For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บาปี.

บาปี

อูบะเป (U ba pe) เป็นนักชาตินิยมรุ่นแรกของพม่าที่ต่อสู้เพื่อให้พม่ามีสิทธิปกครองตนเองและแยกพม่าออกมาจากอินเดีย บทบาททางการเมืองของเขาลดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติ

[แก้]

อูบะเปเกิดเมื่อ พ.ศ. 2428 สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตาในอินเดีย หลังจากนั้นได้มาเป็นนักหนังสือพิมพ์ เขาได้ร่วมมือกับอูเมฮาวจัดตั้งยุวพุทธิกสมาคมใน พ.ศ.2449 เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนาและวัฒนธรรมพม่าที่เสื่อมโทรมไป สมาคมนี้มีบทบาทในการรณรงค์ให้ชาวต่างชาติถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปในวัดทางพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2460 ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ชาวพม่า ในปี พ.ศ. 2460 นี้เอง อูบะเปและอูเมฮาวเป็นตัวแทนพม่าไปเจรจากับอังกฤษ เรียกร้องให้มีการปกครองตนเองและแยกออกมาจากอินเดีย มีสถานะเทียบเท่าอินเดียในจักรวรรดิอังกฤษ แต่เซอร์เรจินัลด์ แครดด็อกได้ร่างแผนขึ้นมาใน พ.ศ. 2461 ไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปการปกครองในพม่า ควรให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไปก่อน กลุ่มสายกลางในยุวพุทธิกสมาคมยอมรับหลักการนี้แต่กลุ่มคนหนุ่มรวมทั้งอูบะเปไม่เห็นด้วย พวกเขาจึงเดินทางไปอังกฤษเพื่อคัดค้านแผนการของแครดด็อกใน พ.ศ. 2462 และ พ.ศ. 2463 จนอังกฤษยอมให้พม่าปกครองในแบบรัฐบาลคู่เช่นเดียวกับอินเดีย

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2463 ยุวพุทธิกสมาคมได้สนับสนุนให้นักศึกษาประท้วงพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งมีข้อบังคับที่เข้มงวดเกินไปสำหรับการเข้าศึกษาของนักศึกษาพม่า พร้อมกันนั้น ยุวพุทธิกสมาคมได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภาร่วมของสมาคมชาวพม่าเพื่อดึงความร่วมมือจากชาวพม่าที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ในที่สุดการประท้วงพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้ลุกลามเป็นการประท้วงการปกครองของอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2465 มีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในพม่าเป็นครั้งแรก สมาชิกสภาร่วมของสมาคมชาวพม่าส่วนใหญ่ต่อต้านโดยไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง พระสงฆ์ออกมาคัดค้านการเลือกตั้งเช่นกัน แต่สมาชิกของสภาร่วมของสมาคมชาวพม่า 21 คนรวมทั้งอูบะเปตัดสินใจลงรับเลือกตั้ง สมาชิกกลุ่มนี้จึงเป็นที่รู้จักในนามพรรคชาตินิยมที่ได้ 28 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 พ.ศ. 2468 พรรคที่ได้รบการเลือกตั้งมีพรรคการปกครองตนเองของอู ปู พรรคชาตินิยมของอูบะเป พรรคสวราชของอู ปอทุน และ ดร.บะมอ ต่อมาทั้งสามพรรคได้รวมกันเป็นพรรคประชาชน อูบะเปได้เป็นประธานสภา พรรคนี้เรียกร้องให้ยกเลิกภาษีรายหัว ยกเลิกหนี้สินที่พม่ามีต่ออินเดีย และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ชาวพม่า

ใน พ.ศ. 2472 รัฐบาลอังกฤษส่งเซอร์จอห์น ไซมอนมาประเมินผลการปกครองแบบรัฐบาลคู่เพื่อหาทางปรับปรุงการปกครองในพม่า นักชาตินิยมในพม่าแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายของอูบะเปต้องการแยกพม่าออกมาจากอินเดีย ส่วนสภาร่วมของสมาคมชาวพม่า พรรคอีก 2 พรรคและพระสงฆ์คัดค้านการแยกพม่าออกมาจากอินเดีย ต่อมา สภานิติบัญญัติได้ลงมติแยกพม่าออกจากอินเดียเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2473 อูบะเปได้เป็นตัวแทนพม่าเข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมอินเดียในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2473 และการประชุมโต๊ะกลมพม่า พ.ศ. 2474 ซึ่งอูบะเปยืนยันที่จะให้พม่ามีสถานะเป็นอาณาจักรเทียบเท่าอินเดียอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษแต่การประชุมทั้งสองครั้งก็ไม่มีมติใด ๆ ออกมา ในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ผลปรากฏว่านักการเมืองฝ่ายที่จ่อต้านการแยกพม่าออกจากอินเดียได้คะแนนมากกว่าฝ่ายที่ต้องการแยก แต่ไม่มีฝ่ายใดได้เสียงข้างมาก สุดท้ายทั้งสองผ่ายยอมรับข้อเสนอเพื่อการประนีประนอมของรามรี อู เมาเมาที่ให้พม่าอยู่กับอินเดียไปพลางก่อน แต่มีสิทธิแยกตัวออกมาได้เมื่อต้องการ อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุมหลักการในการร่างรัฐธรรมนูญ ดร.บะมอกลับถอนตัวและเสนอให้พม่ารวมกับอินเดียต่อไปแบบไม่มีเงื่อนไข ทำให้ที่ประชุมไม่สามารถลงมติได้ ในที่สุด รัฐสภาอังกฤษตัดสินในวันที่ 11ธันวาคม พ.ศ. 2477 ให้แยกพม่าออกมาจากอินเดีย หลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปกครองพม่า พ.ศ. 2478 ท่าทีของอูบะเปในการต่อต้านอังกฤษจึงลดลง และยอมรับตำแหน่งรัฐมนตรี แต่หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ.2479 เขาได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านและได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของอูปูใน พ.ศ. 2482 แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งจึงถูกปลดออกในพ.ศ. 2483 ต่อมาเมื่ออูซอขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาล อูบะเปถูกจับในข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศเมื่อเดือนตุลาคมพ.ศ. 2484 เขาได้รับอิสรภาพอีกครั้งเมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า แต่เขาก็ไม่ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นจนสิ้นสุดสงคราม

เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองพม่าอีกครั้ง อูบะเปร่วมอยู่ในคณะของอองซานในการเจรจาเพื่อเรียกร้องเอกราชของพม่า แต่ในที่สุดก็มีความขัดแย้งกับฝ่ายสังคมนิยมในสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์จนต้องลาออกจากสภาบริหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชและมีการเลือกตั้ง อูบะเปจัดตั้งสันนิบาตสหภาพพม่าเข้าร่วมการเลือกตั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกจับกุมใน พ.ศ. 2497 และถูกปล่อยตัวเมื่อรัฐบาลทหารของเนวินเข้ามาบริหารประเทศใน พ.ศ. 2501 อูบะเปลงสมัครรับเลือกตั้งใน พ.ศ. 2503 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นจึงวางมือทางการเมืองไป

อ้างอิง

[แก้]

วิไลเลขา ถาวรธนสาร. อูบาปี ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 386 - 392

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บาปี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?