For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ชาวไทยในอินโดนีเซีย.

ชาวไทยในอินโดนีเซีย

ไทยในอินโดนีเซีย
ประชากรทั้งหมด
600 คน (พ.ศ. 2564)[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จาการ์ตา · บันดุง · ยกยาการ์ตา · ซูราการ์ตา · เมดัน
 อินโดนีเซีย
ภาษา
มลายูปัตตานี · ไทย · อินโดนีเซีย
ภาษาพื้นเมืองอินโดนีเซียอื่น ๆ
ศาสนา
อิสลาม · พุทธ

ชาวไทยในอินโดนีเซีย คือกลุ่มชนผู้มีเชื้อสายไทยหรือมีสัญชาติไทย มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ทั้งอย่างถาวรหรือชั่วคราว ชาวไทยในอินโดนีเซียนี้อาศัยกระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น จาการ์ตา, บันดุง, ยกยาการ์ตา, ซูราการ์ตา และเมดัน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาศาสนาอิสลาม บางส่วนเป็นเป็นนักธุรกิจ, ข้าราชการ และพระสงฆ์

ประวัติ

ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวสยามเข้าไปค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ ในอินโดนีเซียมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรสุโขทัย[2] เคยมีการติดต่อกับรัฐสุลต่านปาไซตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16[3] ดังการค้นพบเครื่องสังคโลกในอินโดนีเซียจำนวนมาก[2] และมีการค้าขายเรื่อยมาจนถึงอาณาจักรอยุธยา[4] โดยมีการตั้งสถานีการค้าและชุมชนสยามในอินโดนีเซียด้วย[5]

ประชากรไทยในอินโดนีเซีย
แบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2555 800—    
2560 2,511+213.9%
2564 600−76.1%
อ้างอิง: กระทรวงการต่างประเทศ[6][7][1]

ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีทรงลี้ภัย และเลือกประทับที่เมืองบันดุง หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทับ ณ พระตำหนักประเสบัน (Preseban) ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีประทับ ณ พระตำหนักดาหาปาตี (Dahapati) พระตำหนักทั้งสองตั้งอยู่ที่ถนนจีปากันตี (Cipaganti) ด้านหน้าพระตำหนักทั้งสองมีวงเวียนขนาดย่อมชื่อวงเวียนสยาม (Bunderan Siam) เจ้านายทั้งสองพระองค์ประทับที่นั่นจนกระทั่งสิ้นพระชนม์[8]

ปัจจุบันมีชาวไทยเข้ามาอาศัยในประเทศอินโดนีเซีย โดยมากเป็นนักศึกษามุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ราว 400-500 คน ส่วนใหญ่เข้าศึกษาด้านอิสลามศึกษาและครุศาสตร์กระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ นอกนักเป็นนักธุรกิจ คู่สมรสชาวไทย เจ้าหน้าที่องค์การนานาชาติ ข้าราชการ และพระสงฆ์ที่เข้าไปเผยแผ่ศาสนา[6]

นอกจากนี้ยังมีลูกเรือประมงชาวไทยที่ถูกหลอกไปทำงานเป็นแรงงานทาส ที่ต่อมาได้หลบหนีออกจากเรือไปอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านชาวประมงในแถบเมืองอัมบน (Ambon), ตวล (Tual) และเบนจีนา (Benjina) จังหวัดมาลูกู[9] โดยเฉพาะที่เมืองตวล บางคนอาศัยอยู่อย่างหลบซ่อนนานกว่า 18 ปี[10] มีคนไทยตกค้างอยู่ 8 คน (พ.ศ. 2562) พวกเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยเพราะไม่มีบัตรประชาชน[11] ส่วนเกาะเบนจีนามีคนไทยตกค้างอยู่ 5 คน (พ.ศ. 2558)[12] พ.ศ. 2558 รัฐบาลไทยส่งชุดเฉพาะกิจเข้าสำรวจลูกเรือชาวไทยที่ถูกทอดทิ้งตามเกาะแก่งต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย พบว่ามีคนไทยตกค้างไม่ต่ำกว่า 2,000 คน[13]

