For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ปลาปอด.

ปลาปอด

ปลาปอด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ดีโวเนียนตอนต้น-ปัจจุบัน
ปลาปอดออสเตรเลียในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
อวัยวะที่ช่วยในการหายใจที่เหมือนปอดของสัตว์บกของปลาปอดโดโลไอ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Sarcopterygii
ชั้นย่อย: Dipnoi
Müller, 1844
อันดับ
ชื่อพ้อง[1]
  • Dipneusti
ปลาปอดในสวนสัตว์พาต้า

ปลาปอด (อังกฤษ: Lungfish, Salamanderfish, Amphibious fish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อย Dipnoi เป็นปลาเพียงจำพวกเดียวในโลกที่ยังมีการสืบสายพันธุ์จนปัจจุบันนี้ที่หายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ

ปลาปอดได้ชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต เพราะเป็นปลาที่ไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างมากนักจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปลาปอดจัดอยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ มีพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อเป็นครีบ มีครีบหางเดี่ยว มีครีบ 2 คู่ มีเกล็ดแบบ Cosmoid ซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในโลก ซึ่งปลาในกลุ่มนี้จะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1. ปลาซีลาแคนท์ 2. ปลาปอดแอฟริกาและปลาปอดอเมริกาใต้ 3. ปลาปอดออสเตรเลีย

ปลาปอดทั้งหมดมีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล ยกเว้นปลาปอดออสเตรเลีย ซึ่งแยกย่อยไปอีกกลุ่ม ถือเป็นหลักฐานและร่องรอยของการวิวัฒนาการของปลาที่พัฒนามาเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลาปอดนั้นมีกระดูกครีบอกคู่ที่เทียบได้กับแขนขาของสัตว์ชั้นสูง มีแกนยาวและมีกล้ามเนื้อประกอบชัดเจน เมื่ออยู่ในน้ำหรือบนบกที่ชื้นแฉะจะใช้คืบคลานคล้ายสัตวครึ่งบกครึ่งน้ำ หางมีลักษณะเป็น Diphycercal เกล็ดเป็น Cosmoid ภายในลำไส้มีแผงเนื้อที่วางตัวเป็นเกลียวตามความยาวลำไส้ ชื่อของปลาปอดมีที่มาจากปลาชนิดนี้มีกระเพาะลมหนามาก อยู่ใกล้สันท้อง (เทียบได้กับหน้าอก) และมีท่อเชื่อมกับส่วนล่างทางด้านหน้าของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่เป็นปอดคอยดูดซับออกซิเจนและกำจัดขยะ ในขณะที่ปลาทั่วไปในส่วนนี้จะทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวในขณะที่ปลาว่ายน้ำ กินอาหารได้หลากหลาย กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำและสามารถขบกัดสัตว์มีกระดองได้เป็นอย่างดี เพราะมีกรามและฟันที่แข็งแรง

นอกจากนี้ปลาปอดยังมีระบบจมูกที่แตกต่างจากปลาทั่วไป คือมีท่อเชื่อมกับช่องปาก ในปลาปอดยุคใหม่ (ปลาปอดแอฟริกา และ อเมริกาใต้) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แม้ในช่วงที่แหล่งน้ำที่มันอาศัยแห้งขอด โดยจะขุดโพรงในโคลนและปิดผนึกโพรงนั้นไว้ด้วยเมือก ในระหว่างนั้นจะหายใจเอาอากาศโดยตรงผ่านทางถุงลมและจะลดการเผาผลาญพลังงาน อย่างรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นปลาปอดก็สามารถจมน้ำตายได้หากไม่สามารถขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำได้

ปลาปอดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ใหญ่ ๆ คือ ปลาปอดยุคเก่า คือ ปลาปอดออสเตรเลีย (Ceratodontidae) ซึ่งพบเฉพาะประเทศออสเตรเลียบริเวณรัฐควีนส์แลนด์เท่านั้น และปลาปอดยุคใหม่ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์อีก คือ ปลาปอดแอฟริกา (Protopteridae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ชนิด 1 สกุล พบในหนองน้ำทวีปแอฟริกาเท่านั้น และปลาปอดอเมริกาใต้ (Lepidosirenidae) พบทั้งหมด 1 สกุลและ 1 ชนิด เท่านั้น โดยทั้งหมดจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกันคือ สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ บางวงศ์สามารถขุดรูจำศีลใต้ดินได้ในฤดูแล้ง และอาศัยอยู่ในหนองน้ำหรือแหล่งน้ำที่ไม่ค่อยสะอาดหรือมีปริมาณออกซิเจนมากนัก

วงศ์ปลาปอด

[แก้]

ปลาปอดออสเตรเลีย

[แก้]

