For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ธนบัตร.

ธนบัตร

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถช่วยแก้ไขบทความนี้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ธนบัตรสกุลต่าง ๆ

ธนบัตร หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า แบงค์ เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์

ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก

การใช้ธนบัตรแทนเงินแท่งและทองคำ ธนบัตรฉบับแรกในประวัติศาสตร์การเงินของโลก ฮ่องเต้ซ่งไท่จู่หรือจ้าวกวนยิ่น 宋太祖趙匡胤 ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซ่งเหนือ 北宋(ค.ศ.927-976)มีรับสั่งให้เรียกคืนเงินตราโลหะ เงินและทองคำ แล้วให้ผลิตเงินตราที่ทำด้วยเหล็กหล่อทดแทน และทรงห้ามนำเข้าเงินตราประเภททองแดง เงินโลหะเหล็ก กลายเป็นสิ่งที่ซื้อขายแลกเปลื่ยนสินค้าในตลาดได้ แต่เงินตราเหล็กหล่อดังกล่าวมีน้ำหนักมากและมีอัตราแลกเปลื่ยน 1000 เหวิน ต่อ น้ำหนักโลหะเหล็ก 25 กก. แต่พกติดตัวไม่สะดวก ในการซื้อขายสิ้นค้าถึงกับต้องใช้รถม้าบรรทุก จึงเกิดสำนักงาน รับฝากเงินตราโลหะที่เรียกว่าเจี้ยวจื่อปู้ “交子铺" ขึ้น เพื่อบริการบรรดาพ่อค้าที่ต้องพกพาเงินจำนวนมาก ๆ ที่รับฝากนี้จะออกใบรับฝากเงินให้ที่เรียกว่า ตั๋วเงิน ตั๋วเงินนี้ แรกเริ่มเป็นเอกสารรับฝากเงิน โดยระบุจำนวนเงินฝากไว้บนหน้าตั๋วเมื่อผู้ทรงตั๋วเงินมาเบิกเงินจะถูกคิดค่าธรรมนเนียมฝากเงินอัตราร้อยละ 3. ที่เมืองเฉินตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน ปรากฏมีการใช้ธนบัตรกระดาษขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเงินตราโลก มีชื่อเรียกว่าเจียวจื่อ (交子, jiāozǐ) ในขณะที่ระบบซื้อขายกันในตลาด ยังมีการใช้ เงินตรา ที่เป็นโลหะอยู่ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักสะสมเงินตรายอมรับและถือว่าเจียวจื่อ (交子) นี้เป็นธนบัตรกระดาษรุ่นแรกที่สุดในประวัติศาสตร์เงินตรา ภายหลังจากที่ราชสำนักซ่งได้ก่อตั้งหน่วยงานเจียวจื่อ (交子)ขึ้นแล้ว ก็มีการออกธนบัตรใช้เหมือนกัน ธนบัตรเจี้ยวจื่อจึงมี 2 ประเภทคือ ธนบัตรราชการ “官交子” เป็นธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้โดยราชสำนักซ่ง ภายใต้การกำกับของหน่วยงานจัดการธนบัตรในราชสำนัก และ อีกชนิดหนึ่งคือ ธนบัตรเอกชน “私交子”เป็นธนบัตรที่นิยมใช้ในหมู่ราษฎร

ประวัติ

[แก้]

ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก 121 โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพ.ศ. 2485 กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2512 ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11 รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า หมาย

ต่อมาระหว่างพ.ศ. 2415 - 2416 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดงขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย

เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพ.ศ. 2432, 2441, และ 2442 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทันต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ

บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็นต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า 13 ปี (พ.ศ. 2432 - 2445) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพ.ศ. 2433 จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงินกระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ ประเทศเยอรมนี จำนวน 8 ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 2435 แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้

จนกระทั่งพ.ศ. 2445 จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา

ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471 ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ธนบัตร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?