For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์.

ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์

บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน กรุณาช่วยปรับปรุงโดยการปรับแก้ให้มีลักษณะเป็นกลางและเป็นสารานุกรมมากขึ้น
ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์
เกิด9 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
นามปากกาหมอ
อาชีพนักเขียน จิตรกร
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน

ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ เจ้าของนามปากกา หมอ นักวาดการ์ตูนไทย มีผลงานปรากฏในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอมลัมน์ห้าร้อยจำพวก+1 และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ผลงานของ หมอได้รับการยอมรับจากนานาชาติ หมอเคยได้รับรางวัล The Aydin Dogan Foundation's Cartoon Competition Award 2007 ประเภท "Success Award" [1]

ประวัติ

[แก้]

ทิววัฒน์เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เกิดวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นับถือศาสนาพุทธ มีนิสัยช่างสงสัยตั้งแต่วัยเด็ก หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จึงย้ายไปศึกษาต่อระดับมัธยมปลายที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และศึกษาต่อระดับปริญญาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อสำเร็จการศึกษา หมอทำงานหลายอย่าง เป็นอาจารย์ประจำที่ มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์พิเศษ และวิทยากรพิเศษตามสถาบันการศึกษา ต่อมา ได้รับการชักชวนจาก ชัย ราชวัตร ให้เขียนการ์ตูนใน หนังสือพิมพ์คู่แข่งรายสัปดาห์ จากนั้น หมอเป็นนักเขียนการ์ตูนการเมืองเต็มตัวที่ หนังสือพิมพ์สยามโพสต์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เป็นต้น และเป็นทีมงานเขียนภาพประกอบในพระราชนิพนธ์เรื่อง ทองแดง ฉบับการ์ตูน หมอมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อเขาได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดการ์ตูนนานาชาติในวาระครบรอบ 50 ปี ESCAP หมอเป็นนักเขียนการ์ตูนอารมณ์ดี ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานทั้งหมดของเขา หมอยึดมั่นในการใช้ อารยะ ขบขัน แก้ไขทุกปัญหาที่เกิดขึ้น หมอไม่เคยหยุดตั้งคำถามกับตัวเอง และสิ่งที่เขาพบเห็นรอบๆตัว[2]

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

ด้านวิชาการ สอนวิชา Illustration วิชา Comics Art และวิชา Caricature Art

[แก้]

ด้านการ์ตูนล้อการเมือง ภาพเขียนสีน้ำ และบทความล้อการเมือง

[แก้]
  • หนังสือพิมพ์คู่แข่งรายสัปดาห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534
  • หนังสือพิมพ์สยามโพสต์ ระหว่างปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539
  • หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538
  • หนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ การ์ตูนชุด STANG WARS ในปี พ.ศ. 2548
  • หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
  • เสาร์สวัสดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์เก็บไว้ด้วยปลายพู่กัน ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547 คอลัมน์เด็กหลังห้อง ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 คอลัมน์ที่ชอบ ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ทั้ง 3 คอลัมน์เป็นการเขียนภาพสีน้ำเล่าเรื่องสถานที่ต่างๆ คอลัมน์นิทานก่อนนั่งเล่าให้ฟังก่อนตื่น ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ทั้ง 2 คอลัมน์เป็นบทความล้อการเมืองในลักษณะเล่าเรื่อง[5]
  • หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
  • นิตยสาร a day weekly เป็นบทความล้อการเมืองในลักษณะการสัมภาษณ์ตัวการ์ตูนนานาชาติที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น แบทแมน ไอ้แมงมุม ไอ้มดแดง โดราเอมอน ซูเปอร์แมน อุลตร้าแมน อิคคิวซัง พล นิกร กิมหงวน ศรีธนนชัย เป็นต้น

ด้านโทรทัศน์ และวิทยุ

[แก้]
  • รายการชิงร้อยชิงล้าน (ขณะนั้นใช้ชื่อว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า) ช่วงทายดาราสามช่ารับเชิญ (ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "เขาเป็นใครหนอ เขามาจากไหน") เป็นการเขียนภาพปริศนาดารา แพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2542 - 17 ตุลาคม 2544
  • รายการนิรนามยามดึก เนื้อหาเกี่ยวกับปกิณกะ และเปิดเพลง POP ออกอากาศทาง FM101 ของมีเดียพลัส วันจันทร์ - วันพุธ เวลา 24.00น. - 03.00น. ระหว่างปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
  • รายการเป็นอยู่คือ เนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ออกอากาศทางคลื่นความคิด FM96.5 ของ อสมท วันเสาร์ เวลา 21.00น. - 23.00น. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน [6]

ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

[แก้]

ภาพประกอบ

[แก้]
  • พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เรื่องทองแดง ฉบับการ์ตูน พ.ศ. 2547 (เป็นหนึ่งในทีมงาน)[7]
  • พระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องเพียงวันพบวันนี้ที่สำคัญ และเรื่องความฝัน พ.ศ. 2548 [8]
  • หนังสือเลือกตั้งทำไม?ทำไม?เลือกตั้ง ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542
  • หนังสือรู้จักใช้เข้าใจเงิน ของ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ในวาระครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ พ.ศ. 2550
  • นิตยสารอิมเมจ คอลัมน์ FOOL FEEL ของ หมอ และคอลัมน์ D-TYPE ของนิติพงษ์ ห่อนาค (ดี้) และ คอลัมน์ HUMAN ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
  • นิตยสารพลอยแกมเพชร คอลัมน์บ้านสีเขียว และคอลัมน์ฟิตกายฟิตใจ ของคุณผู้หญิง และเรื่องถนนสายดอกงิ้วบาน กับเรื่องตะพดหัวเสือ ของวัยชัน (ปัจจุบัน)

หนังสือที่ตีพิมพ์

[แก้]
  • เก็บไว้ด้วยปลายพู่กัน พ.ศ. 2545
  • นิทานรู้ทัน พ.ศ. 2547
  • เก็บไว้ในภาพเขียน พ.ศ. 2548

รางวัล

[แก้]

ระดับนานาชาติ ผลงานด้านการ์ตูน

[แก้]
  • The ESCAP 50th Anniversary Cartoon Exhibition, Third Prize in 1997 ในวาระครบรอบ 50 ปี ESCAP[9]
  • The Aydin Dogan Foundation's Cartoon Competition Award 2007, Success Award ที่ประเทศตุรกี[10]

นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญจาก The Japan Foundation, Bangkok ให้นำผลงานร่วมแสดงระดับนานาชาติ 2 ครั้ง:

  • นิทรรศการการ์ตูนเอเชีย ครั้งที่ 7 "จ้างงานอย่างเอเชีย" ในปี พ.ศ. 2547 [11]
  • นิทรรศการการ์ตูนเอเชีย ครั้งที่ 10 "สภาพแวดล้อมในเอเชีย" ในปี พ.ศ. 2550 [12]

ภายในประเทศ ด้านสื่อมวลชน

[แก้]
  • รางวัลสุดยอดนักคิด ประจำปี พ.ศ. 2551 จากการโหวตของผู้ฟังคลื่นความคิด FM96.5 อสมท[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ภาพที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลประเภท "Success Award" จาก AYDIN DOGAN VAKFI ภาษาตุรกี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-15. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  2. "ประวัติและอุปนิสัยส่วนตัวของหมอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-19. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  3. บทสัมภาษณ์ประวัติส่วนตัว ผลงาน และแนวคิดของหมอ
  4. "รายชื่ออาจารย์ประจำและวิทยากรพิเศษของหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-16. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  5. "บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับงานภาพสีน้ำของหมอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  6. คลื่นความคิดแนะนำผู้จัดรายการ
  7. "แนะนำทีมงานเขียนภาพประกอบเรื่อง ทองแดง ฉบับการ์ตูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  8. "จดหมายข่าว "ประพาสราชสถาน" "ต้นน้ำ" "ภูผาและป่าทราย" "เพียงวันพบวันนี้ที่สำคัญ" "ความฝัน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  9. "รายละเอียดการจัดงานและผลการตัดสินผลงานการ์ตูน ภาษาอังกฤษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  10. บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับราวัลSuccess Award และแง่คิดมุมมองเกี่ยวกับการ์ตูนของหมอ[ลิงก์เสีย]
  11. "ข่าวประชาสัมพันธ์การจัดงานนิทรรศการการ์ตูนเอเชียครั้งที่ 7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  12. "ข่าวประชาสัมพันธ์การจัดงานนิทรรศการการ์ตูนเอเชียครั้งที่ 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  13. ภาพและประวัติของผู้ได้รับรางวัลสุดยอดนักคิด

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?