For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ปรากฏการณ์ฟอเรอร์.

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์มักจะใช้ในหลายสาขา เช่น โหราศาสตร์ ภาพนี้แสดงให้เห็นร้านดูดวงแห่งหนึ่งในบอสตัน

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ (อังกฤษ: Forer effect) หรือที่บางครั้งเรียกว่า ปรากฏการณ์บาร์นัม (อังกฤษ: Barnum effect) ตามข้อสังเกตการณ์ของ พี.ที. บาร์นัม ที่ว่า "เรามีทุกสิ่งสำหรับทุกคน" ("We've got something for everyone") เป็นปรากฏการณ์จากข้อสังเกตที่ว่า บุคคลมักให้คะแนนความถูกต้องในระดับที่สูงกับคำอธิบายเกี่ยวกับบุคลิกภาพของตนซึ่งตนเชื่อว่าทำขึ้นมาเพื่อตนโดยเฉพาะ ทั้งที่จริงแล้วเป็นคำอธิบายที่คลุมเครือและกว้างขวางพอที่จะครอบคลุมถึงบุคคลหลายๆ กลุ่ม โดยปรากฏการณ์นี้ได้อธิบายถึงเหตุผลบางส่วนเบื้องหลังความเชื่อที่เป็นนิยมหลายสาขา เช่น โหราศาสตร์ การดูดวง การทำนายจากลายมืออักษร และบททดสอบบุคลิกภาพบางตัว

อีกปรากฏการณ์ที่พบได้ง่ายและใกล้เคียงกันคือ การยืนยันเชิงอัตวิสัย (Subjective validation)[1] ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสองเหตุการณ์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันได้รับการเชื่อมโยงกันด้วยเหตุผลทางความเชื่อ ความคาดหวัง หรือสมมติฐานที่กำหนดให้ทั้งสองเหตุการณ์จำต้องสัมพันธ์กัน ดังนั้น บุคคลจึงมักมองหาความเกี่ยวเนื่องระหว่างภาพลักษณ์ที่ตนเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของตน กับคำทำนายโหราศาสตร์

การพิสูจน์ของฟอเรอร์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1948 นักจิตวิทยา เบอร์แทรม อาร์. ฟอเรอร์ ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบด้านบุคลิกภาพ โดยบอกกับกลุ่มนักศึกษาว่าแต่ละคนจะได้รับบทวิเคราะห์ด้านลักษณะนิสัยที่เขียนขึ้นโดยเฉพาะจากผลแบบทดสอบของแต่ละคน ทั้งนี้ ฟอเรอร์ขอให้นักศึกษาให้คะแนนความถูกต้องของบทวิเคราะห์ดังกล่าวจาก 0 (ไม่ถูกต้อง) ถึง 5 (ถูกต้องทุกประการ) โดยในความจริงแล้ว นักศึกษาทุกคนได้รับบทวิเคราะห์เดียวกันทั้งหมด ดังนี้

คุณต้องการให้ผู้อื่นชื่นชอบและชื่นชมเป็นอย่างมาก คุณมีแนวโน้มที่จะคิดมากและตำหนิตนเอง คุณมีศักยภาพที่ยังไม่แสดงออกมาซุกซ่อนอยู่ และในขณะที่คุณมีข้อด้อยอยู่บ้าง คุณก็มีสิ่งที่สามารถชดเชยข้อด้อยนั้นได้ ภายนอก คุณดูเป็นคนที่มีวินัยและควบคุมตนเองได้ แต่ภายในคุณมักมีข้อกังวลและรู้สึกไม่มั่นใจ บางครั้ง คุณสงสัยว่าคุณได้ตัดสินใจดีแล้วหรือไม่ หรือได้ทำสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ คุณชอบการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายในระดับหนึ่ง และจะไม่พอใจเมื่อถูกจำกัดให้อยู่ในข้อบังคับ คุณภูมิใจที่คุณเป็นคนมีความคิดเป็นของตนเอง และไม่ยอมรับข้อคิดเห็นจากผู้อื่นหากปราศจากหลักฐานที่น่าพอใจ บางครั้งคุณมักเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร ความฝันของคุณบางประการดูเป็นไปไม่ได้จริง ความมั่นคงปลอดภัยคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในชีวิตของคุณ

จากการทดลอง ผลเฉลี่ยที่ได้อยู่ที่ 4.26 โดยหลังจากได้ค่าเฉลี่ย ฟอเรอร์จึงเผยว่า นักศึกษาทุกคนได้รับผลวิเคราะห์เดียวกันที่มาจากคำทำนายดวงที่ฟอเรอร์รวบรวมมา[2] ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลายข้อที่สามารถครอบคลุมได้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

ในอีกงานวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ฟอเรอร์ กลุ่มนักศึกษาได้ทำแบบประเมินลักษณะนิสัยของ MMPI (Minnesota Multiphasic Personality Inventory) โดยให้นักวิจัยประเมินคำตอบของนักศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยได้เขียนรายงานผลการประเมินที่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของแต่ละคน แต่จะคืนทั้งผลการประเมินที่ถูกต้องและผลการประเมินปลอมที่ใช้ลักษณะนิสัยทั่วไปให้กับนักศึกษา โดยให้นักศึกษาเลือกว่าผลการประเมินใดเป็นของตน มากกว่าครึ่งของนักศึกษา (59%) เลือกผลการประเมินปลอม[3]

