For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ดองดึง.

ดองดึง

ดองดึง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Liliales
วงศ์: Colchicaceae
สกุล: Gloriosa
สปีชีส์: G.  superba
ชื่อทวินาม
Gloriosa superba
L.
ชื่อพ้อง
  • Eugone superba
  • Gloriosa rothschildiana
  • Methonica superba

ดองดึง (อังกฤษ: Climbing Lily, Turk's cap, Superb Lily; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gloriosa superba) หรือ ดาวดึง, หัวฟาน, หัวขวาน, พันมหา (อีสาน) เป็นพืชชนิดหนึ่งจำพวกหัว ต้นมีลักษณะเป็นเถาปลายตั้ง ใบเดี่ยวรูปหอก ส่วนปลายแหลมยาวบิดม้วนช่วยยึดเกาะ ลักษณะของดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบเรียวยาว ขอบของดอกบิดเป็นคลื่นปลายกลีบมีสีแดง ที่โคนหากบานใหม่ ๆ จะมีสีเหลือง แต่เมื่อแก่จะมีสีส้ม ผลเป็นรูปกระสวยเมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดมีสีส้ม หัวกลมเรียวมีหงอนเหมือนขวาน มักขึ้นตามป่าดงดิบเขาชื้น หรือที่รกร้างว่างเปล่าที่มีความชุ่มชื้นสูง ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดหรือแยกเหง้า

สรรพคุณ

[แก้]
  • หัว เมื่อนำมาตำแล้วใช้ทาจะมีสรรพคุณช่วยแก้โรคปวดข้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ส่วนหัวแห้งหากนำมาปรุงเป็นยารับประทานจะสามารถรักษาโรคเรื้อน กามโรค ขับลม ซึ่งหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเกิดอันตรายได้
  • ราก มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด ลดเสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง
  • เมล็ดและหัวของดองดึงนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ ส่วนหัวของดองดึงมีพิษถึงตาย[1]

สารที่สำคัญในดองดึง

[แก้]

ส่วนหัวมีสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ colchicine, superbine, gloriosine และแอลคาลอยด์อื่น ๆ สาร colchicine มีสรรพคุณในการรักษาโรคปวดข้อได้ดี แต่เป็นมีพิษต่อเซลล์โดยไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งทำให้สามารถนำไปรักษาโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครโมโซม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผสมพันธุ์ให้แก่พืช เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่

โทษของดองดึง

[แก้]

สาร colchicine ภายในดองดึงนั้นส่งผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษนั้นจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับประทานสารนี้เข้าไปในร่างกาย อาการคือ จะรู้สึกแสบร้อน ในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ มีความรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก กลืนไม่ลง คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง อุจจาระร่วง ปวดท้องปวดเบ่ง จนไม่มีอุจจาระ สาเหตุเป็นเพราะร่างกายเสียน้ำมาก ส่งผลให้หมดสติ หากไม่รีบแก้ไข อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงและตายในที่สุด

โทษที่เกิดจากการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ หลังจากที่ได้รับสารพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมง จะเป็นช่วงที่อาการหนักที่สุด การขับถ่ายสารออกจากร่างกายจะเป็นไปอย่างช้าๆ พิษของสารที่เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้ง จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้รับสารนี้เข้าไป และจะเกิดเป็นพิษต่อคนที่กินนมที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555
  • สุดยอดสมุนไพรธรรมชาติที่ควรรู้ ศักดิ์ บวร สมิต,สนพ. ปีที่พิมพ์ มค.2543
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ดองดึง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?