For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ประตูชัยอรัญประเทศ.

ประตูชัยอรัญประเทศ

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ประตูชัยอรัญประเทศ
ที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย
ประเภทประตูชัย
ความสูง
  • ป้อม: 15 เมตร (49 ฟุต)
เริ่มก่อสร้าง22 สิงหาคม พ.ศ. 2482
สร้างเสร็จ19 กันยายน พ.ศ. 2482
อุทิศแด่ความกล้าหาญของทหารไทยที่สละชีพในกรณีพิพาทอินโดจีน

ประตูชัยอรัญประเทศ เป็นประตูผ่านเข้าออกพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณบ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ สร้างเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2482 โดยกรมยุทธโยธาทหารบกได้ระดมกำลังทหารช่างทำการสร้างทั้งกลางวันและและกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง แล้วเสร็จภายใน 29 วัน เสร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2482

ประตูชัยแห่งนี้สร้างตรงปลายสุดของถนนซึ่งอยู่คนละฟากฝั่งของกัมพูชา มีคลองลึกกั้นเขตแดน เชื่อมต่อเขตแดนกันโดยสะพานเหล็ก มีป้อม 2 ป้อม อยู่คนละฟากถนน มีลักษณะเหมือนกันเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า สูง 15 เมตร ที่ฐานประตูทำเป็นห้องรักษาการณ์หกเหลี่ยมด้านเท่า ด้านละ 1.50 เมตร ย่อมนเล็กเรียว ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นลำดับจนถึงยอดบนสุดซึ่งเป็นหอคอยหกเหลี่ยมด้านเท่า ด้านละ 0.30 เมตร มีลับแลบังตาสำหรับสังเกตการณ์ได้ทุกด้าน ข้างบนสุดหอคอยมีครุฑพ่าห์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย ประตูชัยแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมจากภัยสงครามถูกปล่อยให้เป็นซากปรักหักพัง มานานถึง 18 ปี และได้รับการบูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยคงรักษารูปลักษณ์เดิมไว้โดยเฉพาะที่ป้อมด้านซ้ายมือเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความกล้าหาญและเสียสละของทหารกล้า ร้อยโทสุรินทร์ ปั้นดี และเหล่าเพื่อนทหารผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งได้สละชีพและบาดเจ็บจากการสู้รบบริเวณชายแดนเพื่อชาติไว้ ณ ที่นั้น ส่วนด้านขวามือได้ก่อสร้างเป็นเสมาขนาดใหญ่หันหน้าไปทางกัมพูชาทำด้วยหินอ่อนสลักรูปครุฑไว้ด้านบนใต้ครุฑจารึกคำว่า ประเทศไทย ถัดลงมาได้อัญเชิญบทพระราชนิพนธ์สยามานุสสติ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจารึกไว้

สาเหตุที่ก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อ พ.ศ. 2482ฝรั่งเศสได้ขอให้ไทยลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทย-ฝรั่งเศส แต่ไทยเสนอเงื่อนไขว่าฝรั่งเศสต้องคืนดินแดนซึ่งไทยจำยกให้ฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ. 112 โดยไม่เป็นธรรมคืนให้แก่ไทยก่อนจึงจะลงนามในสนธิสัญญานั้น เงื่อนไขนี้ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนชาวไทยทั้งชาติ และต่างพร้อมใจกันสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นเป็นเสียงเดียวอีกทั้งยังพากันเดินขบวนเพื่อเรียกร้องดินแดนคืนทั่วประเทศ ประกอบกับสถานการณ์ด้านชายแดนไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศสทุกด้านเริ่มตรึงเครียด ทั้งสองฝ่ายต่างระดมกำลังทหารตำรวจสนามตรึงแนวชายแดนทุกด้าน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎรตามแนวชายแดน โดยเฉพาะด้านอรัญประเทศซึ่งป็นด่านที่สำคัญ เพราะมีการคมนาคมติดต่อกันได้สะดวกทั้งทางรถไฟและรถยนต์ นอกจากนี้ชายแดนด้านนี้ยังมีการชุมนุมพลทั้งสองฝ่ายอย่างหนาแน่นเพื่อส่งผลทางยุทธศาสตร์ กระทรวงกลาโหมจึงได้สร้างประตูชัยขึ้นใช้เป็นป้อมสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม อย่างไรก็ตาม การเจรจาขอให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและมณฑลบูรพาซึ่งแต่เดิมเป็นของไทยไม่เป็นผล จึงเกิดปะทะกันเมื่อเช้าตรู่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2484 ไทยถูกโจมตีก่อน และประตูชัยก็ตกเป็นเป้าหมายแรกของฝรั่งเศส การสู้รบครั้งนี้ไทยกับฝรั่งเศสต่อสู้กันอย่างเต็มความสามารถ ต่อมาได้มีการไกล่เกลี่ยสงบศึกกรณีพิพาทลงได้สำเร็จ ด้วยเหตุนี้ประตูชัยนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอรัญประเทศแล้วยังเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงความกล้าหาญของคนไทยที่สละชีพเพื่อชาติในกรณีพิพาทอินโดจีนอีกด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°39′40″N 102°33′01″E / 13.6612135°N 102.5502384°E / 13.6612135; 102.5502384

อ้างอิง

[แก้]
  • วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสระแก้ว พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542ง
  • ถวิล อยู่เย็น,พลตรี.ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสงครามเรียกร้องดินแดนจากอินโดจีนฝรั่งเศส.ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ พันเอก นิ่มชโยดม
  • เจริญ พงษ์พานิชย์,พลเอก.การยุทธที่บ้านสำโรงและจงกัล เขตกัมพูชาในสงครามอินโดจีน.ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีหลวงวีวัฒนโยธิน.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ประตูชัยอรัญประเทศ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?