For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บี.กริม เพาเวอร์.

บี.กริม เพาเวอร์

บี.กริม เพาเวอร์
ประเภททรัพยากร/พลังงานและสาธารณูปโภค
อุตสาหกรรมทรัพยากร
ก่อตั้งพ.ศ. 2421 (146 ปี)
ผู้ก่อตั้งแบรนด์อาร์ด กริม
แอร์วิน มุลเลอร์
สำนักงานใหญ่5 อาคาร ดร. เกฮาร์ด ลิงค์ ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.
บุคลากรหลัก
ปกรณ์ ทวีสิน(ประธานกรรมการ)
ฮาราลด์ ลิงก์ (ประธาน​เจ้าหน้าที่บริหาร)​
พนักงาน
1,750 Edit this on Wikidata
เว็บไซต์bgrimmpower.com

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: B.Grimm Power Public Company Limited; SET:BGRIM) เป็นบริษัทประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

ประวัติ

[แก้]
สยามดิสเป็นซารี่

ปี พ.ศ. 2421 นายแบรนด์อาร์ด กริม และเภสัชกรชาวเยอรมัน และนายแอร์วิน มุลเลอร์ พ่อค้าชาวออสเตรีย ได้ตั้งร้านขายยาสัญชาติเยอรมันแห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งห้างจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม และเคมีภัณฑ์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในชื่อว่า "สยามดิสเป็นซารี่"[1] บี.กริม ได้รับ พระราชทานตราแผ่นดินแบบอาร์มจากรัชกาลที่ 5 และได้รับการ แต่งตั้งให้เป็น "เภสัชกรหลวงแห่งราชสำนักไทย" และได้ร่วมกับตระกูลสนิทวงศ์ดำเนินโครงการขุดคลองรังสิตที่มีความยาว 1,500 กิโลเมตร ต่อมาบริษัทได้วางระบบโทรเลขในประเทศไทย เป็นครั้งแรก นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า บี.กริมแอนด์โก (B.Grimm & Co) เช่น กระบี่ แว่นตา จนถึงกระเบื้องที่ใช้สร้างวัดพระแก้ว เป็นต้น[2]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คนเยอรมันตกเป็นเชลยของรัฐบาลอังกฤษ ทำให้นายอดอล์ฟ ลิงก์และภรรยา นางเออร์ม่า พร้อมทั้งบุตรชายทั้งสอง คือ นายเฮอร์เบิร์ตและดร.เกฮาร์ด ถูกส่งไปค่ายกักกันในประเทศอินเดีย แต่ธุรกิจยังคงดำเนินต่อ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวลิงก์ จึงกลับมากรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินกิจการ ได้จัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในเขตวังบูรพา นายเฮอร์เบิร์ตได้เปิดบริษัทใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2492 ส่วนน้องชายซึ่งเป็นหุ้นส่วนได้ขยายกิจการในทวีปยุโรป ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2507 บริษัทเพิ่มแผนกที่ดูแลด้านวิศวกรรม อุปกรณ์การแพทย์ การผลิตไฟฟ้า โทรคมนาคม เครื่องปรับอากาศและ วิศวกรรมเครื่องกล และตั้งแต่ปี 2531 บริษัททำธุรกิจด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงร่วมทุนกับบริษัทอื่น[3]

บริษัทก่อตั้ง บริษัท บอร์เนียว (1993) จำกัด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นผู้ประกอบการการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายแรกของไทยจากโครงการโรงไฟฟ้า ABP1 (บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1 จำกัด) ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ร่วมและได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2541 จนกระทั่งในปี 2554 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด และเริ่มลงทุนโครงการไฟฟ้าในต่างประเทศ ต่อมาได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 ในชื่อ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) และได้ทำการระดมทุนสาธารณะโดยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560[4] โดยมีทุน จดทะเบียน 5,400,000,000 บาท

ธุรกิจ

[แก้]

ไฟฟ้าและพลังงาน

[แก้]
โรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ของ บริษัท กริม ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด ที่จังหวัดนครปฐม

บี.กริม เพาเวอร์ มีคู่สัญญาขายไฟฟ้าดังนี้

  • สัญญาขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ภายใต้ โครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP
  • สัญญาขายไฟฟ้าและไอน้ำกับลูกค้า อุตสาหกรรมผ่านโครงข่ายไฟฟ้าและไอน้ำ ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 130 ราย ซึ่งตั้งอยู่ในนิคม 6 แห่งคือ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี, นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี, นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี, นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ มาบตาพุด
  • สัญญาขายไฟฟ้ากับ กฟภ. ภายใต้ โครงการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP จากโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์, โครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ. 2560 และโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม
  • สัญญาขายไฟฟ้ากับ กฟน. ภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหรับหน่วยงานราชการและ สหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ. 2560

