For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ดนตรีสมัยบารอก.

ดนตรีสมัยบารอก

ดนตรีสมัยบารอก หรือบางแห่งเรียกว่า ดนตรีบารอก (อังกฤษ: Baroque music) เป็นลักษณะดนตรียุโรปคลาสสิก ราว ค.ศ. 1600-1750[1] เกิดขึ้นหลังดนตรีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และเกิดก่อนดนตรีสมัยคลาสสิก มีคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคคือ โยฮัน เซบัสทีอัน บัค, อันโตนีโอ วีวัลดี, ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี, จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล, อาร์คันเจโล คอเรลลี, คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี, ฌ็อง-ฟีลิป ราโม, เฮนรี เพอร์เซล ในยุคนี้ผู้ประพันธ์เพลงและผู้แสดงจะใช้องค์ประกอบทางด้านดนตรีที่ซับซ้อนมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบเสียงและได้พัฒนาการเล่นเครื่องดนตรีแบบใหม่ ดนตรีสมัยบารอกได้ขยับขยายขนาด ความกว้าง ความซับซ้อนของการแสดงเครื่องดนตรี

ที่มาของคำ

[แก้]

ทางด้านดนตรี คำว่า "บารอก" มีความหมายแนวทางที่กว้างจากภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง โดยมากในยุโรป เป็นงานดนตรีที่ประพันธ์ในช่วง 160 ปีก่อน การใช้คำว่า "บารอก" อย่างมีระบบทางด้านดนตรี เพิ่งมีการพัฒนาไม่นานนี้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1919 เมื่อควร์ท ซัคส์ พยายามที่จะประยุกต์ลักษณะ 5 ประการของทฤษฎีดนตรีที่มีระบบของไฮน์ริช เวิล์ฟลิน[2] ในภาษาอังกฤษ คำนี้เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1940 ในงานเขียนของแลงและบูคอฟเซอร์[3] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ยังคงถือว่ายังมีการโต้เถียงกันในวงการศึกษาอยู่ โดยเฉพาะในฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ถึงแม้กระนั้นก็ได้รวมเพลงที่มีความหลากหลายในลักษณะดนตรีของจาโกโป เปรี, โดเมนีโก สการ์ลัตตี และโยฮัน คริสทีอัน บัค รวมเข้าใช้เป็นคำเดียว คือ "ดนตรีสมัยบารอก" (Baroque music) ขณะนี้คำนี้กลายเป็นคำที่ใช้แพร่หลายและยอมรับในแนวเพลงที่กว้างเช่นนี้[4] และยังมีประโยชน์ในการจำแนกแนวเพลงก่อนหน้านี้ (สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) และหลังจากนี้ (คลาสสิก) ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ดนตรี

ลักษณะ

[แก้]

ในสมัยบารอก เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องเล่นประชันกัน เช่น เสียงร้องประชันกับเครื่องดนตรี หรือการเดี่ยวประชันเครื่องดนตรีบ้าง ซึ่งเรียกกันว่า Stile Concertante มีการใช้ บัสโซกอนตีนูโว (Basso Continuo) คือการที่เสียงเบส (เสียงต่ำ) เคลื่อนที่ตลอดเวลา โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลขบอกถึงการเคลื่อนที่ไปของเบส รวมถึงเสียงแนวอื่น ๆ ด้วย ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นบาสโซคอนตินิวโออาจเป็นคีย์บอร์ด เช่น ออร์แกน ฮาร์ปซิคอร์ด หรือเป็นกลุ่มของเครื่องดนตรี เช่น วิโอลา เชลโล บาสซูน

มีการใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์แทนโหมด (Mode) รูปพรรณของเพลงเป็นแบบสอดประสานทำนอง ที่เรียกว่า Contrapuntal เริ่มมีการใช้การประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ การเน้นความสำคัญของทำนองหลักโดยมีเสียงอื่นเล่นเสียงประสานคลอประกอบ มีการด้นสด (Improvisation) ของนักดนตรี โดยนักดนตรีจะแต่งเติมบทเพลง เริ่มมีการกำหนดความเร็วจังหวะของเพลง และความหนักเบาของเพลงลงในผลงานการประพันธ์ เช่น Adagio Andante และAllegro

รูปแบบของเพลงบางประเภทมีการพัฒนาจนมีแบบแผนแน่นอน ได้แก่ ฟิวก์ ลักษณะของเพลงร้องของดนตรีสมัยบารอก ได้แก่ โอเปร่า คันตาตา และออราทอริโอ ส่วนลักษณะรูปแบบ (Form) ของเพลงบรรเลง ได้แก่ โซนาตา คอนแชร์โต และเพลงชุด (Suite) ซึ่งเพลงชุดเป็นการนำเพลงจังหวะเต้นรำที่มีหลายลักษณะมาบรรเลงต่อกันเป็นท่อน ๆ เพลงจังหวะเต้นรำแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเพลงชุด ได้แก่ Allemande, Courante, Sarabande, Gavotte, Bourree, Minuet และGigue เป็นต้น

เพลงโบสถ์ยังเป็นที่นิยมในการประพันธ์ เพลงที่ประพันธ์กันในยุคนี้ คือ เพลงแมส โมเท็ต คันตาตา ออราทอริโอ และแพสชั่น (Passion) คือเพลงที่บรรยายเกี่ยวกับพระเยซูถูกตรึงกางเขน เป็นต้น

เครื่องดนตรีของดนตรีแนวนี้ คือการใช้เครื่องสายตระกูลวิโอลค่อย ๆ ลดความนิยมในการใช้ลง คงหลงเหลืออยู่เพียงการพัฒนาที่กลายมาเป็นดับเบิลเบสในปัจจุบัน เครื่องสายที่เข้ามาแทนที่คือ ตระกูลไวโอลิน ซึ่งประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอล่า และเชลโล ออร์แกนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และเริ่มมีการพัฒนาเปียโน เครื่องดนตรีเครื่องเป่าที่ใช้ในยุคนี้ คือ โอโบ บาสซูน และฟลูต เครื่องดนตรีที่ใช้ในการผสมวงของวงออร์เคสตรายังไม่มีการกำหนดเป็นที่แน่นอน

การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนาจนเป็นลักษณะการบันทึกโน้ตที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ การใช้บรรทัดห้าเส้น การใช้กุญแจโซ (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนค่าความยาวโน้ต และตำแหน่งของตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นแทนระดับเสียง และยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะ มีเส้นกั้นห้อง และสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี

คีตกวี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Palisca, Grove online
  2. Sachs 1919.
  3. Palisca, Grove Online
  4. Palisca, Grove online
  • Palisca, Claude. "Baroque", Grove Music Online, ed. L. Macy (Accessed August 21, 2007), (subscription access) เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Sachs, Curt. 1919. "‘Barokmusik". Jahrbuch der Musikbibliothek Peters 1919, 7–15.
  • คมสันต์ วงค์วรรณ์. ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ดนตรีสมัยบารอก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?