For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี.

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

เซอร์ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

OM KBE FRS FREng FRSA FBCS
Sir Tim Berners Lee arriving at the Guildhall to receive the Honorary Freedom of the City of London
ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ในปีค.ศ.2014
เกิดTimothy John Berners-Lee
(1955-06-08) 8 มิถุนายน ค.ศ. 1955 (69 ปี)[1]
ลอนดอน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
ชื่ออื่น
  • TimBL
  • TBL
การศึกษาEmanuel School
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (BA)
คู่สมรส
  • Nancy Carlson (สมรส 1990; หย่า 2011)
  • Rosemary Leith (สมรส 2014)
บุตร2
บิดามารดา
  • Conway Berners-Lee
  • Mary Lee Woods
รางวัล
  • รางวัลทัวริง (2016)
  • Queen Elizabeth Prize (2013)
  • Foreign Associate of the National Academy of Sciences (2009)
  • Order of Merit (2007)
  • ACM Software System Award (1995)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงาน
เว็บไซต์w3.org/people/berners-lee
เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เวิลด์ไวด์เว็บ

เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL)

เบื้องหลังและงานอาชีพช่วงแรก

[แก้]

เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีเกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ ทั้งบิดาและมารดาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรก คือ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" ด้วยกัน ทั้งสองได้สอนให้เบอร์เนิร์ส-ลีใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันไปทุกเรื่อง แม้แต่บนโต๊ะอาหาร เบอร์เนิร์ส-ลีเข้าโรงเรียนชั้นประถมที่โรงเรียน "ชีนเมาท์" (ซึ่งต่อมาได้อุทิศห้องโถงใหม่ห้องหนึ่งเป็นเกียรติแก่เขา) ก่อนที่จะย้ายไปเรียนต่อระดับโอ. และระดับเอ. ที่โรงเรียนเอ็มมานูเอล ที่วานสเวิร์ท

เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นศิษย์เก่าของควีนส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดซึ่งเบอร์เนิร์ส-ลีเป็นตัวแทนแข่งขันเกมส์ "ทิดดลีวิงค์" ประเพณี (เกมแข่งช้อนดีดอีแปะลงถ้วย) กับคู่ปรับเก่าแก่คือมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ด้วย ขณะที่เรียนที่ควีนส์คอลเลจ เบอร์เนิร์ส-ลีได้สร้างคอมพิวเตอร์ด้วยหัวแร้งไฟฟ้า ประกอบทีทีแอล (ทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง) ลอจิกเกท และหน่วยประมวลผล เอ็ม 6800 กับโทรทัศน์เก่าเครื่องหนึ่ง และช่วงหนึ่งในระหว่างการศึกษา เบอร์เนิร์ส-ลีถูกจับได้ร่วมกับเพื่อนฐานทำการ "แฮ็ก" คอมพิวเตอร์และถูกห้ามมิให้ใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เบอร์เนิร์ส-ลีจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์เมื่อ พ.ศ. 2518

เวิลด์ไวด์เว็บ

[แก้]

ดูบทความหลัก เวิลด์ไวด์เว็บ

ขณะที่เป็นลูกจ้างอิสระอยู่ที่ "เซิร์น" ระหว่างเดือนมิถุนายน - ธันวาคม พ.ศ. 2523 เบอร์เนิร์ส-ลีได้เสนอโครงการหนึ่งที่ใช้แนวคิด "ข้อความหลายมิติ" หรือ hypertext มาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนและปรับสมัยข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน ขณะที่เบอร์เนิร์ส-ลีทำงานอยู่ที่นี่เขาได้สร้างระบบต้นแบบไว้แล้วเรียกชื่อว่า ENQUIRE หลังจากออกจากเซิร์นเมื่อ พ.ศ. 2523 เบอร์เนิร์ส-ลีไปร่วมงานกับบริษัท "อิมเมจคอมพิวเตอร์ซิสเต็ม" ของจอห์น พุล เบอร์เนิร์ส-ลีได้กลับมาทำงานที่เซิร์นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2527 ในตำแหน่งสิกขบัณฑิต (Fellow) เมื่อถึง พ.ศ. 2532 เซิร์นได้กลายเป็นศุนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เบอร์เนิร์ส-ลีเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เขื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้ "เวิลด์ไวด์เว็บ.." เบอร์เนิร์ส-ลีร่างข้อเสนอของเขาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2533 ด้วยความช่วยเหลือของโรเบิร์ต ไคลิยู ช่วยปรับร่างโครงการให้ ไมค์ เซนดอลล์ผู้จัดการของเบอร์เนิร์ส-ลีจึงรับข้อเสนอของเขา ในข้อเสนอนี้ เบอร์เนิร์ส-ลีได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรกของโลกชื่อว่า WorldWideWeb บนระบบปฏิบัติการ NEXTSTEP ของสตีฟ จอบส์ และสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon)

เว็บไซต์แรกสุดสร้างขึ้นที่เซิร์น นำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ให้คำอธิบายว่าเวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของเบราว์เซอร์ทำได้อย่างไรและจะติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังนับเป็นเว็บไดเร็กทอรีอันแรกของโลกด้วยเนื่องจากเบอร์เนิร์ส-ลีดูแลรายชื่อของเว็บไซต์อื่น ๆ ทั้งหมด นอกจากของตนเองด้วย

