For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for พิธีบายศรีสู่ขวัญ.

พิธีบายศรีสู่ขวัญ

จิล ไบเดินถือด้ายขณะเข้าร่วมทำพิธีบายศรีในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ. 2558

พิธีบายศรีสู่ขวัญ บางครั้งก็เรียกว่า พิธีบายศรี, พิธีสู่ขวัญ, พิธีทำขวัญ, พิธีรับขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทย และคนลาว ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท [1]

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญ (ไข่ต้ม) เสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายประเภท เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ (ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ) [2] มีการพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผู้รับขวัญ ผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอขวัญ

ประวัติ

[แก้]

บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์[ต้องการอ้างอิง] พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ประเภทของบายศรี

[แก้]

ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า "ใบสี", "ใบสรี" หรือ "ใบสีนมแมว" และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. บายศรีหลวง
  2. บายศรีนมแมว
  3. บายศรีปากชาม
  4. บายศรีกล้วย

ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า "พาบายศรี", "พาขวัญ" หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า "ขันบายศรี" ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. พาขวัญ
  2. พาบายศรี
  3. หมากเบ็ง

ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า "บายแสร็ย" ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. บายแสร็ยเดิม (บายศรีต้น)
  2. บายแสร็ยเถียะ (บายศรีถาด)
  3. บายแสร็ตจาน (บายศรีปากชาม)

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พิธีบายศรีสู่ขวัญ
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
พิธีบายศรีสู่ขวัญ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?