For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ถนนพระรามที่ 4.

ถนนพระรามที่ 4

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
ถนนพระรามที่ 4
ถนนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว9.400 กิโลเมตร (5.841 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออก ถนนสุขุมวิท ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ถนนพระรามที่ 4 (อักษรโรมัน: Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท

ประวัติ

[แก้]

ถนนพระรามที่ 4 เดิมเรียกว่า ถนนตรง และ ถนนหัวลำโพง (นอก) เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2400 เนื่องจากกงสุลอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสได้เข้าชื่อกัน พร้อมทั้งนายห้างต่างประเทศ ขอร้องรัฐบาลสยามว่า เรือลูกค้าที่ขึ้นมาค้าขายถึงกรุงเทพมหานครมีระยะทางไกล ถึงหน้าน้ำน้ำเชี่ยวมาก กว่าจะเดินทางถึงกรุงเทพมหานครก็ใช้เวลาหลายวัน จะขอไปตั้งห้างซื้อขายใต้ปากคลองพระโขนง ตลอดถึงบางนา และขอให้รัฐบาลขุดคลองลัดตั้งแต่บางนามาตลอดถึงคลองผดุงกรุงเกษม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค ต่อมาคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์) ที่พระคลัง จ้างกรรมกรจีนขุดคลอง ตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบ ตัดทุ่งลงไปถึงคลองพระโขนง และตัดคลองพระโขนงออกไปทะลุแม่น้ำใหญ่ แล้วเอามูลดินมาถมเป็นถนนฝั่งเหนือตลอดลำคลอง พระราชทานชื่อว่าคลองถนนตรง ครั้นขุดคลองแล้วชาวยุโรปก็ไม่ได้ลงไปอยู่ที่บางนาโดยอ้างว่าไกล คลองถนนตรงนี้ชาวบ้านเรียกว่า คลองวัวลำพอง และเรียกถนนว่าถนนวัวลำพองหรือหัวลำโพงตามชื่อทุ่งนาที่ถนนและคลองตัดผ่าน

ต่อมาได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ชาวบ้านเรียกกันว่าสะพานวัวลำพอง ถนนตรงเป็นถนนสายแรกในรัชกาลที่ 4 เป็นถนนเส้นตรงมีระยะทางไกล และมีพระบรมราชโองการให้เรียกทางที่ริมคลองนี้ว่า ทางถนนตรง ต่อมา ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนหัวลำโพง (นอก) ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนหลวงสุนทรโกษา เป็น ถนนพระรามที่ 4 ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระราชวงศ์จักรีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยนำมูลดินจากการขุดคลองลัดจากคลองผดุงกรุงเกษมไปถึงคลองเตยมาสร้างขึ้น

นอกจากนี้ถนนพระรามที่ 4 ในอดีตยังเป็นต้นสายของทางรถไฟสายปากน้ำ สถานีต้นสายชื่อว่าสถานีหัวลำโพง (ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบันแต่ตั้งอยู่กลางถนนพระราม 4 หน้าโรงแรมสยามซิตี้ ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบันในอดีตชื่อสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อยกเลิกทางรถไฟสายปากน้ำคนทั่วไป จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพงตามความเคยชินและติดปากของประชาชน) โดยรางรถไฟสายนี้วางขนานกับคลองหัวลำโพงมีทางรถไฟอยู่ตรงกลางระหว่างคลองหัวลำโพงกับถนนพระรามที่ 4 ซึ่งรางรถไฟอยู่ฝั่งโรงแรมสยามซิตี้ ตั้งแต่แยกมหาพฤฒารามมาตามถนนพระรามที่ 4 จนข้ามคลองพระโขนง (คลองแสนแสบ)จึงขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่เมืองสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นให้ความสำคัญในการเดินทางและขนส่งโดยใช้รถยนต์มากกว่า ในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้ยกเลิกทางรถไฟสายนี้พร้อมกับถมคลองหัวลำโพงช่วงตั้งแต่คลองผดุงกรุงเกษมจนถึงตลาดคลองเตยทิ้ง เพื่อทำการขยายถนนถนนพระราม 4 ทำให้เขตทางของถนนพระรามที่ 4 กว้างขวางดังเช่นในปัจจุบัน และคลองหัวลำโพงบางส่วนที่ไม่ได้ถมตั้งแต่ตลาดคลองเตยไปจนถึงคลองพระโขนงปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่ แต่คนทั่วไปนิยมเรียกคลองหัวลำโพงในส่วนนี้ว่า คลองเตย ส่วนเขตทางรถไฟสายปากน้ำตั้งแต่แยกมหาพฤฒารามถึงตลาดคลองเตยเป็นส่วนของถนนพระรามที่ 4 ส่วนตั้งแต่ตลาดคลองเตยจนตัดกับถนนสุขุมวิท ถมเป็นถนนใช้ชื่อว่าถนนทางรถไฟสายเก่า

