For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ต๋องจู.

ต๋องจู

ต๋องจู (ถาง จือ)
唐咨
ขุนพลสงบแดนไกล
(安遠將軍 อาน-ยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 258 (258) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจมอ / โจฮวน
ขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 252 (252) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์ซุนเหลียง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอหลินชู่ มณฑลชานตง /
นครเหลียน-ยฺหวินก่าง มณฑลเจียงซู
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนพล

ต๋องจู[a], ต๋องอู่[b] หรือ กึ่งจู[c] (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 225-262) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ถาง จือ (จีน: 唐咨; พินอิน: Táng Zī) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ในปี ค.ศ. 258 ต๋องจูแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊กและกลายเป็นขุนพลของวุยก๊ก

ประวัติ

[แก้]

ต๋องจูเป็นชาวเมืองลี่เฉิง (利城郡 ลี่เฉิงจฺวิ้น; อยู่ระหวางทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหลินชู่ มณฑลชานตงในปัจจุบันและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตก้าน-ยฺหวี นครเหลียน-ยฺหวินก่าง มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน)[6]

ในปี ค.ศ. 225 ไช่ ฟาง (蔡方) เริ่มก่อกบฏในเมืองลี่เฉิง สังหารสฺวี จี (徐箕) ผู้เป็นเจ้าเมือง และเสนอให้ต๋องจูเป็นผู้นำของตน[7][8] โจผีจักรพรรดิแห่งวุยก๊กจึงมีรับสั่งให้เริ่น ฝู (任福), ตฺว้าน เจา (段昭), หวาง หลิง (王淩) และ ลิยอย (呂虔 ลฺหวี่ เฉียน) นำกองกำลังไปปราบปรามกบฏ หลังจากทัพวุยก๊กเอาชนะกบฏและชิงเมืองลี่เฉิงคืนมาได้ ต๋องจูก็หนีลงใต้ทางทะเลไปยังง่อก๊กและกลายเป็นนายทหารของง่อก๊ก[9][10]

ระหว่างปี ค.ศ. 235 และ ค.ศ. 236 ต๋องจูเข้าร่วมกับลิต้ายและงอซันขุนพลง่อก๊กในการศึกที่รบกับชนเผ่าชานเยว่ (山越) ที่ก่อการจลาจลในอาณาเขตของง่อก๊ก หลังเสร็จศึก ต๋องจูได้เลื่อนยศขึ้นเป็นขุนพลจากความดีความชอบ[11][12] ภายหลังต๋องจูและงอซันนำกำลังพล 3,000 นายโจมตีชนเผ่าชานเยฺว่ที่นำโดยต่ง ซื่อ (董嗣) แต่ไม่สามารถเอาชนะข้าศึกได้ จนกระทั่งกำลังเสริมนำโดยจิวหองที่เป็นขุนพลง่อก๊กอีกคนยกมาถึง[13]

ในปี ค.ศ. 239 ต๋องจูเข้าร่วมกับลิต้ายในการปราบการก่อการกำเริบที่นำโดยเลี่ยว ชื่อ (廖式)[14]

ในปี ค.ศ. 252 ต๋องจูร่วมกับขุนพลง่อก๊กคนอื่น ๆ อย่างเล่าเบา, ลิกี๋ และเตงฮองเข้าร่วมรบในยุทธการที่ตังหินที่รบกับวุยก๊กรัฐอริของง่อก๊ก[15] ต๋องจูได้เลื่อนยศเป็นขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน) ได้รับมอบอาญาสิทธิ์ และได้รับบรรดาศักดิ์โหวจากความดีความชอบในยุทธการ

ในปี ค.ศ. 256 ต๋องจูร่วมกับบุนขิม, ลิกี๋, หลิว จฺว่าน (劉纂) และจูอี้ในการต้านการบุกของวุยก๊กในภูมิภาคโดยรอบแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ) และแม่น้ำซื่อ (泗河 ซื่อเหอ) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลอานฮุย[16][17] ในปีเดียวนั้น หลังซุนจุ๋นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของง่อก๊กเสียชีวิต ต๋องจูเข้าด้วยฝ่ายซุนหลิมลูกพี่ลูกน้องของซุนจุ๋นในการต่อสู้ชิงอำนาจและสังหารลิกี๋ จึงเป็นการเปิดทางให้ซุนหลิมขึ้นสิบตำแหน่งของซุนจุ๋นในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของง่อก๊ก[18][19]

ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) จูกัดเอี๋ยนส่งจูกัดเจ้งบุตรชายไปง่อก๊กเป็นตัวประกันเพื่อขอแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนจากง่อก๊กในการต้านวุยก๊ก ในปีถัดมาซุนหลิมสั่งให้บุนขิม, ต๋องจู, จวนเต๊ก (全懌 เฉฺวียน อี้), จวนตวน (全端 เฉฺวียน ตฺวาน), หวาง จั้ว (王祚) และคนอื่น ๆ ให้นำกำลังพล 30,000 นายไปฉิวฉุนเพื่อช่วยเหลือจูกัดเอี๋ยนในการก่อกบฏต่อต้านทัพวุยก๊กที่นำโดยสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊ก[20] เมื่อจูกัดเอี๋ยนตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในช่วงต้นปี ค.ศ. 258 จูกัดเอี๋ยนและต๋องจูพยายามตีฝ่าวงล้อมแต่ล้มเหลว หลังจากนั้นทั้งคู่ถูกทัพวุยก๊กจับกุมได้ ต๋องจูยินยอมจำนนและแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก สุมาเจียวแต่งตั้งให้ต๋องจูเป็นขุนพลสงบแดนไกล (安遠將軍 อาน-ยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน) สุมาเจียวปฏิบัติต่อทหารง่อก๊กที่ยอมสวามิภักดิ์เป็นอย่างดี ในด้านหนึ่งราชสำนักง่อก๊กก็ไม่ได้ทำอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัวของต๋องจูที่ยังคงอยู่ในง่อก๊กในขณะที่ต๋องจูแปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊ก[21]

