For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ชาวจีนในประเทศปากีสถาน.

ชาวจีนในประเทศปากีสถาน

ชาวจีนในประเทศปากีสถาน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
อิสลามาบาด การาจี ละฮอร์
ปากีสถาน ประเทศปากีสถาน
ภาษา
ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาอูรดู
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม[1] ศาสนาพุทธ

ชาวจีนในประเทศปากีสถาน คือกลุ่มชนเชื้อสายจีนที่อพยพมาจากประเทศจีน โดยเข้ามาตั้งรกราก และพำนักในดินแดนปากีสถานประมาณกว่า 10,000 คน ในปี พ.ศ. 2552[2]

ชุมชนชาวจีน

[แก้]

ประมาณปี ค.ศ. 1904 มีชาวจีนมุสลิมจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาจากประเทศจีน และได้ตั้งถิ่นฐานในเมืองการาจี[1] อย่างไรก็ตาม ชุมชนชาวจีนแต่เดิมก็ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม โดยบรรพบุรุษของพวกเขานับถือศาสนาพุทธ แต่ภายหลังได้หันไปนับถือศาสนาอื่น หรือไม่นับถือเลย โดยกลุ่มชนเชื้อสายจีนกลุ่มนี้กว่าร้อยละ 30 ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม[3]

กลุ่มชนเชื้อสายจีนของการาจีในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่สอง รุ่นแรกที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ส่วนมากได้เสียชีวิตหมดแล้ว และรุ่นที่สามส่วนมากให้อพยพไปสู่ประเทศอื่น[3] โดยส่วนมากอพยพไปสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา หรืออพยพไปประเทศจีน[1] พวกเค้าแทบจะไม่สวมเสื้อผ้าจีน แต่รักษาภาษาจีน แม้ไม่นานมานี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางภาษา ซึ่งหันมาพูดภาษาอูรดู[1][3] ที่ผ่านมาชุมชนชาวจีนได้จัดตั้งคณะกรรมการสมาคมเชื้อสายจีน เพื่อแสดงความเป็นปึกแผ่นของชุมชน พวกเขาตั้งอยู่ใกล้กับ Pakistan Employees Cooperative Housing บนถนนตาริก (Tariq) ในเขตเซดดาร์[3] โดยเป็นที่ตั้งของร้านอาหารจีน 15 ร้าน และเขตนี้บางครั้งจึงถูกเรียกว่า "ไชน่าทาวน์"[4]

นอกจากร้านอาหารจีนแล้ว ช่าวปากีสถานเชื้อสายจีนยังประกอบอาชีพช่างเสริมสวย ช่างทำรองเท้า ทำฟัน โดยส่วนมากเป็นรุ่นที่สองโดยสืบทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ[3] โดยหมอฟันเชื้อสายจีนส่วนมากจะเจาะจงลูกค้าที่มีรายได้ต่ำในเมือง และส่วนมากพวกเขาไม่มีใบประกอบอาชีพอย่างเป็นทางการ ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาเคยอาศัยอยู่ท่ามกลางชุมชนชาวจีนในประเทศมาเลเซีย และเคยทำงานช่วยเหลือเกี่ยวฟัน แตต่อมาได้อพยพมายังประเทศปากีสถานเพื่อฝึกหัดเป็นทันตแพทย์ด้วยตัวเอง เนื่องจากการาจีในช่วงนั้นขาดแคลนหมอฟัน โดยขณะนี้ได้มีโรงเรียนทันตกรรมที่ไฮเดอราบาด รัฐซินด์[5]

ในเมืองละฮอร์ ชาวจีนมุสลิมได้จัดตั้งมัสยิดเรียกว่า จินีมัสญิด (Chini Masjid) หรือมัสยิดจีน พวกเขาได้แต่งงานข้ามเชื้อชาติกับคนในท้องถิ่น[6] โดยที่นี่ชาวจีนได้ผลิตรองเท้าสองยี่ห้อ และมีชื่อเสียง ได้แก่ Hopson และ Kingson[7]

ชนกลุ่มน้อยจากจีน

[แก้]

มีปนระชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากของจีนคือชาวอุยกูร์ และทาจิก ที่อพยพมาจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศปากีสถาน[8] มีผู้อพยพกว่าพันคนในปี ค.ศ. 1940 ได้อพยพเข้ามาด้วยความเกรงกลัวคอมมิวนิสต์ในจีน [9] และอพยพมากว่าร้อยคนจากเมืองโฮตาน ใน ค.ศ. 1954[10] ต่อมาคลื่นผู้อพยพเข้ามาอีกในปี ค.ศ. 1963 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1974

ในปี ค.ศ. 2009 มีการประมาณการว่ามีประชากรประมาณ 3,000 คน โดย 800 คนอยู่ในเมืองกิลกิต ประมาณ 2,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองราวัลปินดี อีกกว่า 100 อาศัยอยู่ในเมืองซุซต์บนคาราโครัมไฮเวย์ ส่วนที่เหลือกระจายกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ[8] นอกจากนี้ทางการจีนได้เรียกร้องสมาชิกของขบวนการอิสลามเตอรกีสถานตะวันออก (East Turkestan Islamic Movement) ที่ได้กระทำการในเมืองละฮอร์ด้วย[11]

