For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี.

ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี

ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani
คณะผู้นำฮัสซัน ตอยิบ, มะแซ อุเซ็ง, สะแปอิง บาซอ, อับดุลเลาะ มูนิร, ดุลเลาะ แวมัน (อุซตาซเลาะห์), อับรอเซะฮ์ ปาแรรูเปาะฮ์, อับดุลกานิน กะลูปิง, อิสมาแอ โต๊ะยาหลง, อาดือนัน มามะ, บอรอติง บินบือราเฮง แลพยูซุฟ รายาหลง (อุซตาซอิสมาแอ) และคนอื่น ๆ
กองบัญชาการรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ภูมิภาคปฏิบัติการปาตานี
แนวคิดชาตินิยมมาเลย์
ญิฮาด
แบ่งแยกดินแดนปาตานี
การโจมตีเด่นความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ขนาด200 (เป้าหมาย)[ต้องการอ้างอิง]
ฝ่ายตรงข้ามกองทัพภาคที่ 4

ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (มลายู: Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani[1][2]; อังกฤษ: Patani Malayu National Revolutionary Front) หรือบีอาร์เอ็นก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503 โดยอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน กลุ่มนี้วางแผนก่อเหตุจับตัวจังหวัดในวันฮารีรายอ 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 แต่เจ้าหน้าที่สืบทราบล่วงหน้าจึงถูกจับกุม โดยหะยีอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับกุมด้วย และถูกจำคุกจนถึง พ.ศ. 2508 เมื่อพ้นโทษ หะยีอามีนจึงลี้ภัยไปอยู่มาเลเซียจนเสียชีวิต

บีอาร์เอ็นมีความเข้มแข็งมาก รบแบบกองโจร พ.ศ. 2511 ได้จัดตั้งหน่วยทหารลาดตระเวนขนาดเล็กใช้ชื่อว่า RKK และ กองกำลังติดอาวุธปลดแอกอิสลามปัตตานี (มลายู: Angkatan Bersenjata Revolusi Patani : ABRIP[3][4]; อังกฤษ: Patani Islamic Liberation Armed Forces) ซึ่งเป็นทหารที่ถูกฝึกมาจากหน่วยรบพิเศษของประเทศอินโดนีเซีย เคลื่อนไหวอยู่ในแถบ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

ความแตกแยกในองค์กร

[แก้]

พ.ศ. 2520 เกิดความแตกแยกในหมู่แกนนำบีอาร์เอ็น จน พ.ศ. 2522 อามีนแยกตัวไปตั้ง บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต พ.ศ. 2526 มีการประชุมสมัชชา เลือกผู้นำใหม่คือ เปาะนูซา ยาลิล และตั้งชื่อขบวนการใหม่ว่าบีอาร์เอ็น คองเกรส ส่วนอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน ผู้นำเดิมหมดอำนาจลงโดยสิ้นเชิง จึงรวบรวมกำลังไปตั้งองค์กรใหม่เรียก บีอาร์เอ็น อูลามา

บีอาร์เอ็น คองเกรส

[แก้]

เป็นกองกำลังติดอาวุธ มีเป้าหมายเพื่อก่อกวนและสร้างปัญหาทางสังคมจิตวิทยา เพื่อดำรงสภาพของตนไว้ เน้นการรบแบบจรยุทธ์ ไม่สร้างที่พักถาวร แต่ใช้การหลบหนีข้ามพรมแดน ฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครอง และขู่กรรโชกส่วนแบ่งจากการซื้อขายที่ดิน การสนับสนุนจากต่างประเทศมีน้อย มีความสัมพันธ์กับขบวนการอื่นในต่างประเทศ เช่น กลุ่มโมโร ขบวนการอาเจะฮ์เสรี และกลุ่มที่เคลื่อนไหวในหมู่เกาะโมลุกกะ

ศักยภาพการเคลื่อนไหวขององค์กรลดลงหลังไทยปรับเปลี่ยนนโยบายเมื่อ พ.ศ. 2523 สถานะปัจจุบัน ประธานคือ รอสะ บูราซอ กำลังทหารเหลืออยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่กระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต

[แก้]

ความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ไม่ชัดเจน การข่าวของไทยเชื่อว่า เป็นกลุ่มที่อิงผู้นำทางศาสนาและนักการเมือง โดยใช้การเคลื่อนไหวทางศาสนาเป็นเกราะกำบังเพื่อขยายเครือข่ายสู่กลุ่มเยาวชน เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุด จากคำอ้างของกลุ่ม มีสมาชิกเป็นแสนคน และเป็นผู้บงการขบวนการก่อความไม่สงบสุขอาร์เคเค

บีอาร์เอ็น อูลามา

[แก้]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Free Patani ขออิสรภาพแก่ปาตานี)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  2. Ummah Patani. "Pengistiharan Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (B.R.N.) Ke-4". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  3. "Free Patani ขออิสรภาพแก่ปาตานี)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  4. Ummah Patani. "Pengistiharan Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (B.R.N.) Ke-4". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  • สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. สันติภาพในเปลวเพลิง. กทม. เนชั่นบุกส์. 2547
  • แจ๊ค สโลโมชั่น. แสงสว่างแห่งอิสรภาพ. ปัตตานี. โจอี้ พับบลิชชิ่ง. 2555
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?