ในปี พ.ศ. 2537 เบอร์เนิร์ส-ลีได้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บ (W3C) ขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที ประกอบด้วยบริษัทหลายบริษัทที่ยินยอมพร้อมใจมาร่วมสร้างมาตรฐานและข้อเสนอแนะสำหรับใช้เป็นหลักในการปรับปรุงคุณภาพของเว็บ ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2547 เบอร์เนิร์ส-ลียอมรับตำแหน่งประธานสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่คณะอีเล็กทรอนิกส์และวิยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเซาท์แธมตัน สหราชอาณาจักรเพื่อดำเนินโครงการใหม่ นั่นคือ "ซีแมนติกเว็บ" (Semantic Web)

เบอร์เนิร์ส-ลีเปิดเผยให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กรโดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บจึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใด ๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้บนพื้นฐานทางเทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง

การได้รับการยอมรับ

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยเซาท์แธมตันเป็นองค์กรแรกที่ยอมรับว่าเบอร์เนิร์ส-ลีเป็นคิดค้นและสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ด้วยการมอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้แก่เขาเมื่อ พ.ศ. 2539 และให้เบอร์เนิร์ส-ลีดำรงตำแหน่งประธานสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในคณะอิเล็กทรอนิกส์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นประธานผู้ก่อตั้ง 3Com ที่เอ็มไอทีและยังเป็นเมธีวิจัยอาวุโสที่นี่ด้วย เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นสิกขบัณฑิตกิตติคุณ (Distinguished Fellow) ที่สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งบริเทน สิกขบัณฑิตกิตติคุณของสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และยังเป็นสมาชิกของบัณฑิตยสถานศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกันอีกด้วย
  • ในปี พ.ศ. 2540 เบอร์เนิร์ส-ลีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจักรวรรดิบริทิช (OBE) พร้อมการได้รับเข้าเป็นราชบัณฑิตในราชบัณฑิตยสถานเมื่อ พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2545 และในปีเดียวกันก็ได้รับรางวัลปรินซิเป เดอ แอสทูริอัส สาขางานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสเปน และได้การโหวตเป็นหนึ่งในชาวบริติชที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ 100 คน โดยบีบีซี
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 เบอร์เนิร์ส-ลีได้เป็นสิกขบัณฑิตเกียรติคุณในราชสมาคมศิลปะ
  • ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นอัศวินสูงสุดชั้น 2 จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบท เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์
  • 27 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นชาวบริทิชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี และนิตยสารไทม์ในวาระเดียวกันยกย่องเบอร์เนิร์ส-ลีเป็นบุคคล 1 ใน 100 คนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20
  • 14 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้การรวมชื่อไปไว้ในสำนักวิศวกรรมแห่งชาติ (สหรัฐฯ)
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้าเป็นการส่วนพระองค์จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบท เป็นการพระราชทานโดยไม่ต้องผ่านจากกระทรวงทบวงกรม ซึ่งมีผู้ได้รับที่ยังมีชีวิตเพียง 24 คนเท่านั้นในสหราชอาณาจักร และมีสิทธิ์ใน "OM" ท้ายชื่อได้ตลอดเวลา

ชีวิตปัจจุบัน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2544 เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีได้เป็นผู้อุปถัมภ์กองทุนมรดกอีสต์ดอร์เซทในประเทศอังกฤษ

ปัจจุบันเบอร์เนิร์ส-ลีพักอาศัยอยู่ที่เมืองเลกซิงตัน รัฐแมสซาชูเสทส์ สหรัฐฯ พร้อมกับภริยาและบุตร 2 คน

ในการถือศาสนา เบอร์เนิร์ส-ลีได้ลาออกรีตจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ นิกายที่เขาเกิดและเติบโตมาตั้งครั้งยังเป็นวัยรุ่นเนื่องจากทนไม่ได้กับการที่จะ "ต้องเชื่อทุกสิ่งที่เป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ" เบอร์เนิร์ส-ลีและครอบครัวได้รู้จักศาสนานิกาย "Unitarian Universalism" ที่เมืองบอสตันและเข้ารีตนิกายนี้ถึงปัจจุบัน

เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นผู้อยู่แนวหน้าในการเป็นปากเป็นเสียงให้กับหลักการ "Net Neutrality" หรือความเป็นกลางของเครือข่าย ที่มีแนวคิดว่าเครือข่ายบรอดแบนด์ครัวเรือน และอาจจะเครือข่ายทุกชนิด จะต้องปลอดจากข้อห้ามต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อกับเครือข่าย วิธีในการสื่อสารที่อนุญาต ซึ่งจะต้องไม่กำจัดเนื้อหา เว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์ม และจะต้องเป็นเครือข่ายที่การสื่อสารไม่ถูกลดคุณภาพลงเนื่องจากการรับส่งข้อมูลสื่อสารอื่น

งานเขียน

[แก้]
  • Berners-Lee, Tim (1999). Weaving the Web: Origins and Future of the World Wide Web. Britain: Orion Business. ISBN 0-7528-2090-7. ((cite book)): ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

อ้างอิง

[แก้]

Fischetti, Mark. Weaving the Web. Harper Collins Publishers,1999. ISBN 0-06-251586-1 (cloth). ISBN 0-06-251587-X (paper).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ whoswho
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?