For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย.

บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย

สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออลล์อินเดีย (All India Institute of Medical Sciences) นิวเดลี สถาบันแพทยศาสตร์อันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ [1]

รัฐธรรมนูญอินเดียระบุมุมมองต่อ บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย (อังกฤษ: Healthcare in India) ว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลประจำรัฐและดินแดนสหภาพ มากกว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลส่วนกลาง ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้รัฐทุกรัฐมีความรับผิดชอบที่ต้อง "ยกระดับการได้รับสารอาหารและมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในรัฐ และเพิ่มพูนการสาธารณสุขเป็นหนึ่งในหน้าที่หลัก" ("raising the level of nutrition and the standard of living of its people and the improvement of public health as among its primary duties")[2][3]

นโยบายสุขภาพแห่งชาติ (The National Health Policy) ได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาอินเดียในปี 1983 และมีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2002 และอีกครั้งในปี 2017 ข้อแก้ไขสี่ประการสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปในฉบับปรับปรุงปี 2017 ระบุถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นไปที่ภาระที่เพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อ, ภาวะฉุกเฉินของอุตสาหกรรมบริการสุขภาพที่กำลังเติบโต, กรณีของค่าใช้จ่ายที่ไร้เสถียรภาพจากค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่กำลังเพิ่มขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติที่จะช่วยพยุงความสามารถทางการเงินของการสาธารณสุขได้[4]

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วกลับเป็นส่วนบริการสุขภาพของเอกชนที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริการสุขภาพส่วนใหญ่ของประเทศอินเดีย และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ส่วนใหญ่มาจากผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วยโดยตรงมากกว่าที่จะมาจากการทำประกันสุขภาพ[5] Government health policy has thus far largely encouraged private sector expansion in conjunction with well-designed but limited public health programmes.[6] เมื่อปี 2018 รัฐบาลอินเดียได้เปิดตัวโครงการประกันสุขภาพโดยรัฐ (government-funded health insurance) ภายใต้ชื่อ อายุษมัน ภารต (Ayushman Bharat)

ธนาคารโลกระบุว่าค่าใช้จ่ายส่วนการแพทย์ของประเทศอินเดียคิดเป็น 3.89% ของจีดีพีประเทศ (ปี 2015)[7] จากใน 3.89% เป็นค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของรัฐบาลคิดเป็น 1% ของจีดีพีเท่านั้น[8] ในขณะที่ค่าใช้จ่ายโดยผู้ป่วยเอง (out-of-pocket) คิดเป็นอัตราส่วน 65.05% ของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์รวมในปี 2015[9]

ระบบบริการสุขภาพ

[แก้]
โรงพยาบาลโอสมาเนียเจเนรัล (Osmania General Hospital) ไฮเดอราบาด

บริการสุขภาพของรัฐ

[แก้]

บริการสุขภาพของรัฐนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายและให้การสนับสนุนโดยรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน (below the poverty line)[10] ส่วนงานสาธารณสุขอินเดียคิดเป็น 18% ของการบริการผู้ป่วยนอก (Ambulatory care) ทั้งหมด และเป็น 44% ของการบริการผู้ป่วยใน[11] ประชาชนชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในอินเดียมีแนวโน้มที่จะใช้บริการสุขภาพสาธารณะของรัฐต่ำกว่าประชาชนที่มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า[12] นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีและผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะใช้บริการสุขภาพสาธารณะมากกว่า[12] ดั้งเดิมแล้วระบบสาธารณสุขของอินเดียพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือและให้บริการทางการแพทย์แก่ปนะชาชนทุกคนโดยไม่สนใจวรรณะหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ[13] อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาระหว่างระบบบริการสุขภาพสาธารณะกับของเอกชนมีความแตกต่างกันสูงมากในแต่ละรัฐของประเทศอินเดีย จากการสำรวจพบว่าครัวเรือนกว่า 57% ทั่วประเทศเห็นตรงกันว่าที่เลือกใช้ระบบบริการสุขภาพของเอกชนมากกว่าที่จะของสาธษรณะเพราะคุณภาพการบริการสุขภาพของสาธารณะอินเดียนั้นอยู่ในระดับที่แย่ (poor)[14] สาเหตุหนึ่งเนื่องด้วยการบริการสุขภาพสาธารณะจำนวนมากนั้นให้บริการในพื้นที่ชนบท และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ต่างก็ไม่เต็มใจหรือไม่อยากที่จะไปประกอบอาชีพในพื้นที่ห่างไกล บุคลากรทางการแพทยฺส่วนใหญ่ในระบบของการดูแลสุขภาพสาธารณะจึงเป็นแพทย์ใช้ทุน (intern) ที่ประสบการณ์ไม่สูงและขาดแรงจูงใจในการทำงานที่ถูกบังคับต้องมาใช้ทุนในส่วนบริการสุขภาพสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในการศึกษาแพทยศาสตร์เท่านั้น จึงส่งผลให้ระบบการดูแลสุขภาพสาธารณะของอินเดียในระดับชาติอยู่ในคุณภาพที่ต่ำ เหตุผลใหญ่อื่น ๆ รวมถึงระยะทางระหว่างโรงพยาบาลรัฐกับพื้นที่อยู่อาศัย, เวลารอพบแพทย์ที่นาน และเวลาในการให้บริการที่ไม่สะดวกหรืออำนวยต่อผู้ป่วย[14]

หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2014ซึ่งได้นเรนทระ โมทีมานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดีย รัฐบาลได้เปิดตัวแผนการสร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health care) ในระดับชาติขึ้นภายใต้ชื่อ ส่วนงานประกันสุขภาพระดับชาติ (National Health Assurance Mission) ซึ่งจะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับยารักษาโรคและการรักษาทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงประกันสุขภาพสำหรับกรณีร้ายแรงต่าง ๆ [15] ในปี 2015 การดำเนินงานของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องชะงักลงด้วยความกังวลเกี่ยวกับงบการคลัง[16] ในปี 2018 รัฐฐาลได้ประกาศโครงการ อายุษมัน ภารต (Ayushman Bharat) ที่จะครอบคลุมประชากรยากจนกว่าหนึ่งร้อยล้านครอบครัว (คิดเป็นประมาณ 500,000,000 คน – 40% ของงประชากรทั้งประเทศ) ซึ่งจะใช้ค่าใช้จ่ายกว่า 1.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี การจัดหาเงินทุนบางส่วนอาจมาจากภาคเอกชน[17]

บริการสุขภาพของเอกชน

[แก้]
โรงพยาบาลไซฟี (Saifee Hospital) มุมไบ

นับตั้งแต่ปี 2005 บริการสุขภาพส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียอยู่ในการดูแลของบริการสุขภาพเอกชน หรือจากโครงการร่วมกับภาคเอกชน สถานพยาบาลทั้งประเทศคิดเป็นโรงพยาบาลเอกชน 58%, เตียง 29% ในทุกสถานพยาบาล และแพทย์ 81% ของทั้งประเทศทำงานให้กับสถานพยาบาลเอกชน[11] ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพครอบครัวแห่งชาติ-3 (National Family Health Survey-3) พบว่าบริการสุขภาพส่วนเอกชนคิดเป็นบริการสุขภาพส่วนใหญ่ของประชาชน 70% ในเขตเมือง และ 63% ในชนบท[14] งานวิจัยโดยสถาบัน IMS Institute for Healthcare Informatics เมื่อปี 2013 ทำการศึกษาในกว่า 14,000 ครัวเรือนใน 12 รัฐ พบว่าการใช้บริการสุขภาพของเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน[18] ส่วนคุณภาพของบริการสุขภาพเอกชนนั้น สัญชัย พสุและคณะ (Sanjay Basu et al.) พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ของเอกชนมีแนวโน้มที่จะใช้เวลากับผู้ป่วยต่อคนนานกว่าของภาครัฐ[19] อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่สูงนี้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้ป่วย ส่งผลให้หลายครัวเรือนประสบปัญหาหายนะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Catastrophic Health Expenditure) ซึ่งคือค่าใช้จ่ายส่วนบริการสุขภาพของครัวเรือนที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน[4] และค่าใช้จ่ายในส่วนเอกชนนั้นกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา[20] ครัวเรือนยากจน 35% ของอินเดียประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายสูงนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงภาวะอันตรายของอินเดียในขณะนี้[4] ด้วยค่าใช้จ่ายส่วนสุขภาพของรัฐบาลเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีลดต่ำลงทุกปี และค่าใช้จ่ายสุขภาพส่วนเอกชนที่พุ่งสูงขึ้น ประชาชนที่ยากจนจึงถูกทิ้งไว้กับตัวเลือกทางการแพทย์ที่น้อยลงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน[4] ประกันสุขภาพของเอกชนในประเทศอินเดียพบมากผ่านแผนการประกันสุขภาพของรัฐบาล ข้อมูลจากธนาคารโลกเมื่อปี 2010 ระบุว่าประชากรอินเดีย 25% มีแผนประกันสุขภาพของตนเอง[21] ในขณะที่งานวิจัยของรัฐบาลอินเดียเมื่อปี 2014 พบว่ามีประชากรแค่เพียง 17% เท่านั้นที่ทำประกันสุขภาพ[22] บริการสุขภาพของเอกชนในอินเดียโดยทั่วไปมักให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าแต่ด้วยราคาที่สูงจนไร้เหตุผล ด้วยว่าอินเดียไม่มีหน่วยงานราชการที่ควบคุมหรือองค์กรทางกฎหมายที่เป็นกลางในการกำกับดูแลการ ประพฤติผิดทางการแพทย์ (medical malpractices) ในรัฐราชสถาน บุคลากรทางการแพทย์ 40% ไม่มีวุฒิแพทยศาสตร์บัณฑิต (medical degree) และ 20% ไม่ได้จบชั้นมัธยมศึกษา[20] เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2012 รายการสัตยเมว ชยเต (Satyamev Jayate) ของนักแสดงชื่อดังอามีร์ ข่าน (Aamir Khan) ได้ออกอากาศตอน "หรือระบบบริการสุขภาพจะต้องการการรักษา?" ("Does Healthcare Need Healing?") ซึ่งพูดถึงประเด็นค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างไร้เหตุผลและการประพฤติผิดทางการแพทย์ของโรงพยาบาลและคลินิกเอกชนในอินเดีย กลุ่มบริษัท นารายันเฮลธ์ (Narayana Health) ผู้ให้บริการสุขภาพเอกชนเจ้าใหญ่ในอินเดียจึงออกโครงการที่จะลดราคาการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจลงที่ 800 ดอลล่าร์สหรัฐเพื่อตอบโต้[23]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "All India Institute of Medical Sciences, New Delhi". Top Universities (ภาษาอังกฤษ). 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  2. "National Health Policy 2017" (PDF). Ministry of Health and Family Welfare. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