ในปี ค.ศ. 262 เมื่อสุมาเจียวกำลังวางแผนการบุกจ๊กก๊กที่เป็นอีกหนึ่งรัฐอริของวุยก๊ก สุมาเจียวมอบหมายให้ต๋องจูกำกับดูแลการสร้างเรือรบเพื่อใช้ในการรบกับง่อก๊กในภายหลัง[22] ไม่มีการบันทึกถึงต๋องจูอีกในประวัติศาสตร์ช่วงหลังจากนั้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80[1]
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82[2][3]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82[4] และตอนที่ 83[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ("จูกัดเก๊กจึงว่าท่านว่านี้ชอบนัก ท่านจงเปนแม่ทัพเรือคุมทหารสามพันยกไป ลีกีต๋องจูเล่าเบาทหารสามคนนี้คุมทหารคนละหมื่น เปนแม่ทัพบกยกไปเปนสามกอง ตัวข้าพเจ้าจะยกทัพหลวงหนุนไป เมื่อจะยกเข้าตีนั้นมีประทัดสัญญา ถ้าได้ยินเสียงประทัดก็ให้แม่ทัพแม่กองเร่งยกเข้าตีให้พร้อมกันทั้งบกทั้งเรือ เตงฮองก็ยกทัพเรือสามสิบลำคุมทหารสามพันยกไปเมืองตังหิน ลีกีต๋องจูเล่าเบาคุมทหารคนละหมื่นเปนทัพบกยกไปเมืองตังหิน จูกัดเจ๊กก็ยกทัพหลวงหนุนไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  2. ("ซุนหลิมก็เชื่อจึงให้นายทหารชื่อว่าจวนต๊กจวนต๋วนสองคนเปนแม่ทัพหลวง อิ๋นจวนเปนทัพหนุน ให้จูอี้ต๋องอู่สองคนเปนกองหน้า ให้บุนขิมนำหนทาง ทหารทั้งสามกองนั้นเปนคนเจ็ดหมื่นยกไปช่วยจูกัดเอี๋ยน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  3. ("จูอี้รบกับอองกี๋ไม่ทันถึงสามเพลงเพลี่ยงพลํ้าเสียทีก็หนี ต๋องอู่ขี่ม้าออกมารบแทนยังไม่ทันได้สามเพลงก็หนีไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  4. ("กึ่งจูทหารเอกจึงว่า ข้าพเจ้าสมัคเข้าอยู่กับท่านแล้ว ซึ่งจะกลับไปเมืองกังตั๋งบัดนี้ ซุนหลิมรู้ก็จะคิดสงสัยเอาโทษข้าพเจ้า สุมาเจียวได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดี จึงตั้งกึ่งจูเปนขุนนางอยู่ในเมืองชิวฉุน แล้วก็จัดแจงทหารจะยกกลับไปเมือง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  5. ("ฝ่ายซุนหลิมอยู่ณเมืองกังตั๋ง ครั้นรู้ว่ากึ่งจูสมัคเข้ามาอยู่ด้วยสุมาเจียวก็โกรธ ให้ทหารไปจับเอาสมัคพรรคพวกกึ่งจูไปฆ่าเสีย ขณะนั้นพระเจ้าซุนเหลียงพระชนม์สิบเจ็ดขวบ เห็นซุนหลิมฆ่าพี่น้องกึ่งจูเสียดังนั้นก็คิดสังเวชพระทัยนัก") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  6. (唐咨本利城人。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  7. (六月,利成郡兵蔡方等以郡反,殺太守徐質。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 2.
  8. (黃初中,利城郡反,殺太守徐箕,推咨為主。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  9. (遣屯騎校尉任福、步兵校尉段昭與青州刺史討平之;其見脅略及亡命者,皆赦其罪。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 2.
  10. (文帝遣諸軍討破之,咨走入海,遂亡至吳,官至左將軍,封侯、持節。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  11. ([嘉禾]四年,廬陵賊李桓、路合、會稽東冶賊隨春、南海賊羅厲等一時並起。權復詔岱督劉纂、唐咨等分部討擊,春即時首降,岱拜春偏將軍,使領其眾,遂為列將,桓、厲等皆見斬獲,傳首詣都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 60.
  12. ([嘉禾五年]中郎將吾粲獲李桓,將軍唐咨獲羅厲等。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  13. (賊帥董嗣負阻劫鈔,豫章、臨川並受其害。吾粲、唐咨嘗以三千兵攻守,連月不能拔。魴表乞罷兵,得以便宜從事。魴遣間諜,授以方策,誘狙殺嗣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 60.
  14. ([赤烏二年]冬十月,將軍蔣秘南討夷賊。秘所領都督廖式殺臨賀太守嚴綱等,自稱平南將軍,與弟潛共攻零陵、桂陽,及搖動交州、蒼梧,鬱林諸都,眾數萬人。遣將軍呂岱、唐咨討之,歲餘皆破。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  15. (恪以建興元年十月會眾於東興,更作大堤,左右結山俠築兩城,各留千人,使全端、留略守之,引軍而還。……恪興軍四萬,晨夜赴救。遵等敕其諸軍作浮橋度,陳於堤上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。恪遣將軍留贊、呂據、唐諮、丁奉為前部。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  16. ([五鳳三年]八月,先遣欽及驃騎呂據、車騎劉纂、鎮南朱異、前將軍唐咨軍自江都入淮、泗。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 48.
  17. (其明年,文欽說峻徵魏,峻使欽與呂據、車騎劉纂、鎮南朱異、前將軍唐諮自江都人淮、泗,以圖青、徐。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  18. ([太平元年,孫]綝聞之,使中書奉詔,詔文欽、劉纂,唐咨等使取據,又遣從兄慮以都下兵逆據於江都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 56.
  19. (綝聞之,遣從兄慮將兵逆據於江都,使中使敕文欽、劉纂、唐咨等合眾擊據,遣侍中左將軍華融、中書丞丁晏告胤取據) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  20. (吳人大喜,遣將全懌、全端、唐咨、王祚等,率三萬眾,密與文欽俱來應誕。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  21. (誕、欽屠戮,咨亦生禽,三叛皆獲,天下快焉。拜咨安遠將軍,其餘裨將咸假號位,吳眾悅服。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  22. (文王敕青、徐、兗、豫、荆、扬诸州,并使作船,又令唐咨作浮海大船,外为将伐吴者。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.

บรรณานุกรม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ต๋องจู
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?