ชุมชนชาวอุยกูร์ในปากีสถานนั้น ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าบ้านปากีสถานเป็นอย่างดี มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ระหว่างสองฝ่าย และส่วนมากพูดภาษาอูรดูได้มากกว่าพูดภาษาอุยกูร์ โดยกลุ่มเชื้อสายอุยกูร์จะทำธุรกิจเล็กๆ[9] เมื่อไม่นานมานี้พวกเขาได้ทำการนำเข้าเซรามิกจากจีน และผลิตภัณฑ์จากซินเจียง มาส่งขายภายในปากีสถาน[12]

ผู้อพยพเข้ามาทำงาน

[แก้]

ในประเทศปากีสถานได้มีคนงานจากประเทศจีนเข้ามาทำงานจำนวนมากขึ้น แต่ก็ถูกขัดจังหวะเนื่องจากเกิดการโจมตีในปากีสถานเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ผู้อาศัยชาวจีนส่วนใหญ่จึงได้ส่งผู้หญิงและเด็กกลับบ้าน[13] ในปี ค.ศ. 2007 มีวิศวกรชาวจีน 3,500 คน เข้ามาทำงานในการสร้าง ท่าเรือกวาดาร์ รวมเป็น 5,000 คน [14] คาดกันว่ามีอีก 1,200 คนอยู่ในอิสลามาบาด[15] ในระหว่างปี ค.ศ. 2008-2009 จำนวนชาวจีนในปากีสถานได้เติบโตขึ้นกว่า 10,000 คน และอาจจะมากกว่าคนเชื้อชาติอื่นที่เข้ามาทำงานในปากีสถาน[2]

องค์กรชาวจีนในปากีสถาน

[แก้]

องค์กรชุมชนชาวจีนในปากีสถาน ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากอุปสรรคต่างๆของคนงานจีนในปากีสถาน สถานทูตจึงได้จัดตั้งการติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการการปกครองปากีสถาน เพื่อเข้าไปดูแลด้านความปลอดภัย[15] อันได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Asadullah (2007-09-26), "Disappearing Chinese Diaspora", The International News, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
  2. 2.0 2.1 2.2 Fazl-e-Haider, Syed (2009-09-11), "Chinese shun Pakistan exodus", Asia Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-13, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Ramzi, Shanaz (2001-07-09), "The melting pot by the sea", Dawn, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-07-15, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
  4. Karachi Chinatown, Chinatownology.com, สืบค้นเมื่อ 2009-09-12
  5. Rizvi, Amna (2005-07-08), "Karachi's Chinese Dentists", Daily Jang, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-11, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
  6. Wang, Daiyu (2007-10-27), "Chinese Muslims in Pakistan", Chowk, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
  7. Hamid, A. (2006-07-02), "Lahore Lahore Aye: How Lahore has changed", Daily Times of Pakistan, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
  8. 8.0 8.1 Sun, Jincheng (2009-07-19), "巴基斯坦维族华人领袖:新疆维族人过得比我们好/Pakistan Uyghur leader: Xinjiang Uyghurs live better than us", Global Times Chinese Edition, สืบค้นเมื่อ 2009-09-14
  9. 9.0 9.1 Rahman, Anwar (2005), Sinicization beyond the Great Wall: China's Xinjiang Uighur Autonomous Region, Troubador Publishing, p. 60, ISBN 9781904744887
  10. Rahman 2005, p. 50
  11. Ali, Wajahat (2004-05-29), "China says terrorists from Xinjiang hiding in Pakistan", Daily Times, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
  12. "巴基斯坦北部华裔维吾尔人/Uyghurs of China in Northern Pakistan", Broadcasting Corporation of China, 2009-02-23, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
  13. "担心大战爆发 巴基斯坦华人纷纷回国/Worrying that war will explode, Chinese in Pakistan go home one by one", People's Daily, 2001-09-27, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
  14. "Peshawar killing evokes fear among foreigners", Dawn, 2007-07-10, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
  15. 15.0 15.1 "Liaison committee for Chinese security being formed", Daily Times, 2007-07-10, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
  16. "巴基斯坦华人华侨与我外交官共庆元宵节/Overseas Chinese in Pakistan celebrate Lantern Festival with Chinese diplomats", People's Daily, 2009-02-10, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
  17. "新疆海外交流协会慰问巴基斯坦华人华侨/Xinjiang Overseas Exchanges Association expresses appreciation to overseas Chinese in Pakistan", China Radio International, 2008-07-17, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
  18. "'镜头里的中国'图片展在拉合尔开幕/'China in the mirror' photo exhibition opens in Lahore", People's Daily, 2008-06-24, สืบค้นเมื่อ 2009-09-14
  19. Yin, Liang (2008-02-06), "巴基斯坦华人华侨为中国灾区捐款/Overseas Chinese in Pakistan make donations for China disaster areas", China Radio International, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08, สืบค้นเมื่อ 2009-09-14
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ชาวจีนในประเทศปากีสถาน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?