  3. Jugal Kishore (2005). National health programs of India: national policies & legislations related to health. Century Publications. ISBN 978-81-88132-13-3. สืบค้นเมื่อ 2 September 2012.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Sekher, T.V. "Catastrophic Health Expenditure and Poor in India: Health Insurance is the Answer?" (PDF). iussp.org. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
  5. Berman, Peter (2010). "The Impoverishing Effect of Healthcare Payments in India: New Methodology and Findings". Economic and Political Weekly. 45 (16): 65–71. JSTOR 25664359.
  6. Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 60. ISBN 978-1-137-49661-4.
  7. "Health expenditure, total (% of GDP)". World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  8. "Domestic general government health expenditure (% of GDP)". World Bank.
  9. "Out-of-pocket expenditure (% of current health expenditure)". World Bank.
  10. Rajawat, K. Yatish (January 12, 2015). "Modi's ambitious health policy may dwarf Obamacare". qz.com. Quartz – India. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
  11. 11.0 11.1 Thayyil, Jayakrishnan; Jeeja, MathummalCherumanalil (2013). "Issues of creating a new cadre of doctors for rural India". International Journal of Medicine and Public Health (ภาษาอังกฤษ). 3 (1): 8. doi:10.4103/2230-8598.109305.
  12. 12.0 12.1 Dey, DK; Mishra, V (2014). "Determinants of Choice of Healthcare Services Utilization: Empirical Evidence from India". Indian Journal of Community Health. 26 (4): 357–364.
  13. Chokshi, M; Patil, B; Khanna, R; Neogi, S B; Sharma, J; Paul, V K; Zodpey, S (2016). "Health systems in India". Journal of Perinatology. 36 (Suppl 3): S9–S12. doi:10.1038/jp.2016.184. ISSN 0743-8346. PMC 5144115. PMID 27924110.
  14. 14.0 14.1 14.2 International Institute for Population Sciences and Macro International (September 2007). "National Family Health Survey (NFHS-3), 2005 –06" (PDF). Ministry of Health and Family Welfare, Government of India. pp. 436–440. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-12-08. สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.
  15. "India's universal healthcare rollout to cost $26 billion". Reuters. 2014-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  16. Aditya Kalra (27 March 2015). "Exclusive: Modi govt puts brakes on India's universal health plan". Reuters India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  17. "INDIA IS INTRODUCING FREE HEALTH CARE—FOR 500 MILLION PEOPLE". Newsweek. 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  18. Ramya Kannan (30 July 2013). "More people opting for private healthcare". The Hindu. Chennai, India. สืบค้นเมื่อ 31 July 2013.
  19. Basu, Sanjay; Andrews, Jason; Kishore, Sandeep; Panjabi, Rajesh; Stuckler, David (2012-06-19). "Comparative Performance of Private and Public Healthcare Systems in Low- and Middle-Income Countries: A Systematic Review". PLOS Medicine. 9 (6): e1001244. doi:10.1371/journal.pmed.1001244. ISSN 1549-1676. PMC 3378609. PMID 22723748.
  20. 20.0 20.1 Balarajan, Y; Selvaraj, S; Subramanian, SV (2011-02-05). "Health care and equity in India". The Lancet. 377 (9764): 505–515. doi:10.1016/s0140-6736(10)61894-6. PMC 3093249. PMID 21227492.
  21. "Government-Sponsored Health Insurance in India: Are You Covered?". worldbank.org. The World Bank Group. October 11, 2012. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
  22. Mehra, Puja (April 9, 2016). "Only 17% have health insurance cover". The Hindu. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
  23. Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 58. ISBN 978-1-137-49661-4.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?