For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ปู่แสะย่าแสะ.

ปู่แสะย่าแสะ

ปู่แสะย่าแสะ เป็นตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงยักษ์สองผัวเมียซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นเค้าบรรพบุรุษของชาวลัวะที่ได้กลายมาเป็นผู้พิทักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่

ตำนานปู่แสะย่าแสะมีปรากฏทั้งในเอกสารโบราณ เช่นตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ธรรมตำนานวัดนันทาราม รวมถึงเอกสารร่วมสมัย เช่น ตำนานพระธาตุดอยคำ นอกจากนี้ยังปรากฏเป็นมุขปาฐะสำนวนชาวบ้าน ซึ่งมักมีเนื้อหาพิสดารออกไป ทุกตำนานให้ความสำคัญกับปู่แสะย่าแสะในฐานะที่เป็น "เก๊าผี" หรือ ต้นตระกูลของผีที่สำคัญทั้งปวงของเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีลูกมากถึง 32 ตน บรรดาลูก ๆ เช่น เจ้าหลวงคำแดง ผู้เป็นใหญ่ในผีทั้งปวงของล้านนา เจ้าสร้อยดูแลรักษาเมืองแม่แจ่ม (อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่) เจ้าบัวระพาดูแลรักษาเมืองแหง (อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่) เจ้าสมภะมิตรดูแลรักษาดง แม่คะนิล (อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่) ฯลฯ

การที่ปู่แสะย่าแสะเคยเป็นยักษ์มาก่อนจึงขออนุญาตต่อพระพุทธเจ้าที่จะกินสัตว์ตามสัญชาติญาณยักษ์ความเชื่อดังกล่าวนำมาสู่การฆ่าควายเพื่อเซ่น สังเวยปู่แสะย่าแสะ[1]

เนื้อหา

เมืองระมิงค์นครหรือบุพพนครเป็นเมืองชนชาติลัวะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง มียักษ์ 3 ตน พ่อแม่ลูก จับชาวเมืองไปกินทุก ๆ วัน จนชาวเมืองต้องหนีออกจากเมือง ต่อมาพระพุทธเจ้ารับรู้ถึงความเดือดร้อนของชาวลัวะในเมืองระมิงค์นคร จึงได้เสด็จมาโปรดและแสดงอภินิหารและแสดงธรรม ปรากฏว่ายักษ์สามตนนั้นเกิดความเลื่อมใส และให้ยักษ์ทั้งสามตนสมาทานศีลห้าสืบไป แต่ยักษ์ทั้งสามตนได้ทูลขอกับพระพุทธเจ้าว่า พวกตนเป็นยักษ์ต้องประทังชีวิตด้วยการกินเนื้อมนุษย์ หากมิได้ก็ขอกินเนื้อสัตว์จึงได้ขอพระพุทธเจ้ากินควายปีละ 1 ตัว แต่พระพุทธองค์ไม่ตอบอะไร ยักษ์ทั้งสามตนจึงได้ไปขอกับเจ้าเมืองลัวะ ซึ่งทางเจ้าเมืองก็ได้นำควายมาเซ่นสังเวยให้ปีละ 1 ตัว โดยตั้งข้อแม้ว่า ยักษ์ต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 ปี ตลอดจนปกปักรักษาชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข

พระพุทธเจ้าได้มอบหมายให้ยักษ์สองผัวเมียดูแลรักษาดอยคำและดอยอ้อยช้าง ส่วนลูกยักษ์ได้บวชเป็นพระภิกษุ ต่อมาลาสิกขาออกมาถือเพศเป็นฤๅษี มีนามว่า สุเทพฤๅษี ส่วนดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) สุเทพฤๅษีได้บำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำฤๅษีหลังดอยสุเทพ (ปัจจุบันปรากฏร่องรอยของบ่อน้ำ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ่อฤๅษี)[2]

ภายหลังปู่แสะย่าแสะได้สิ้นอายุขัยแล้วแต่ชาวเมืองระมิงค์นครยังคงเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์ และต้องการให้วิญญาณปู่แสะย่าแสะช่วยรักษาพระศาสนาและปกป้องคุ้มครองชาวเมือง จึงจัดให้มีพิธีเซ่นสรวงหรือประเพณีเลี้ยงผีดงเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เป็งเดือนเก้า) และชาวเชียงใหม่ โดยเฉพาะชาวบ้านแม่เหียะ ยังเชื่อว่ายักษ์ทั้งสองยังคงสถิตอยู่ในป่าทั้งสองดอย มีดอยคำ และดอยสุเทพ ให้ฝนตกตามฤดูกาลชาวบ้านทำเกษตรได้ผลดี

อ้างอิง

  1. อาสา อำภา. "ปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่".
  2. "ตำนานปู่แสะย่าแสะ". ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-21. สืบค้นเมื่อ 2022-07-21.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ปู่แสะย่าแสะ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?