For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for สิงหนวัติกุมาร.

สิงหนวัติกุมาร

สิงหนวัติกุมาร เป็นตำนานที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่งที่แพร่หลายทางภาคเหนือของประเทศไทย กล่าวถึงอาณาเขตเมืองเชียงแสน เนื้อหาพยายามเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา แสดงคำทำนายหรือพุทธพยากรณ์ในตำนาน ขณะที่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงการสร้างเมืองของสิงหนวัติกุมารในเขตราบลุ่มน้ำกก การตั้งเมืองนาคพันธุสิงหนวตินคร[1]

การตีพิมพ์

ตำนานได้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479[2] แต่ฉบับพิมพ์นี้มีการตัดทอนข้อความบางตอนออกไปด้วยคิดว่าไม่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นยังมีการพิมพ์โดยปริวรรตจากภาษาไทยล้านนาในพับสาฉบับของขุนนิวรณ์โรคาพาธ จังหวัดเชียงราย สงวน โชติสุขรัตน์ เผยแพร่ในประชุมตำนานลานนาไทยภาคที่ 1 พ.ศ. 2515 และตำนานสิงหนวัติกุมาร ฉบับสอบค้นของมานิต วัลลิโภคม

เนื้อหา

ตำนานมีความย่อว่าพระเจ้าสิงหนวัติได้อพยพผู้คนเดินทางลงมาจากทางตอนใต้ โดยได้ร่วมกับชนพื้นเมืองในการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นมาและเรียกว่า นาคพันธุสิงหนวัตินคร (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) มีเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี ต่อมามีอาณาเขตกว้างใหญ่ ทางทิศตะวันออกตั้งแต่แคว้นตังเกี๋ยของเวียดนามปัจจุบัน ไปจดแม่น้ำสาละวิน รัฐฉาน ประเทศพม่า ทางเหนือจากบริเวณเมืองหนองแส มณฑลยูนนานของจีนลงมาถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ถึงสมัยพระเจ้าพังคราช อาณาจักรโยนกเชียงแสนถูกขอมรุกรานจนต้องอพยพราษฎรไปสร้างเมืองใหม่ที่เวียงสีทอง ริมฝั่งแม่น้ำแม่สาย ต่อมาพระเจ้าพรหมมหาราชซึ่งเป็นราชโอรสขับไล่ขอมได้สำเร็จ จึงเชิญเสด็จพระเจ้าพังคราชกลับไปครองเชียงแสนตามเดิม ส่วนพระเจ้าพรหมมหาราชได้พาผู้คนไปสร้างเมืองไชยปราการทางใต้ของเชียงแสน เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันขอมกับมาขึ้นไปรุกราน[3]

ตำนานสิงหนวัติมีปัญหาที่ถกเถียงกันมาแต่เดิมคือเรื่องของเวลา คือตัวเลขศักราช เนื่องจากเป็นเอกสารต้นฉบับตัวเขียนที่คัดลอกกันต่อ ๆ มา และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดความผิดพลาดในการคัดลอก อีกทั้งศักราชที่ใช้ในตำนานปรากฏว่ามีถึง 3 แบบ ซึ่งตำนานเรียกว่าโบราณศักราช ทุติยศักราช และตติยศักราช โดยไม่บอกว่าเป็นศักราชอะไร ทำให้มีการแปลความหมายเวลาในตำนานผิดพลาดมาแต่สมัยโบราณ แต่มีการวิเคราะห์ว่า โบราณศักราชนั้นคืออัญชนะศักราช ซึ่งเก่ากว่าพุทธศักราช 148 ปี ทุติยศักราช คือพุทธศักราช เป็นปีหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และตติยศักราช คือมหาศักราช ซึ่งหลังกว่าพุทธศักราช 621 ปี[4]

อ้างอิง

  1. ไข่มุก อุทยาวดี. "เนื้อหาของตำนานในท้องถิ่นของประเทศไทย" (PDF).
  2. "ตำนานสิงหนวัติกุมาร" (PDF). สำนักนายกรัฐมนตรี.
  3. "เมืองโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  4. "พระเจ้าพรหมมหาราช ในตำนานล้านนา นัยสำคัญของกษัตริย์สืบสายทางธรรม VS สายเลือด". ศิลปวัฒนธรรม.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
สิงหนวัติกุมาร
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?