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ยังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ "ปรากฏการณ์บาร์นัม" ซึ่งเกิดขึ้นจากบทความ "Wanted - A Good Cookbook" ในปี พ.ศ. 2499 ของนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน พอล มีห์ล ในบทความ มีห์ลได้เปรียบเทียบคำอธิบายบุคลิกภาพที่คลุมเครือกับบททดสอบทางจิตวิทยาที่ "ประสบความสำเร็จ" ของพี.ที. บาร์นัม นักแสดงและธุรกิจที่เป็นที่รู้จักในฐานะนักต้มตุ๋นเลื่องชื่อ[4][5]

การทำวิจัยซ้ำ

[แก้]

มีสองปัจจัยสำคัญในการสร้างมาตรฐานในการวิจัยซ้ำ ปัจจัยแรก คือ เนื้อหาคำอธิบายที่จะต้องมีสัดส่วนบุคลิกในแง่บวกและแง่ลบที่เหมาะสม ปัจจัยที่สองคือ ผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องมีความเชื่อถือว่าบุคคลที่ให้ผลประเมินกับตนจะให้ผลประเมินที่ถูกต้องและเป็นกลาง[6][7]

สิ่งที่ทำให้ปรากฏการณ์ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันอยู่เสมอนั้นเป็นเพราะคำอธิบายที่คลุมเครือ ทำให้ผู้คนสามารถใส่การตีความของตนเองลงไปในเนื้อหาที่ตนได้รับ จึงทำให้เนื้อหานั้นเป็นเรื่อง "เฉพาะตัว" ของตนเองได้ เช่น "บางครั้งคุณรู้สึกมั่นใจในตัวเอง แต่บางครั้งคุณก็ลังเล" ประโยคนี้สามารถใช้ได้กับทุกคน ดังนั้น แต่ละบุคคลจึงสามารถใส่การตีความของตนเองลงไปได้ การใช้เนื้อหาที่คลุมเครือเช่นนี้จะรับรองผลการประเมินที่น่าเชื่อถือในการวิจัยซ้ำ[8]

ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการวิจัยโดยนำเนื้อหาบางส่วนมาเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนสามารถตีความผลประเมินให้เกี่ยวกับองค์กรแทนที่ตัวบุคคล ผลที่ได้ออกมาใกล้เคียงกับผลวิจัยอื่นๆ โดยชี้ว่าบุคคลมักเทียบลักษณะภาพลักษณ์องค์กรเป็นบุคคล และถูกจูงใจให้เชื่อได้ง่ายในการตีความลักษณะของคน[9]

ตัวแปรที่มีผลต่อปรากฏการณ์

[แก้]

ผลการศึกษาจากหลายแห่งชี้ว่าปรากฏการณ์ฟอเรอร์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นสากล สามารถพบได้ในกลุ่มบุคคลต่างวัฒนธรรมและภูมิประเทศ ในปี ค.ศ. 2009 นักจิตวิทยา พอล โรเจอร์ส และแจนิซ โซล ทำการวิจัยเปรียบเทียบแนวโน้มในการยอมรับผลบททดสอบบุคลิกภาพของบาร์นัมระหว่างชาวตะวันตกและชาวจีน ซึ่งผลที่ได้แทบไม่มีความแตกต่างกันมากนัก[10]

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาภายหลังพบว่าผู้เข้าร่วมจะให้คะแนนความถูกต้องสูงขึ้น หากเงื่อนไขดังต่อไปนี้เป็นจริง[11]

  • ผู้เข้าร่วมเชื่อว่าผลวิเคราะห์นี้มีผลเฉพาะกับเขาเท่านั้น
  • ผู้เข้าร่วมให้ความเชื่อถือกับผู้ทำการประเมิน
  • ผลการประเมินมีลักษณะในแง่บวกเป็นหลัก

วิธีการนำเสนอผลบททดสอบบุคลิกภาพของบาร์นัมยังมีส่วนสำคัญในการทำให้คนยอมรับผลดังกล่าว เช่น ผลประเมินที่มีชื่อของผู้ถูกประเมินอยู่ในเนื้อหาจะมีแนวโน้มที่จะได้รับคะแนนสูงกว่า เป็นต้น[12]

การวิจัยในปัจจุบัน

[แก้]

ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ

[แก้]

มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าการมีความเชื่อก่อนหน้าเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติมีผลอย่างมากต่อปรากฏการณ์ฟอเรอร์ เช่น ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เชื่อในความแม่นยำของดวงชะตามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าคำอธิบายที่คลุมเครือนั้นหมายถึงตน มากกว่าผู้ที่ไม่มีความเชื่อดังกล่าว[13] โดยความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติครอบในกรณีนี้ครอบคลุมถึงความเชื่อในพระเจ้า อำนาจเวทมนตร์ ปรากฏการณ์วิญญาณต่างๆ เป็นต้น ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มทางจิตเภท (Schizotypy) และความอ่อนไหวต่อการรับรู้ (Susceptibility) ต่อปรากฏการณ์ฟอเรอร์ยังชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกันอย่างสูงอีกด้วย[6] อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยของโรเจอร์สและโซลใน ปี ค.ศ. 2009 ยังได้ทดสอบความเชื่อด้านโหราศาสตร์ของผู้เข้าร่วมวิจัย โดยผู้ที่มีแนวโน้มในการตั้งข้อสงสัยทั้งชาวจีนและชาวตะวันตก มักสามารถระบุข้อความที่คลุมเครือในแบบทดสอบของบาร์นัมได้ ข้อสังเกตนี้จึงชี้ได้ว่าบุคคลที่ไม่มีความเชื่อด้านโหราศาสตร์จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟอเรอร์น้อยกว่า

อคติการตีความเข้าหาตน

[แก้]

อคติการตีความเข้าหาตนได้แสดงผลในการลบล้างปรากฏการณ์ฟอเรอร์ โดยผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีการตีความเข้าหาตนจะยอมรับผลประเมินในแง่บวกของตนเอง และปฏิเสธผลประเมินในแง่ลบ ในงานวิจัยหนึ่ง ผู้เข้าร่วมจะได้รับรายงานผลประเมินบุคลิกภาพหนึ่งในสามฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นผลการประเมินที่มีแต่ลักษณะนิสัยในแง่บวก ฉบับหนึ่งเป็นผลประเมินในแง่ลบ และอีกฉบับหนึ่งมีทั้งแง่บวกและลบปนเปกัน ผู้เข้าร่วมที่ได้รับผลประเมินที่มีแต่แง่บวกและผลประเมินแบบผสมมีแนวโน้มที่จะยอมรับผลประเมินมากกว่าผู้เข้าร่วมที่ได้รับผลประเมินในแง่ลบ โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะใดๆ ระหว่างสองกลุ่มแรก ในอีกงานวิจัยหนึ่ง ผู้เข้าร่วมได้รับชุดรายการลักษณะนิสัยแทนผลวิเคราะห์ปลอม โดยให้ผู้เข้าร่วมจะให้คะแนนลักษณะนิสัยที่คล้ายกับตน ผลที่ได้สอดคล้องกับอคติการตีความเข้าหาตน โดยผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับลักษณะนิสัยในแง่บวก และไม่เห็นด้วยกับลักษณะนิสัยในแง่ลบ การวิจัยดังกล่าวได้ให้ข้อสรุปว่าอคติการตีความเข้าข้างตนนั้นมีกำลังมากพอที่จะลบล้างปรากฏการณ์ฟอเรอร์ได้[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marks, David F. (2000). The Psychology of the Psychic (2 ed.). Amherst, New York: Prometheus Books. p. 41. ISBN 1-57392-798-8.
  2. Forer, B.R. (1949). "The fallacy of personal validation: A classroom demonstration of gullibility". Journal of Abnormal and Social Psychology. American Psychological Association. 44 (1): 118–123. doi:10.1037/h0059240.
  3. Cline, Austin. "Flaws in Reasoning and Arguments: Barnum Effect & Gullibility". About.com. สืบค้นเมื่อ 12 November 2012.
  4. Meehl, Paul (1956). "Wanted – A Good Cookbook" (The American Psychologist): 266. ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Dutton, Denis. "The Cold Reading Technique". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 28 November 2012.
  6. 6.0 6.1 Claridge, G; Clark, K.; Powney, E.; Hassan, E. (2008). "Schizotypy and the Barnum effect". Personality and Individual Differences. 44 (2): 436–444. doi:10.1016/j.paid.2007.09.006.
  7. "Something for Everyone – The Barnum Effect". The Articulate CEO. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  8. Krauss-Whitbourne, Susan. "When it comes to personality tests, skepticism is a good thing". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  9. Nolan, Stuart. "The Forer Scam". TEDxSalford. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
  10. Rogers, Paul; Janice Soule (2009). "Cross-Cultural Differences in the Acceptance of Barnum Profiles Supposedly Derived From Western Versus Chinese Astrology". Journal of Cross-Cultural Psychology. สืบค้นเมื่อ 2012-11-11.[ลิงก์เสีย]
  11. Dickson, D.H.; Kelly, I.W. (1985). "The 'Barnum Effect' in Personality Assessment: A Review of the Literature". Psychological Reports. Missoula. 57 (1): 367–382. doi:10.2466/pr0.1985.57.2.367. ISSN 0033-2941. OCLC 1318827.
  12. Farley-Icard, Roberta Lynn (2007). "Factors that influence the Barnum Effect: Social desirability, base rates and personalization". ((cite journal)): Cite journal ต้องการ |journal= (help); |access-date= ต้องการ |url= (help)
  13. "Balance-Today – Astroology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-11. สืบค้นเมื่อ 28 November 2012.
  14. MacDonald, D.J.; Standing, L.G. (2002). "Does self-serving bias cancel the Barnum effect?". Social behavior and personality. 30 (6): 625–630. doi:10.2224/sbp.2002.30.6.625.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ปรากฏการณ์ฟอเรอร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?