For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ชุมพล จุลใส.

ชุมพล จุลใส

ชุมพล จุลใส
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 24​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​ 2564
ก่อนหน้าศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
ถัดไปอิสรพงษ์ มากอำไพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางวันทนีย์ จุลใส

ชุมพล จุลใส (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2513) เป็นอดีต​สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 3 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]

ประวัติ

[แก้]

นายชุมพล จุลใส (ชื่อเล่น: ลูกหมี) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายบุญธรรม และ นางหนูจวน จุลใส[2] และเป็นน้องชายของ นายสุพล จุลใส ชุมพลสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนศรียาภัย ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สมรสกับ นางวันทนีย์ จุลใส มีบุตร-ธิดา 2 คน

การทำงาน

[แก้]

นายชุมพล เข้ารับราชการตำรวจในตำแหน่งลูกแถวงานป้องกันและปราบปรามประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2535 ต่อมา ใน พ.ศ. 2543 ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้บังคับหมู่งานสืบสวนตำรวจภูธร จังหวัดชุมพร

งานการเมือง

[แก้]

นายชุมพล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ใน พ.ศ. 2546 และดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ใน พ.ศ. 2547 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

นายชุมพล จุลใส ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์​

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2553

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2553 นายชุมพลซึ่งถือว่าเป็นคนสนิทของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และรองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น นายชุมพลได้อยู่เคียงข้างนายสุเทพเสมอ โดยเป็นผู้ถือปืนอูซี่อารักขานายสุเทพ ในอาคารรัฐสภา ในครั้งที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บุกเข้ามาในพื้นที่อาคารรัฐสภาในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 จนได้รับฉายาว่า "ลูกหมีอูซี่"[3]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายชุมพลได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง โดยเป็นหนึ่งใน 9 แกนนำกปปส. ร่วมกับคนรุ่นอายุเดียวกัน คือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และนายสกลธี ภัททิยกุล ซึ่งนายชุมพลยอมรับว่าตนเป็นผู้ที่ใจร้อนมุทะลุมากที่(สุด[4] [5] เขาได้เคยกล่าวว่า เขาขอเป็นเห็บหมาดีกว่าเป็นขี้ข้าทักษิณ[6]

เหตุการณ์ภายหลัง

[แก้]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกนายชุมพลเป็นเวลา 9 ปี 24 เดือน พร้อมทั้งให้ตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี[7] และหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสมาชิกภาพของเขา

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของนายชุมพล ผู้ถูกร้องที่ 1 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร. วัชระ ศิลป์เสวตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2556
  3. "ทำความรู้จัก 'ลูกหมีอูซี่' คนสนิท 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' (ชมคลิป)". ไทยรัฐออนไลน์. 23 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "4 เสือ กปปส. เวทีสวนลุมพินี 27 04 57". ยูทิวบ์. 27 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. บิ๊กตู่ปัดงอนเลิกจ้อ ยันที่ชง4คำถาม
  7. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  8. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "5 แกนนำ กปปส." พ้นสภาพความเป็นส.ส.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ชุมพล จุลใส
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?