For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์.

ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์

ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์
ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ นักแบดมินตันชายทีมชาติไทย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2510
จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (45 ปี 112 วัน)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร
ส่วนสูง1.74 m (5 ft 8 12 in)
น้ำหนัก65 กก. (143 lb)
กีฬา
กีฬาแบดมินตัน
กำลังฝึกสอนบุญศักดิ์ พลสนะ[1]
พิสิษฐ์ พูดฉลาด[1]
กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล[1]
ดวงอนงค์ อรุณเกษร[1]
ร.อ.หญิง สราลีย์ ทุ่งทองคำ[1]
ณริฎษาพัชร แลม[1]
ทรงพล อนุกฤตยาวรรณ[1]
พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข[1]
รัชนก อินทนนท์[2]
บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์[1]
มณีพงศ์ จงจิตร[1]
บดินทร์ อิสสระ[1]
รายการเหรียญรางวัล

นายดาบตำรวจ ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ (14 มิถุนายน พ.ศ. 2510 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555)[3] เป็นนักกีฬาแบดมินตันชายชาวไทยประเภทชายคู่ ผู้ซึ่งเป็นแชมป์ประเทศไทย 11 สมัย[4] นอกจากนี้ เขายังเป็นเจ้าของเหรียญทองซีเกมส์ 1999 ที่ประเทศบรูไน, เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 1998 ที่ประเทศไทย และเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2002 ที่ประเทศเกาหลีใต้ เขามักร่วมทีมกับ พ.อ.ศักดิ์ระพี ทองสาริ และเทศนา พันธ์วิศวาส โดยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 2 ของโลกถึง 2 ครั้ง[5][6][7]

นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ฝึกสอนนักแบดมินตันไทยจนสามารถติดอันดับโลกหลายราย ทั้งบุญศักดิ์ พลสนะ, พิสิษฐ์ พูดฉลาด, กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล, ดวงอนงค์ อรุณเกษร, ร.อ.หญิง สราลีย์ ทุ่งทองคำ, ณริฎษาพัชร แลม, ทรงพล อนุกฤตยาวรรณ, พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข, รัชนก อินทนนท์, บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์, มณีพงศ์ จงจิตร และบดินทร์ อิสสระ[1]

ประวัติ

[แก้]

ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ เริ่มเล่นแบดมินตันเมื่ออายุได้ 6 ขวบเมื่อครั้งเป็นนักเรียนประถมที่โรงเรียนสิทธิศึกษา จากนั้นได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี และสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. จากวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี จากนั้น เมื่อเขาย้ายมายังกรุงเทพมหานคร ก็ได้มีโอกาสร่วมทีมกับนักแบดมินตันที่มีชื่อเสียงหลายราย และปราโมทย์เริ่มมีชื่อเสียงอย่างมาก เมื่อครั้งที่เขาจับคู่กับศักดิ์ระพี ทองสาริ โดยสามารถขึ้นไปอยู่ในอันดับ 2 ของโลกจากการแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการ[1] และปราโมทย์ได้เข้าแข่งขันในกีฬาแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ในประเภทชายคู่ร่วมกับเทศนา พันธ์วิศวาส โดยพวกเขาเป็นฝ่ายชนะแอชลีย์ เบรเฮาท์ และเทรวิส เดนนีย์ จากประเทศออสเตรเลียในรอบแรก จากนั้นทั้งคู่ก็เป็นฝ่ายแพ้ต่อจง เถิงฝู และหลี่ ว่านหัว จากประเทศมาเลเซียในรอบ 16 คนสุดท้าย

ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ปราโมทย์เข้าแข่งขันร่วมกับเทศนา พันธ์วิศวาส พวกเขาชนะในรอบ 32 คนสุดท้าย แต่เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมมาเลเซียในรอบ 16 คนสุดท้าย หลังจากที่เขาเลิกการแข่งขันแบดมินตันแล้ว ก็ได้ผันตัวมาเป็นโค้ชให้แก่ทีมชาติไทยในเวลาต่อมา[6][7]

ด้านชีวิตส่วนตัว ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ สมรสกับ ณฐมล ธีระวิวัฒน์ และมีบุตรชายด้วยกัน 2 คน[7]

การเสียชีวิต

[แก้]

ปราโมทย์พบว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 ทั้งที่ซึ่งเขาไม่ได้เป็นคนดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ จากนั้นเขาได้เข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี[1] ปราโมทย์ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ด้วยโรคมะเร็งปอด ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยญาติได้นำร่างของเขาไปประกอบพิธีที่วัดถาวรวราราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และกำหนดพิธีฌาปนกิจศพในวันที่ 9 ของเดือนเดียวกันนี้[6][7] ในการจากไปนี้ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ซึ่งเป็นประธานที่ปรึกษาสมาคมแบดมินตันฯ ได้แสดงการไว้อาลัยผ่านทางเฟซบุ๊กของ ด.ต.ปราโมทย์ รวมทั้ง รัชนก อินทนนท์ ที่เคยรับการฝึกสอนจาก ด.ต.ปราโมทย์ ก็ได้แสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมด้วยเช่นกัน[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ .... สุดยอดนักแบดฯระดับตำนาน[ลิงก์เสีย]
  2. 'เมย์'แชมป์แบด-มอบเงินช่วยบ้านปราโมทย์ : ข่าวสดออนไลน์
  3. ด.ต.ปราโมทย์ อดีตนักแบดมินตัน เสียชีวิต - Mcot.net[ลิงก์เสีย]
  4. "Cancer claims badminton great Pramote". News.asiaone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-05. ((cite web)): ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. 5.0 5.1 วงการแบดฯเศร้า! "ด.ต.ปราโมทย์"อดีตนักตบลูกขนไก่ทีมชาติเสียชีวิตแล้ว
  6. 6.0 6.1 6.2 แบดฯสิ้นปราโมทย์ เจริญยันช่วยเต็มที่. เดลินิวส์. ฉบับที่ 23,004. วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16860004. หน้า 18
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4003. วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16851390. หน้า 24
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙๓, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?