For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for นกกาน้ำ.

นกกาน้ำ

นกกาน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคสุดท้าย – ปัจจุบัน
นกกาน้ำใหญ่ (Phalacrocorax carbo) ที่ทะเลสาบเอ๋อไห่ ประเทศจีน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
ชั้นย่อย: Neornithes
ชั้นฐาน: Neoaves
อันดับ: Pelecaniformes
หรือ Suliformes[1]
วงศ์: Phalacrocoracidae
Reichenbach, 1850
สกุล: Phalacrocorax
Brisson, 1760
ชนิด
38 ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Australocorax Lambrecht, 1931
  • Compsohalieus B. Brewer & Ridgway, 1884
  • Cormoranus Baillon, 1834
  • Dilophalieus Coues, 1903
  • Ecmeles Gistel, 1848
  • Euleucocarbo Voisin, 1973
  • Halietor Heine, 1860
  • Hydrocorax Vieillot, 1819
  • Hypoleucus Reichenbach, 1852
  • Leucocarbo Bonaparte, 1857
  • Microcarbo Bonaparte, 1856
  • Miocorax Lambrecht, 1933
  • Nannopterum Sharpe, 1899
  • Nesocarbo Voisin, 1973
  • Notocarbo Siegel-Causey, 1988
  • Pallasicarbo Coues, 1903
  • Paracorax Lambrecht, 1933
  • Poikilocarbo Boetticher, 1935
  • Pliocarbo Tugarinov, 1940
  • Stictocarbo Bonaparte, 1855
  • Viguacarbo Coues, 1903

นกกาน้ำ เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Phalacrocoracidae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียว คือ Phalacrocorax

ลักษณะ

[แก้]

เป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ มีลักษณะทั่วไปคล้ายอีกา กินปลาเป็นอาหาร ส่วนมากมีขนสีดำ บางชนิดเป็นลายขาว-ดำ หรือสีสันสดใส[2]

อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน, หนอง, บึง, ทะเลสาบ และแหล่งน้ำอื่น ๆ พบทั้งหมด 38 ชนิดทั่วโลก[2] ในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด คือ นกกาน้ำเล็ก (P. niger), นกกาน้ำปากยาว (P. fuscicollis) และนกกาน้ำใหญ่ (P. carbo) ชนิดที่พบได้บ่อยมาก คือ นกกาน้ำเล็ก อาหารส่วนใหญ่ของนกกาน้ำ คือ ปลาชนิดต่าง ๆ มันจะดำลงไปในน้ำเพื่อจับปลามาเป็นอาหาร แต่ขนของนกกาน้ำจะไม่มีน้ำมันเคลือบกันน้ำได้เหมือนเป็ด ดังนั้นเมื่อโผล่ขึ้นมาจากน้ำแล้ว ทุกครั้งจะกางปีกออกเพื่อผึ่งให้แห้ง[3]

วิวัฒนาการ

[แก้]

นกกาน้ำเป็นนกโบราณหรือมีวิวัฒนาการต่ำมาก และมีเชื้อสายใกล้ชิดกันมากกับนกในวงศ์ Anhingidae หรือนกอ้ายงั่ว ซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก แต่ลักษณะของปากแตกต่างกัน นักบรรพชีวินวิทยาเคยขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษของนกทั้งสองวงศ์ในทวีปอเมริกาเหนือซึ่งมีอายุย้อนหลังไปถึงเมื่อราว 60,000,000 ปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่านกอ้ายงั่วมีวิวัฒนาการจนแตกต่างจากนกกาน้ำเมื่อราว 30,000,000 ปีที่ผ่านมา

นักบรรพชีวินวิทยาขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือซากฟอสซิล ของนกกาน้ำได้ 24 ชนิด และชนิดที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุย้อนหลังไปถึงยุคเทอร์เชียรีตอนต้น เมื่อราว 50,000,000 ปีที่ผ่านมา ซากดึกดำบรรพ์ของนกกาน้ำ 24 ชนิดนี้มีลักษณะแตกต่างกันจนสามารถแยกออกได้ถึง 4 สกุล คือ สกุล Graculavus, สกุล Actiornis, สกุล Pliocarbo และสกุล Phalacrocorax ที่พบในปัจจุบัน

สำหรับนกกาน้ำในสกุล Phalacrocorax ซึ่งเป็นสกุลที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และยังคงมีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้วิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ของนกกาน้ำในสกุลนี้ที่ขุดค้นพบได้ แล้วสันนิษฐานว่านกกาน้ำในสกุลนี้เกิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ยุคโอลิโกซีน เมื่อราว 40,000,000 ปีมาแล้ว[4]

รูปร่าง

[แก้]

รูปทรงของนกกาน้ำจะมีลักษณะอวบอ้วน แต่ค่อนข้างเพรียวยาวเหมือนกับตอร์ปิโด มีลำคอยาว หัวค่อนข้างเล็กยาว และปากยาว จึงเหมาะสมที่จะพุ่งตัวลงไปแหวกว่ายอยู่ใต้น้ำอย่างแคล่วคล่อง แต่ในเวลาที่ยืนอยู่บนพื้นดินริมน้ำหรือเกาะอยู่บนต้นไม้ ลำตัวของนกกาน้ำยกขึ้นค่อนข้างตั้งตรง เพราะขาอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัวมาก แต่มักหดลำคอเป็นรูปตัว S และทำหลังโก่ง

แต่ในขณะว่ายน้ำ ลำตัวของนกกาน้ำดูค่อนข้างเพรียว เพราะขาอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัวมาก เหมาะที่จะพุ่งตัวแหวกว่ายอยู่ในน้ำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เหมือนนกในวงศ์ใด นอกจากนกอ้ายงั่วซึ่งมีลักษณะใกล้ชิดกับนกกาน้ำเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในขณะบินนกกาน้ำดูคล้ายนกเป็ดน้ำมาก และนกตัวผู้และนกตัวเมียเหมือนกันจนแยกความแตกต่างระหว่างเพศไม่ได้ แต่นกตัวผู้มักมีขนาดใหญ่กว่าและน้ำหนักมากกว่านกตัวเมียเล็กน้อย[4]

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้]

ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน หรือญี่ปุ่น มีการเลี้ยงนกกาน้ำไว้เพื่อให้หาปลาให้ชาวประมง โดยเฉพาะในญี่ปุ่น กระทำกันจนเป็นประเพณีหรือวัฒนธรรม[5]

นอกจากนี้แล้ว ในอังกฤษ นกกาน้ำถือเป็นต้นแบบให้แก่นกไลเวอร์ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองลิเวอร์พูล และตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลด้วย[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย by คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ปี 2550
  1. จาก itis.gov
  2. 2.0 2.1 Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991). Seabirds: A Complete Guide to the Seabirds of the World (Helm Identification Guides) . Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 071363510X.
  3. Untamed China with Nigel Marven, รายการ ทางแอนิมอลแพลนเน็ต
  4. 4.0 4.1 "นกกาน้ำ (1) กายสัณฐานวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-10.
  5. "เทศกาลอุไก (鵜飼) "การจับปลาด้วยนกกาน้ำ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
  6. ขอชี้แจง: liver birds ไม่ใช่หงส์ ไม่ใช่เป็ด และไม่ใช่นก:-) ลม !! จากพันทิป

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phalacrocorax ที่วิกิสปีชีส์

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
นกกาน้ำ
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?