For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร.

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
ชื่อเต็มพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
ชื่อสามัญพระสุโขทัยไตรมิตร หรือพระทองสุโขทัย
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย
ความกว้าง6 ศอก 5 นิ้ว
ความสูง7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว (3.04 เมตร)
วัสดุทองคำแท้ น้ำหนัก 5.5 ตัน เนื้อทองทั้งหมด 360,800 บาท รวมราคา ราว 1300 หมื่นล้านบาท (ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา)
สถานที่ประดิษฐานพระมหามณฑป พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
ความสำคัญพระพุทธรูปทองคำแท้ในสมัยสุโขทัย
หมายเหตุสามารถแยกออกจากกันได้ 9 ส่วน คือ พระเศียร 1 ส่วน พระองค์ 1 ส่วน พระพาหาข้างละ 3 ส่วน และพระเพลาอีก 1 ส่วน นอกจากนี้ยังมีพระเกตุมาลาซึ่งแยกไว้ต่างหาก
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปทองคำแท้ทั้งองค์ หนักถึง 5.5 ตัน เฉพาะมูลค่าทองคำตามที่บันทึกในกินเนสบุ๊คนั้น อยู่ที่ประมาณ 28.5 ล้านปอนด์

ประวัติ

[แก้]

ข้อสันนิษฐาน

[แก้]

ประวัติว่าสร้างเมื่อใดยังไม่แน่ชัด เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็นพระพุทธรูปทององค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติ

แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกพอกปูนลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์ เพื่อเป็นการอารักขาภัย แต่ไม่ทราบว่าตกไปอยู่ในสถานที่ใดบ้าง ทราบแต่เพียงว่าล่าสุด ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระยาไกร (วัดโชตนาราม) แต่ต่อมาวัดพระยาไกรกลายเป็นวัดร้างไม่มีผู้ดูแล ประกอบกับ บริษัท อีสต์เอเชียติก จำกัด ประสงค์ขอเช่าพื้นที่ของวัดเพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ที่ประชุมคณะสงฆ์จึงให้วัดไตรมิตรวิทยาราม และวัดไผ่เงินโชตนาราม ไปอัญเชิญพระพุทธรูปสององค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดพระยาไกรนั้น ไปประดิษฐานไว้ตามสมควร ทางคณะของวัดไผ่เงินฯได้เดินทางไปถึงก่อน จึงเลือกอัญเชิญพระพุทธรูปสำริดไป เหลือพระพุทธรูปปูนปั้นไว้ให้วัดไตรมิตร

ข้อสันนิษฐานว่าเหตุใด พระพุทธรูปจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร บ้างก็ว่าสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ให้กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยและเมืองอื่น ๆ เป็นจำนวน 100 กว่าองค์ นำมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ รวมทั้งพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ด้วย แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่มาก นำไปประดิษฐานไว้ในพระอารามหลวงมากกว่าที่จะนำไปประดิษฐานที่วัดราษฎร์ อีกประการคือ เมื่อหุ้มด้วยปูนน่าจะเกิดการกะเทาะแตกบ้างขณะขนย้ายมายังกรุงเทพ และเรื่องที่ว่ามีขุนนางบางคนเห็นประโยชน์ส่วนตัว จึงยักยอกเอาพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ไว้เป็นสมบัติส่วนตัว แล้วสั่งให้ช่างเอาปูนไล้เสียให้ทั่วองค์พระ แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะการเก็บเป็นความลับเรื่องพระพุทธรูปทองคำที่มีขนาดใหญ่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก

ส่วนอีกข้อสันนิษฐาน คือ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้น่าจะหล่อขึ้นในสมัยเดียวกันกับการสร้างวัดพระยาไกร กล่าวคือ พระยาไกรโกษาได้สร้างพระพุทธรูปทองคำขึ้นมาเพื่อเป็นพระประธานของวัด สันนิษฐานได้ว่า พระยาไกรโกษาเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล เนื่องจากถ้าเกิดศึกสงครามขึ้นมาก็สามารถถอดออกและขนย้ายได้สะดวกกว่าการขนย้ายพระทั้งองค์ ส่วนการไล้ปูนทั่วองค์พระพุทธรูปนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ประการแรก เพื่อเป็นการป้องกันการครหานินทา เนื่องจากว่าไม่เคยมีผู้ใดเคยสร้างพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่แบบนี้มาก่อน[1]

