For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ผีในวัฒนธรรมไทย.

ผีในวัฒนธรรมไทย

ศาลเพียงตา ซึ่งเป็นสิงสถิตย์ของผีที่คุ้มครองดูแลที่ดิน

ชาวไทยเชื่อว่า ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษได้ หากเซ่นสวรวงหรือบูชาไม่ถูกต้อง เช่น ผีขุนน้ำ คือ เทพอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูง ผีขุนน้ำมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านจะอัญเชิญมาสถิตที่หอผีที่ปลูกอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านี้ ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นแม่น้ำใด ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ผีปันน้ำ (เทือกเขาผีปันน้ำ ในภาคเหนือ) หรือผีมด และ ผีเมง คือ ผีบรรพบุรุษตามความเชื่อของชาวล้านนา (คำว่า "มด" หมายถึงระวังรักษา) ส่วนผีเมงนี้เข้าใจกันว่ารับมาจากชนเผ่าเม็งหรือมอญโบราณ, ผีเจ้าที่ หรือพระภูมิเจ้าที่ คือผีที่รักษาประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้ดูแลรักษาเขตนั้น ๆ ดังนั้น คนโบราณเมื่อเดินทางและหยุดพักที่ใด มักจะบอกขออนุญาตเจ้าที่ทุกครั้ง

นอกเหนือไปจากผีดังกล่าวแล้ว ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผีอีกหลายประเภท เช่น ผีกละ หรือ ผีจะกละ เป็นผีที่มักเข้าสิงผู้คนเพื่อเรียกร้องจะกินอาหาร เมื่อเข้าสิงใคร ก็จะแสดงกิริยาผิดปกติไป เมื่อคนสังเกตเห็นก็มักร้องขอกินอาหารและจะกินอย่างตะกละตะกลาม จึงเรียกผีกละตามลักษณะการกิน แต่มักเขียนเป็นผีกะ หรือผีกละยักษ์ เป็นผีที่อยู่รักษาสถานที่ต่างๆ เช่น วัดร้าง, ถ้ำ หรือที่ซึ่งมีสมบัติฝังหรือซ่อนอยู่ ผีกละยักษ์จะคอยพิทักษ์สมบัติเหล่านั้น จนกว่าเจ้าของจะรับทรัพย์สินเหล่านั้นไป ในกรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว เป็นต้น

ผี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยมาแต่โบราณ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย จนเกิดเป็นข้อห้าม หรือคะลำ ในภาษาอีสานต่าง ๆ ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคไป เช่น ห้ามกินเลือด, ห้ามเลี้ยงนกฮูก, นกเค้าแมว, นกแสก, และค้างคาว, ห้ามเคาะจานข้าว, ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน หรือห้ามเผาศพในวันศุกร์ เป็นต้น[1] [2] [3]

ผีไทยในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]
รูปวาดของผู้หญิงที่เชื่อว่าเป็น แม่นากพระโขนง ภายในศาลแม่นากพระโขนง ในวัดมหาบุศย์

ในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ มีผีไทยได้ปรากฏตามสื่อเป็นจำนวนมาก แม่นากพระโขนง ซึ่งเป็นเรื่องเล่าของผีตายทั้งกลมที่เชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในต้นยุครัตนโกสินทร์ นับว่าเป็นผีไทยที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มีศาลบูชา อยู่ที่วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง ในปัจจุบัน แม่นากพระโขนง ได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์, ละครเวที ภาพยนตร์ แม้กระทั่งการ์ตูน หรืออะนิเมะชั่นต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ยุคภาพยนตร์เงียบ ในปี พ.ศ. 2479 ทั้งให้ความรู้สึกน่ากลัว หรือแม้กระทั่งขบขันหรือล้อเลียน[4] [5] หรือ กระสือ ผีผู้หญิงที่ถอดหัวเหลือแต่ไส้กับอวัยวะต่าง ๆ เรืองแสงได้ ล่องลอยหาของสดของคาว และมูตรคูถต่าง ๆ ในเวลากลางคืน กินเป็นอาหาร ก็เป็นผีอีกประเภทหนึ่งเช่นกันที่มักถูกถ่ายออดออกมาในสื่อประเภทนี้ ร่วมกับผีปอบ ที่ บ้านผีปอบ กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีจำนวนภาคต่อมากที่สุด (จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2556-14 ภาค)[6] [7] [8]


Spirits: Creativities from beyond ผี: ความกลัว...จัดการได้ ด้วยจินตนาการสร้างสรรค์

นิทรรศการที่จัดโดย TCDC โดยเป็นนิทรรศการที่จะชวนคุณมาสัมผัสประสบการณ์ขนหัวลุก จากหลายเรื่องราวที่เล่าขานกันมายาวนานเกี่ยวกับความเชื่อและนิยามของ “ผี” ที่จะปลุกความกลัวและสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ผ่านกระบวนการจัดการความกลัวด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องผี ๆ พร้อมร่วมเปิดมุมมองใหม่ให้กับคำนิยามของผีผ่านหลากตำนาน ความเชื่อ และข้อเท็จจริงที่รวบรวมจากทุกมุมโลก รวมถึงการแสดงนานาทัศนะของผู้คนหลากอาชีพที่มีความเกี่ยวพันกับมิติคู่ขนานกับกลวิธีสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมและเอาชนะ “ความกลัว” ด้วย “ความเข้าใจ” ในนิทรรศการประกอบไปด้วยการจัดแสดงรูปปั้นผี ภาพเขียนผีที่มีการจัดนิทรรศการอย่างเป็นระบบทำให้ผู้ชมได้สัมผัสรสชาติความกลัว รวมถึงจากจัดแสดงอิทธิพลของผีที่มีต่อสื่อร่วมสมัย เช่น โปสเตอร์หนัง นิยาย และสื่อใหม่ต่างๆ [1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แนะนำให้รู้จัก สารพัด "ผีของไทย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 2013-02-12.
  2. Ghosts and Spirits of Lan Na (Northern Thailand', in: Forbes, Andrew, and Henley, David, Ancient Chiang Mai Volume 4. Chiang Mai, Cognoscenti Books, 2012. ASIN: B006J541LE
  3. Phya Anuman Rajadhon, Essays on Thai Folklore, Editions Duang Kamol, ISBN 974-210-345-3
  4. "สวัสดีน๊านนาน... "แม่นาคพระโขนง"!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-12.
  5. "สวัสดีน้านนาน ... แม่นาคพระโขนง ตอน (จบ) 3 4 แอ็คชัน!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-12.
  6. "มองหาความคัลต์ในหนังไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-12.
  7. หนังผีแบบไทยไทย
  8. ผีขึ้นจอ (2)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ผีในวัฒนธรรมไทย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?