ดูในบทความหลัก: ปลาปอดออสเตรเลีย

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neoceratodus forsteri จัดอยู่ในวงศ์ Ceratodontidae มีลักษณะเด่นคือ มีขนาดตัวที่ยาว ลำตัวมีขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่าปลาปอดแอฟริกาและปลาปอดอเมริกาใต้ มีตาขนาดเล็ก ตาของปลาปอดออสเตรเลียแย่มาก ในการหาอาหารนั้นปลาปอดชนิดนี้ใช้การสัมผัส และ กลิ่น มากกว่า ใช้สายตา และมีครีบคล้ายใบพาย อยู่บริเวณครีบอก และ ครีบบริเวณเชิงกราน ครีบหลังเริ่มตั้งแต่ปลายลำตัว ยาวไปจนถึงปลายหางโดยรวมเข้าด้วยกันกับครีบหางและครีบก้น ปลาปอดออสเตรเลียมีสีเขียวมะกอกไปจนถึงสีน้ำตาล บนบริเวณหลัง และด้านข้าง โดยที่ มีจุดสีเข้มกระจาย ๆ ทั่วลำตัว ช่วงล่างลำตัวจะมีสีที่อ่อนกว่าช่วงบนลำตัว ครีบอกกับครีบหางคล้ายตีนกบ เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีถุงลมหรือปอดไม่เป็นคู่ ปลาปอดชนิดนี้จะมีปอดเดี่ยว ในปลาวัยเล็กจะไม่มีพู่เนื้อเหมือนเหงือกเช่นปลาปอดแอฟริกา และปลาเต็มวัยไม่มีการขุดรูจำศีล แต่เมื่อถึงฤดูที่น้ำเหือดแห้ง ปลาปอดออสเตรเลียจะอยู่นิ่ง ๆ ในน้ำ โดยจะฮุบอากาศเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นต่อชั่วโมง และมีความสามารถคือปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ได้เพื่อหาอาหาร

ในอดีต ปลาปอดออสเตรเลียถือว่าเป็นสัตว์ที่หายากมาก ๆ และใกล้สูญพันธุ์ถึงที่สุดชนิดนึงของออสเตรเลีย จนมีชื่อติดอยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส (CITES) แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้และมีการส่งออกเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาซื้อขายแพงมาก

ปลาปอดแอฟริกา

[แก้]

ดูในบทความหลัก: วงศ์ปลาปอดแอฟริกา

ส่วนหัวของปลาปอดแอฟริกาชนิด Protopterus annectens annectens

เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Protopteridae จัดเป็นวงศ์ใหญ่ เพราะมีด้วยกันทั้งหมดถึง 7 ชนิด ทั้งชนิดหลักและชนิดย่อย มีเพียง 1 สกุล มีลักษณะร่วมกันทางสรีระคือ มี 6 เหงือกหลัก และ 5 เหงือกย่อย ลำตัวมีลักษณะยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตรหรือเมตรครึ่ง ปลาปอดวงศ์นี้มีความสามารถเอาชีวิตรอดได้ในช่วงแห้งแล้ง โดยการลดการเผาผลาญพลังงานที่เรียกว่า แอสติเวชั่น โดยขุดรูอยู่ใต้ดินได้ลึกถึง 1 เมตร และหุ้มห่อตัวด้วยเนื้อเยื่อคล้ายรังไหม พบได้ทั่วไปตามหนองน้ำในทวีปแอฟริกา มีตาขนาดเล็ก มีกรามที่แข็งแรงและแหลมคม สามารถขบกัดสัตว์มีเปลือกได้เป็นอย่างดี จะงอยปากยื่นยาวออกมาและงอนขึ้นข้างบน มีพละกำลังมาก มีนิสัยก้าวร้าวเมื่อถูกรบกวน แต่กระนั้นปลาปอดแอฟริกาก็ยังตกเป็นอาหารของนกกินปลาขนาดใหญ่เสมอ ๆ

ปลาปอดอเมริกาใต้

[แก้]

ดูในบทความหลัก: ปลาปอดอเมริกาใต้

ปลาปอดอเมริกาใต้

อยู่ในวงศ์ Lepidosirenidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidosiren paradoxa ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณเมตรครึ่ง หัวมีลักษณะกลมกว่าปลาปอดแอฟริกา ลำตัวมีสีดำคล้ำ เมื่อยังเล็กจะมีจุดสีเหลืองกระจายไปทั่วตัว มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาปอดแอฟริกา และมีนิสัยที่สุภาพกว่า มีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลกไปกว่าปลาปอดจำพวกอื่น ๆ คือ สามารถกินพืชจำพวกเห็ดราได้ด้วย เมื่อยังเล็กมีพู่เนื้อและสามารถขุดรูจำศีลได้เช่นเดียวกับปลาปอดแอฟริกา โดยในปลาวัยเล็กภายในอาทิตย์แรก พวกจะหายใจผ่านทางเหงือกภายนอกอย่างเดียวจนกระทั่งมีอายุได้ 7 สัปดาห์ จะเริ่มหายใจด้วยอากาศได้ และเหงือกภายนอกจะเริ่มหายไป พบในหนองน้ำทวีปอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาปอดแอฟริกา[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก itis.gov
  2. "มาทำความรู้จัก ปลาปอด กันเถอะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12. ((cite web)): ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ปลาปอด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?