ค้นพบ

[แก้]

ในขั้นแรกเมื่อถึงวัดไตรมิตร ก็ได้แต่เพียงปลูกเพิงสังกะสีธรรมดา เพื่อบังแดดบังฝน ไว้ริมถนนด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถ เป็นเวลาถึง 20 ปี ด้วยยังหาที่จะประดิษฐานอันเหมาะสมมิได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงทำการสร้างวิหารใหม่ ด้วยตั้งใจจะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้โดยเฉพาะ เพื่อจะได้ทำการประดิษฐานพระพุทธรูป ให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี แต่ในขณะเคลื่อนย้ายพระพุทธรูป เนื่องจากพระพุทธรูปมีน้ำหนักมาก สายเครื่องกว้านจึงขาดลง ทำให้พระพุทธรูปตกกระแทกพื้น ส่งผลให้ปูนที่หุ้มบริเวณพระอุระกระเทาะออก เผยให้เห็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงให้ลอกปูนออกทั้งองค์ แล้วนำขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิหารนั้นมาจนถึงปี 2550

พอย่างเข้าปลายปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระมหามณฑป พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แทนพระวิหารองค์เดิม ซึ่งคับแคบมาก และเมื่อปลายปี 2552 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีสวมพระเกตุมาลาบนเหนือพระเศียรพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรด้วย

ลักษณะ

[แก้]
พระสุโขทัยไตรมิตร ขณะประดิษฐาน ณ พระวิหารหลังเก่า ภายในวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

พระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปสุโขทัย ปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 3.10 เมตร มีหน้าตัก กว้าง 6 ศอก 1 คืบ น้ำหนักประมาณ 5 ตันเศษ มีรูปลักษณะพระพักตร์ยาว คางหยัก สังฆาฏิเป็นเขี้ยว ตะขาบทั้งข้างหน้าและข้างหลัง นิ้วเป็นนิ้วมนุษย์ผิดกับนิ้วพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดพระชินราช ซึ่งมีนิ้ว พระหัตถ์เสมอกันทั้ง 5 นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเกตุมาลา 3.94 เมตร ถอดออกได้เป็น 9 ชิ้น คือ พระพาหาทั้งสอง พระหัตถ์ทั้ง สอง พระชงฆ์ทั้งสอง พระเพลาทั้งสอง และตรงพระศอ โดยมีกุญแจสำหรับถอดและประกอบกันเข้าแล้วก็สนิทเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน[1] มีความบริสุทธิ์ของเนื้อทองจากฐานขององค์พระ 40 เปอร์เซนต์ เรื่อยขึ้นไปถึงพระพักตร์มีความบริสุทธิ์ของทอง 80 เปอร์เซนต์ ส่วนยอดเป็นทองคำเนื้อแท้ 99.99 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำหนักเฉพาะส่วนยอดนี้ 45 กิโลกรัม[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ตำนาน "วัดพระยาไกร" กับ "หลวงพ่อทองคำ" ก่อนถูกย้ายสู่ "วัดไตรมิตร"". ศิลปวัฒนธรรม. 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562. ((cite news)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. โรม บุนนาค (24 ต.ค. 2561). "พระพุทธรูปทองคำถูกโบกปูนซ่อนไว้มีที่ไหนบ้าง! เผยออกมาแล้วหลายองค์ ที่ถูกซ่อนอยู่ก็ยังมี!!". ผู้จัดการออนไลน์.
  • พระครูโสภณสุทธิวัฒน์. ประวัติพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท กราฟิกอาร์ตพริ้นติ้ง จำกัด, พฤษภาคม 2549.

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?