บี.กริม เพาเวอร์ เริ่มลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนตั้งแต่ปี 2558 ได้ลงทุนในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2542 และลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป. ลาวตั้งแต่ปี 2558 และธุรกิจสายส่งและจำหน่ายไฟฟ้า ในประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2561

จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 บี.กริม เพาเวอร์ มีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 19 แห่ง, Backup for power trading 1 แห่ง, พลังงานแสงอาทิตย์ 25 แห่ง, พลังน้ำ 9 แห่ง, พลังลม 2 แห่ง และโรงงานขยะอุตสาหกรรม 1 แห่ง สำหรับสัดส่วนรายได้ บริษัทมีรายได้การขายไฟฟ้าให้ กฟผ. ร้อยละ 65.1, รายได้การขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศไทย ร้อยละ 23.0, รายได้การขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนามร้อยละ 2.8, รายได้การขายไฟฟ้าให้ กฟภ. / กฟน ร้อยละ 1.8, รายได้การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าลาวร้อยละ 0.6 และรายได้การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าเวียดนามร้อยละ 3.7[5]

ระบบภายในอาคารและอุตสาหกรรม

[แก้]

บี.กริม เป็นพันธมิตรกับ บริษัท แคร์เรียร์ ประเทศไทย ผู้จัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ มีบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องกับด้านการผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ คือ บี.กริม แอร์คอนดิชั่นนิ่ง, บี.กริม แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด และแคเรียร์ ไทยแลนด์ รวมถึงการร่วมกันกับบริษัท เบเจอร์ บี.กริม (ประเทศไทย) จำกัด

กลุ่มธุรกิจสุขภาพ

[แก้]

บริษัทเป็นผู้จัดหาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ป้อนตลาด โดยร่วมทุนกับ 4 บริษัท คือ เมอร์ค ประเทศไทย, เกท์ทิงเก ประเทศไทย, ไซส์ส ประเทศไทย และซีเมนส์ ประเทศไทย

ธุรกิจไลฟ์สไตล์

[แก้]

นำเข้าแบรนด์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและนำเข้าแบรนด์หรู จากยุโรปเช่น Boucheron, Nina Ricci, LA, Martina Valmont, ร้านปารีสสปา, ร้านอาหาร โปรวองซ์ (Provence) รวมถึงการจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ด้านงานศิลปะ ภายใต้ เดอะเม็ท กรุงเทพ (MET Store Thailand) รวมทั้งนำเข้าเครื่องเคลือบนิมเฟนเบิร์กประติมากรรมชั้นสูงจากฝีมือมนุษย์ จากประเทศเยอรมนี และได้ก่อตั้ง โปโล แอนด์ อีเควสเทรียน คลับ

กลุ่มธุรกิจคมนาคม

[แก้]

บี.กริมได้ร่วมทุนกับ ซีเมนส์ เป็นผู้จัดระบบให้บริการแบบครบวงจรแก่บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (BTS) และ รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) และยังเป็นดำเนินโครงการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างสุวรรณภูมิเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพ (Airport Link) และร่วมทุนกับบริษัทเดินเรือ มี 3 บริษัท คือ บริษัท บี.กริม มาลิไทม์, พีซีเอ็ม ทรานสปอร์ต แอนด์ อินดัสเตรียล ซัพพลาย และบริษัท แพนเรลล์ ประเทศไทย

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

[แก้]

บริษัทเริ่มต้นสร้างอาคารสำนักงาน 20 ชั้น ชื่อ อัลม่า ลิงก์ บนถนนชิดลม ในปี 2532 และอาคาร ดร.เกฮาร์ด ลิงก์ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ[6]

กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล

[แก้]

บริษัททำเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาสินค้ามาสิ (Masii) และการบริการทางการด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน เก็ตมี (Getmii)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "น้อมนำพระราชดำริ ร.9 ธุรกิจ บี.กริม สุจริต-ไม่เอาเปรียบ". ประชาชาติธุรกิจ. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พรพรรณ ปัญญาภิรมย์ (12 ตุลาคม 2560). "HARALD LINK ถอดรหัสอาณาจักรบี.กริม สูตรบริหารองค์กรร้อยปี". ฟอบส์ไทยแลนด์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประวัติของบี.กริม". บี.กริม. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "'บีกริม' เทรดวันแรกเหนือจอง 5%". กรุงเทพธุรกิจ. 20 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "รายงานประจำปี 2562". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ประกายดาว แบ่งสันเทียะ (18 กุมภาพันธ์ 2561). ""บี.กริม" ยุคโกลบอล เคล็ดลับดันธุรกิจแสนล้าน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บี.กริม เพาเวอร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?