For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา.

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

พระราชครูวามเทพมุนี เชิญ พระแสงศร อ่านโองการ ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 25 มีนาคม พ.ศ. 2512
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาต่อหน้าพระอจนะ วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือที่โบราณเรียกว่า พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ดื่มน้ำสาบานว่าจะจงรักภักดีและซื่อตรงต่อพระมหากษัตริย์ กำหนดให้ประกอบขึ้นปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือนห้า และแรม 13 ค่ำ เดือนสิบ เหตุเพราะวันขึ้น 3 ค่ำ เดือนห้า เป็นพิธีอันเนื่องมาแต่พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พระราชพิธีตรุษสิ้นปี) ส่วนในวันแรม 13 ค่ำ เดือนสิบ เนื่องมาแต่พระราชพิธีสารท

พิธีการ

[แก้]

พิธีการนั้น พราหมณ์จะนำคมศาสตราวุธต่าง ๆ มาทำพิธีสวดหรืออ่านโองการแช่งน้ำแล้วแทงศาสตราวุธลงในน้ำที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งหลายดื่ม เมื่อถือน้ำเสร็จแล้วกำหนดให้นำข้าวตอก ดอกไม้ และเทียน ไปกราบถวาย บังคมพระบรมรูปของสมเด็จพระเชษฐบิดร สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แล้วจึงจะไปกราบบูชาพระรัตนตรัย

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้องไปกราบนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสารีริกธาตุเจดีย์ และพระรัตนตรัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามก่อน จากนั้นจึงพากันไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในพระบรมมหาราชวังต่อไป ในสมัยอยุธยาเป็นพิธีของพราหมณ์ล้วน ๆ ครั้นมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เพิ่มพิธีพุทธเข้าไปควบคู่กับพิธีพราหมณ์ และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ เช่น งดการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ที่มาเจริญพระพุทธมนต์[1]

ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ได้ร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย โดยทรงถือว่าน้ำชำระพระแสงศรนั้นเป็นสวัสดิมงคลและเพื่อแสดงพระราชหฤทัยเมตตากรุณาโดยเที่ยงธรรมให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้ทราบ[2] การประกอบพระราชพิธีจะกำหนดไว้ 2 วัน วันแรกเป็นการเสกน้ำที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 2 พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ที่มา

[แก้]

จิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานว่าต้นกำเนิดพระราชพิธีมาจากมีต้นเค้ามาจากราชสำนักเขมร โดยอ้างถึงข้อความในจารึกบนกรอบประตูปราสาทพิมานอากาศว่าด้วยพิธีกรรม กัดไดถวายอายุ เป็นการเชือดแขนให้เลือดไหลลงผสมกับน้ำแล้วดื่มเพื่อเป็นการกระทำสัตย์สาบาน

ในประเทศไทยสันนิษฐานว่ากระทำกันมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานใน พงศาวดารเหนือ เรื่อง พญาโคตรตะบอง กล่าวถึงพระเจ้าสินธพอำมรินทร์มีรับสั่งให้ข้าราชการทั้งส่วนกลางและหัวเมืองต่าง ๆ มารับพระราชทาน น้ำพระพิพัฒนสัจจา หลังจากพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 ปี

ในสมัยอยุธยาพิธีประกอบที่วัดพระศรีสรรเพชญ์จากนั้นย้ายมาเป็นวิหารพระมงคลบพิตร ในสมัยรัตนโกสินทร์ประกอบขึ้นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีการเปลี่ยนชื่อเรียก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา เป็น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา[3]

จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 พิธีนี้จึงยกเลิกไป รื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[4] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีนี้ในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี[5] โดยมอบให้ทหารและตำรวจที่ได้ประกอบวีรกรรมด้วยความกล้าหาญ เสียสละ และมีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2512 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

อ้างอิง

[แก้]
  1. เผ่าทอง ทองเจือ. "น้ำพระพิพัฒน์สัตยา (ตอนที่ 1)". ไทยรัฐ.
  2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีเดือนสิบสอง (กรุงเทพฯ: ศิลปบรรณาคาร, 2552), 175.
  3. "ที่มาของ "การกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานตน" ของไทย". ศิลปวัฒนธรรม.
  4. สายป่าน ปุริวรรณชนะ. "บ่ซื่อน้ำตัดคอ : โทษทัณฑ์ผู้ผิดน้ำพระพิพัฒน์สัตยาใน โองการแช่งน้ำ". ผู้จัดการออนไลน์.
  5. ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมศิลปากร, พระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชฯ สยามมินทราธิราช บรมนารถบพิตร. (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2543), หน้า 246
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?