For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์.

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ภาพประกอบ The alien invasion จากนวนิยายเรื่อง เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส โดยเอช. จี. เวลส์ ในปี ค.ศ. 1897

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟ เป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ[1] บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มนวนิยายประเภทจินตนิยาย (Speculative Fiction - กลายมาจาก SF ซึ่งเป็นอักษรย่อของ Science Fiction) ซึ่งประกอบด้วยสองผลลัพธ์หลัก ๆ  ได้แก่ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ และ นิยายจินตนิมิต

ประเภท

[แก้]

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้ว

[แก้]

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้ว (Hard Science Fiction) เป็นแนวหลักดั้งเดิมของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จริง ๆ ผู้วางรากฐานของนิยายแนวนี้ได้แก่ เอช. จี. เวลส์,[2] โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์, อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็นต้น บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้นั้น เสนอมุมมองของสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีบางอย่าง ที่มีแนวโน้มว่าสามารถเป็นไปได้จริงในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแสดงสภาพสังคมในอนาคตอันใกล้[3] ตามหลักของอนาคตศาสตร์ (Futurology) และสาขาวิชาที่ใช้ในการมองอนาคตชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีประโยชน์มาก และสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริง นักอนาคตศาสตร์และนักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ในเมืองไทยได้แก่ ชัยวัฒน์ คุประตกุล และวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน

[แก้]

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science Fiction) มีรูปแบบหลากหลาย โดยมีความถูกต้องหรือความเป็นไปได้ของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาประกอบเรื่องอยู่ในระดับหนึ่ง อาจจะกล่าวถึงทฤษฎี หรือสิ่งประดิษฐ์ ต่าง ๆ ที่ผู้ประพันธ์จินตนาการขึ้นมาบ้าง แต่เป็นที่ยอมรับได้ของผู้อ่าน เสน่ห์ของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์แบบอ่อน คือความยืดหยุ่นของ ฉาก เนื้อเรื่อง และตัวละคร ซึ่งมีให้เล่นได้มากกว่าบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้ ในกลุ่มของนิยายชนิดนี้ ฉากที่มักจะปรากฏคืออนาคตหรืออดีต “อันไกลโพ้น” ซึ่งเอื้อต่อการประดิษฐ์โครงเรื่องของผู้เขียน การเดินทางผ่านเวลาเป็นไปได้อย่างอิสระ การเดินทางผ่านไฮเปอร์สเปซ มีการเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ตัวอย่างบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อนมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น ชายในชุดแอสเบสโตส ไปจนถึง Stainless Steel Rat ซึ่งไม่ได้เน้นที่เทคโนโลยีมากนัก แต่เน้นที่ตัวเอกของเรื่องแทน (พระเอกเก่งจนเกินจริง แต่สนุกน่าติดตาม). นิยายชุดสถาบันสถาปนา ที่นักอ่านชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งนำเสนอถึงผลกระทบจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต่อมนุษยชาติ อาจจัดอยู่ระหว่าง บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้ กับ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต

[แก้]

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต (Science Fantasy) เป็น “ตัวเชื่อม” ระหว่างพื้นที่ที่ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ มาบรรจบกับ นิยายจินตนิมิต นิยายกลุ่มนี้ ไม่เน้นเรื่องความถูกต้อง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปได้ ของหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประกอบตัวเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นเรื่องความกลมกลืนของตัวเรื่อง บุคลิกและความสัมพันธ์ของตัวละคร ความสนุกสนานและน่าติดตาม สตาร์วอร์ส จัดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของนวบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต ซึ่งมักจะอาศัยฉากอวกาศและเทคโนโลยี เข้ามาจับตัวเรื่อง แต่โครงของเรื่องนั้น มีพ่อมด เจ้าชาย เจ้าหญิง ฮีโร และตัวร้าย (ดาร์ค ลอร์ด) เช่นเดียวกับนิยายจินตนิมิตอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. von Thorn, Alexander (August 2002). Aurora Award acceptance speech (Speech). Calgary, Alberta.
  2. James Blish, More Issues at Hand, Advent: Publishers, 1970. Pg. 99. Also in Jesse Sheidlower, "Dictionary citations for the term «hard science fiction»". Jessesword.com. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008. ISBN 9780911682106.
  3. Heinlein, Robert A.; Cyril Kornbluth; Alfred Bester; Robert Bloch (1959). "Science Fiction: Its Nature, Faults and Virtues". The Science Fiction Novel: Imagination and Social Criticism. University of Chicago: Advent Publishers. ISBN 9780911682021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?