประกอบพิธีพรุณศาสตร์ที่สนามหลวง ห้ามสตรีเข้าร่วมพิธีเพราะจะทำให้พิธีไม่สัมฤทธิผล[6]

บางปีก็ยกขึ้นไปตั้งที่อยุธยา ในรัชกาลที่ 5 เคยยกขึ้นไปตั้งพลับพลาที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติครั้งหนึ่ง[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระราชพิธี ๑๒ เดือน ที่เกี่ยวเนื่องกับความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
  2. กิเลน ประลองเชิง. "เดือนเก้า พิธีปั้นเมฆ". ไทยรัฐ.
  3. "พระราชพิธีและประเพณีท้องถิ่น". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.
  4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธี 12 เดือน (กรุงเทพ : แพร่พิทยา, 2514), 515.
  5. เพ็ญสุภา สุขคตะ. "นานาพิธีขอฝน : จากพระสุภูติ พระเจ้าฝนแสนห่า ถึงบูชาเสาอินทขีล". มติชนสุดสัปดาห์.
  6. ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์. "การศึกษาพิธีกรรมเกี่ยวกับ "น้ำ" ในพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว".
  7. "พระราชพิธีพรุณศาสตร์". วัชรญาณ.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระราชพิธีพรุณศาสตร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?