For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ.

ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ภาพประกอบโดยกุสตาฟว์ ดอเรของบารอนมึนช์เฮาเซน ผู้บรรยายเรื่องที่เกินเลยจากความจริงที่ถือว่าเป็น “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ”

ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ (อังกฤษ: Unreliable narrator) ในนวนิยาย (ที่ใช้ในวรรณกรรม, การละคร, ภาพยนตร์ และอื่น ๆ) “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (คำที่คิดขึ้นโดยเวย์น ซี. บูธในหนังสือ “The Rhetoric of Fiction” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1961[1]) หมายถึงผู้บรรยายเรื่องที่ขาดความน่าเชื่อถือโดยผู้อ่านอย่างเห็นได้ชัด[2] หรือเป็นผู้ขาดความเป็นกลางด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

การใช้ผู้บรรยายเรื่องประเภทที่เรียกว่า “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” อาจจะมาจากเหตุผลหลายประการของผู้ประพันธ์ แต่โดยทั่วไปก็เพื่อสร้างความเคลือบแคลงของเนื้อหาให้แก่ผู้อ่าน โดยการสร้างภาพพจน์ของผู้บรรยายเรื่องในทางที่เป็นผู้ไม่น่าไว้วางใจ ความไม่น่าเชื่อถืออาจจะมามีสาเหตุจากความเจ็บป่วยทางจิตของผู้บรรยายเรื่อง, ความลำเอียงของผู้บรรยายเรื่อง, ความขาดความรู้ของผู้บรรยายเรื่อง หรืออาจจะมาจากความจงใจของผู้ประพันธ์ที่จะหลอกผู้อ่านหรือผู้ดู[2] “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” มักจะเป็นผู้บรรยายเรื่องบุคคลที่หนึ่ง แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นบุคคลที่สามก็ได้

บางครั้งผู้อ่านก็อาจจะทราบทันทีว่าผู้บรรยายเรื่องเป็นผู้ไม่น่าเชื่อถือ เช่นเมื่อเรื่องเปิดขึ้นโดยคำบรรยายที่ผิดอย่างชัดแจ้ง หรือ การอ้างอันขาดเหตุผล หรือ การยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญหาทางจิต หรือบางครั้งโครงร่างของเรื่องก็อาจจะมีตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง ที่มีนัยยะว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่การใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ที่เป็นนาฏกรรมที่สุดคือการประวิงเวลาในการเปิดเผยว่าผู้บรรยายเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือจนเมื่อเรื่องเกือบจะลงเอย การจบเรื่องที่ผิดจากที่ผู้อ่านคาดทำให้ผู้อ่านต้องกลับไปพิจารณาทัศนคติและประสบการณ์ของตนเองที่มีต่อเนื้อเรื่องที่อ่านมา ในบางกรณีความไม่น่าเชื่อถือของผู้บรรยายเรื่องอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผยแต่เพียงบอกเป็นนัยยะ ที่สร้างความพิศวงให้แก่ผู้อ่านว่าจะเชื่อปากคำของผู้บรรยายเรื่องได้มากน้อยเท่าใด หรือ ควรจะตีความหมายของเรื่องอย่างใด

นวนิยายอิงประวัติศาสตร์, นวนิยายคาดการณ์ (speculative fiction) และการบรรยายเรื่องฝัน ไม่ถือว่าเป็นการใช้การบรรยายเรื่องโดยผู้ไม่น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นการบรรยายเหตุการณ์ที่มิได้เกิดขึ้น หรือไม่อาจจะเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างของการใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ก็ได้แก่ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ตตัวละครเอกในเรื่อง “โลลิตา” โดยวลาดิเมียร์ นาโบคอฟ ผู้หลงรักลูกเลี้ยงสาวอายุ 12 ปี ที่มักจะบรรยายเรื่องที่เป็นการสนับสนุนการกระทำของตนเองว่าไม่เป็นการผิดจริยธรรมในการเป็นโรคใคร่เด็ก (pedophilia)[3] ซึ่งเป็นการบรรยายเรื่องอย่างลำเอียงเข้าข้างตนเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Professor Wayne Booth", an obituary, Times Online, October 14, 2005
  2. 2.0 2.1 "How to Write a Damn Good Novel, II", by James N. Frey (1994) ISBN 0312104782, p. 107
  3. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน[1] เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?