For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พระกษัตรีย์.

พระกษัตรีย์

พระกษัตรีย์
พระมเหสีฝ่ายขวา
พระสวามีสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระบุตรกรมหลวงโยธาเทพ
ราชวงศ์ปราสาททอง (อภิเษกสมรส)

พระกษัตรีย์ หรือ พระกษัตรี เป็นพระมเหสีฝ่ายขวาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นพระชนนีในกรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาล[1] ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า พระกษัตรีย์เป็นพระราชนัดดาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[2] บางแห่งว่าเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเอง[3] โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชประสงค์ที่จะมีพระราชบุตรที่ประสูติแต่พระมเหสีเท่านั้นเพื่อป้องกันการก่อกบฏ หากมีพระราชบุตรกับนางบาทบริจาริกาหรือนางพระกำนัลก็จะให้รีดออกเสีย[4] พระกษัตรีย์ประสูติการพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ พระสุดาเทวี หรือ เจ้าฟ้าสุดาวดี ขณะที่พระมเหสีฝ่ายซ้ายอีกพระองค์คือพระพันปี มิได้ประสูติการเลย[1][2]

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงใกล้ชิดและวางพระทัยในตัวพระกษัตรีย์มากเช่นเดียวพระราชธิดา[5] ครั้นพระกษัตรีย์เสด็จสวรรคตปีใดไม่ปรากฏ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งตั้งพระสุดาเทวี พระราชธิดาขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินีแห่งสยาม"[6] ให้มีพระราชอำนาจปกครองอาณาบริเวณและข้าทาสบริวารที่ได้รับพระราชทาน มีกองทหารในรับผิดชอบของพระองค์เอง[7] เข้าใจว่าการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานอำนาจสมบูรณ์ในฝ่ายในแก่พระราชธิดาไปทั้งหมด ก็เพื่อสืบทอดพระราชกรณียกิจของพระชนนีผู้ล่วงลับต่อไป[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 525
  2. 2.0 2.1 คำให้การขุนหลวงหาวัด, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 716
  3. ภาวรรณ เรืองศิลป์. (สิงหาคม 2560–กรกฎาคม 2561). กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา. แปลโดย สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42(1): 48.
  4. คำให้การขุนหลวงหาวัด, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 720
  5. ภาวรรณ เรืองศิลป์. (สิงหาคม 2560กรกฎาคม 2561). กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา. แปลโดย สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42(1): 49.
  6. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียน), สมศรี เอี่ยมธรรม (แปล). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2522, หน้า 89
  7. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียน), สมศรี เอี่ยมธรรม (แปล). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2522, หน้า 104
  8. ภาวรรณ เรืองศิลป์. (สิงหาคม 2560–กรกฎาคม 2561). กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา. แปลโดย สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42(1): 50.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พระกษัตรีย์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?