อนึ่ง ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองในกรุงเทพมหานครถึง 3 ช่วง ดังนี้

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ถนนพระรามที่ 4 ทิศทาง: แยกหมอมี – พระโขนง
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
พระรามที่ 4 (แยกหมอมี – พระโขนง)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกหมอมี เชื่อมต่อจาก: ถนนเจริญกรุง
0+387 แยกไมตรีจิตต์ ไม่มี ถนนมิตรภาพไทย-จีน (ตรีมิตร) ไปวงเวียนโอเดียน
เชื่อมต่อจาก: ถนนไมตรีจิตต์ จากวงเวียน 22 กรกฎาคม
เชื่อมต่อจาก: ถนนกรุงเกษม จากแยกนพวงศ์
0+439 แยกหัวลำโพง ถนนรองเมือง ไปถนนเจริญเมือง ถนนมหาพฤฒาราม ไปถนนสีพระยา, ถนนเจริญกรุง
ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง-แจ้งวัฒนะ ไม่มี
0+852 แยกมหานคร ถนนจารุเมือง ไปถนนพระรามที่ 1 ถนนมหานคร ไปถนนสี่พระยา, ถนนสีลม ,ถนนสาทร
1+140 แยกสะพานเหลือง ถนนบรรทัดทอง ไปถนนพระรามที่ 1, ถนนเพชรบุรี ทางพิเศษศรีรัช ไปบางนา-ดาวคะนอง
1+980 แยกสามย่าน ถนนพญาไท ไปถนนเพชรบุรี, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนสี่พระยา ไปถนนทรัพย์, ถนนนเรศ
2+660 แยกอังรีดูนังต์ ถนนอังรีดูนังต์ ไปถนนพระรามที่ 1 ถนนสุรวงศ์ ไปแยกสุรวงค์-นาราธิวาส
2+900 แยกศาลาแดง ถนนราชดำริ ไป ถนนพระรามที่ 1, ถนนเพชรบุรี, ถนนราชปรารภ ถนนสีลม ไปถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนเจริญกรุง
3+830 แยกวิทยุ ถนนวิทยุ ไปถนนเพลินจิต, ถนนเพชรบุรี ถนนสาทร ไปถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนเจริญกรุง
4+479 แยกใต้ทางด่วนพระรามที่ 4 ไม่มี ถนนเชื้อเพลิง ไปถนนพระรามที่ 3
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, แจ้งวัฒนะ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดาวคะนอง, บางนา
ถนนดวงพิทักษ์ ไปถนนสุขุมวิท ไม่มี
3+830 แยกคลองเตย ไม่มี ถนนสุนทรโกษา ไปถนนอาจณรงค์
5+540 แยกพระรามที่ 4 ถนนรัชดาภิเษก ไปถนนอโศกมนตรี ถนนพระรามที่ 3 ไปสะพานพระราม 3
5+940 ไม่มี ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำบรรจบกับถนนพระรามที่ 4
3+830 แยกเกษมราษฎร์ ไม่มี ถนนเกษมราษฎร์ ไปท่าเรือกรุงเทพ
6+770 แยกอารี ซอยสุขุมวิท 26 (อารี) ไปถนนสุขุมวิท ไม่มี
แยกมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซอยสุขุมวิท 40 (บ้านกล้วยใต้) ไปถนนสุขุมวิท ซอยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไปถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
8+430 แยกกล้วยน้ำไท ซอยสุขุมวิท 42 (กล้วยน้ำไท) ไปถนนสุขุมวิท ถนนกล้วยน้ำไท ไปท่าเรือกรุงเทพ
9+400 แยกพระโขนง ถนนสุขุมวิท ไปเอกมัย, ทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ไปบางนา, สมุทรปราการ, ชลบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

[แก้]

สถานีรถไฟ/สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

[แก้]

ศาล

[แก้]

ศาสนสถาน

[แก้]

ตลาด

[แก้]
  • ตลาดสามย่าน
  • ตลาดคลองเตย

ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า

[แก้]

อาคารสำนักงาน

[แก้]

สถานพยาบาล

[แก้]

สถาบันการศึกษา

[แก้]

พระบรมราชานุสาวรีย์/สวนสาธารณะ

[แก้]

วัง

[แก้]

หน่วยงานราชการ

[แก้]

สถานีโทรทัศน์

[แก้]

หมายเหตุ : เรียงจากหัวลำโพงถึงพระโขนง

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′49″N 100°32′07″E / 13.730276°N 100.535309°E / 13.730276; 100.535309

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ถนนพระรามที่ 4
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?