วัฒนธรรม

พระพุทธรูปศิลปะไทย ณ วัดพรหมวิหารอาราม จังหวัดบาหลี

ศาสนา

ในปี พ.ศ. 2555 มีชาวไทยจำนวน 800 คน ราว 400-500 คน เป็นนักศึกษามุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา โดยมีวัดที่อยู่ภายใต้การดูแลของพระธรรมทูตไทยจำนวน 29 แห่ง และมีโรงเรียนธรรมวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับยุวชนพุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียในกำกับอีกหนึ่งแห่ง[6]

สมาคมหรือชมรม

มีสมาคมหรือชมรมของชาวไทย 4 แห่ง ดังนี้[6]

  1. ชมรมนักธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
  2. ชมรมสตรีไทยในอินโดนีเซีย
  3. ชมรมกอล์ฟคนไทยในอินโดนีเซีย
  4. ชมรมนักศึกษาไทย มี 3 ชมรม ได้แก่
    1. ชมรมนักศึกษาไทยมุสลิมในอินโดนีเซีย
    2. ศูนย์ประสานงานนักศึกษาไทยเมืองยอกยาการ์ตา-เมืองโซโล
    3. ศูนย์ประสานงานนักศึกษาไทยเมืองเมดาน (ยกเลิกแล้ว)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "สถิติจำนวนคนไทยใน ตปท. ประจำปี 2564" (PDF). กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ. 28 กุมภาพันธ์ 2565. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ทองแถม นาถจำนง (5 ตุลาคม 2559). "มุสลิมในอาณาจักรอยุธยา : ถิ่นฐาน". สยามรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-20. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ทวีศักดิ์ เผือกสม. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย : รัฐจารีตบนหมู่เกาะ ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555, หน้า 33-34
  4. อาคม รวมสุวรรณ. "จากโล้สำเภา ถึงเรื่องราวลับเรือสำเภาฝรั่งสมัยกรุงศรีอยุธยา". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ทองแถม นาถจำนง (16 มีนาคม 2560). "ประวัติสัมพันธไมตรีสยาม-เนเธอร์แลนด์ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ (2)". สยามรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "คนไทยในอินโดนีเซีย" (PDF). สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา. 15 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ข้อมูลสถิติจำนวนคนไทยที่พำนักในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเทศอินโดนีเซีย" (PDF). กรมการกงสุล. 17 มกราคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2560. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. อรอนงค์ ทิพย์พิมล (8 มกราคม 2555). "บันดุง, ปารีสแห่งชวา กับฝันร้ายของเจ้าสยาม". บล็อกกาซีน. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "คนไทยนับร้อย ตกนรกในอินโด". ไทยรัฐออนไลน์. 19 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. นนทรัฐ ไผ่เจริญ (4 พฤศจิกายน 2559). "8 ลูกเรือประมงไทยที่ติดค้างบนเกาะในอินโดนีเซียได้กลับบ้านแล้ว". เบนาร์นิวส์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พบเด็กในสถานสงเคราะห์-ลูกเรือไทยถูกหลอก ปล่อยทิ้งบนเกาะตวลแดนอิเหนา อยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ตามป่าเขา บ้างถูกกดขี่จนเสียสติ บ้างเสียชีวิตโยนศพทิ้งบ่อน้ำ บางคนถูกหลอกขึ้นเรือประมงตั้งแต่ยังเด็ก". สำนักข่าวชายขอบ. 1 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. คิม ไชยสุขประเสริฐ (26 มีนาคม 2558). "โผล่เพจเฟซบุ๊กกำลังใจสู่"ฐปณีย์" หลังท่านผู้นำเรียกรายงานตัว เหตุเกาะติดประเด็นลูกเรือไทยในอินโดฯ". นักข่าวพลเมือง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-02. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. อิสสริยา พรายทองแย้ม (15 พฤศจิกายน 2562). "ประมง : เหยื่อค้ามนุษย์ชาวลาวเผยเส้นทาง "จองจำ" จากเรือประมงไทยสู่เกาะในอินโดนีเซีย". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562. ((cite web)): ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ชาวไทยในอินโดนีเซีย
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?