For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จุด 45×90.

จุด 45×90

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
จุด 45×90ตั้งอยู่ในโลก
จุด 45×90
จุด 45×90
จุด 45×90
จุด 45×90
จุด 45×90 แบนแผนที่โลก
จุดตั้งดั้งเดิมของจุด 45×90 ในอเมริกาเหนือ ต่อมาเครื่องหมายดังกล่าวถูกแก้ไขเพื่อแจ้งว่าจุดที่แท้จริงนั้นอยู่ห่างไปประมาณ 324 m (1,063 ft) ไปทางด้านซ้ายหลังของจุดเดิม
ภาพถ่ายใกล้ของหมุดตั้งจุดที่ผิดพลาดในเคาน์ตีมาราทอน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐ

จุด 45×90 เป็นพิกัดบนโลกที่เป็นครึ่งทางระหว่างขั้วโลก เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนแรก และเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา

45° เหนือ 90° ตะวันตก

จุด 45°0′0″N 90°0′0″W / 45.00000°N 90.00000°W / 45.00000; -90.00000 เป็นจุดที่มีชื่อเสียงและมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุด ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 410 m (1,345 ft) ในเมืองริตบร็อก รัฐวิสคอนซิน ใกล้กับเมือง Poniatowski ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีผู้ปกครองจากรัฐ เดิมมีการวางหมุดตั้งไว้ที่หนึ่งโดยทางคณะกรรมการอุทยานของเคาน์ตีมาราทอน จากในนั้นปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) มีการถอนหมุดออกจากที่เดิมและนำไปตั้งบนพื้นที่ที่ถูกต้อง[1] และเปิดให้เข้าชมได้อีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560)[2]

จุดดังกล่าวได้กลายเป็นที่รู้จักจากทาเวิร์นของจอห์น เรย์มอนด์ เจสิซกี ซึ่งตั้งในเมือง Poniatowski ที่เขามีส่วนร่วมในการจัดตั้งจากการค้นพบจุดดังกล่าว[3] โดยพวกเขาไปขายเสื้อยืด 45×90 และลงทะเบียนผู้เยี่ยมชมเป็นสมาชิกของชมรม 45×90 ของเขาอีกด้วย[3] นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) สำนักการประชุมและเยี่ยมชมวิสคอนซินวอซอ/เซนทรัลได้ขอยืมหนังสือลงทะเบียนสมาชิกชมรม 45×90 จากทายาทของจอห์น[4] ทั้งนี้หากได้เข้าเป็นสมาชิกของชมรมดังกล่าว ทางสำนักฯ จะมอบเหรียญทีระลึกให้แก่สมาชิกใหม่

45° เหนือ 90° ตะวันออก

อีกจุดหนึ่งของจุด 45×90 ตั้งอยู่บนพิกัด 45°0′0″N 90°0′0″E / 45.00000°N 90.00000°E / 45.00000; 90.00000 เหนือระดับน้ำทะเล 1,009 m (3,311 ft) โดยจุดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่ถูกละทิ้งในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ใกล้กับเขตแดนมองโกเลีย โดยห่างจากอุรุมชีประมาณ 240 km (150 mi) ไปทางทิศตะวันอกเฉียงเหนือโดยการดำเนินการของรัฐ จุดนี้อยู่บนเขตแดนของมณฑลชีไทและชิงจิว เกร็ก ไมเคิลส์ ชาวอเมริกัน และรูรองเจา พนักงานขับรถแท็กซี่จากเมืองที่ใกล้กันกับชีไท ได้เดินทางไปถึงจุดดังกล่าวโดยตัวเองเป็นระยะทาง 110 กิโลเมตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) และบันทึกการเดินทางครั้งนี้ใน Degree Confluence Project[5] โดยการเดินทางครั้งนี้เขาไปค้นพบจุดดังกล่าวโดยที่ไม่มีหมุดหมายหรือสัญลักษณ์กายภาพใด ๆ แสดงให้เห็นเลย

45° ใต้ 90° ตะวันออก

การค้นหาเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370นั้นได้ค้นหาในจุดที่ใกล้กับจุด 45° ใต้ 90° ตะวันออก จากภาพที่จุดที่ใกล้เคียงที่สุดคือจุดสีแดง ระบุชื่อ Gaofen 1 ในบริเวณมุมซ้ายล่าง

จุดนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พิกัด 45°0′0″S 90°0′0″E / 45.00000°S 90.00000°E / -45.00000; 90.00000 อยู่ลึกลงไปจากระดับน้ำทะเล 3,197 m (10,489 ft) ห่างจากเกาะแซ็งปอลซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ 1,244 km (773 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากแหลมอีเลเฟนต์บนเกาะเฮิร์ด 1,480 km (920 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากปอโรฟร็องแซในหมู่เกาะแกร์เกแลน 1,569 km (975 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากทวีปแอนตาร์กติกา 2,425 km (1,507 mi)ไปทางทิศใต้ ห่างจากแผ่นดินเมืองออกัสตา รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียซึ่งเป็นเขตที่ผู้คนอาศัยอยู่ที่ใกล้ที่สุด 2,448 km (1,521 mi)ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเกาะเรอูเนียง 4,080 km (2,535 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเบงเกอร์รา ประเทศโมแซมบิก 5,550 km (3,450 mi) และห่างจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของหาดมอสเซล แอฟริกาใต้ 5,800 km (3,600 mi)

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) มีการค้นหาเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370ที่สูญหายไปในบริเวณมหาสมุทรอินเดียตอนใต้หลังจากมีการพบเจอภาพสิ่งคล้ายซากเครื่องบินโดยดาวเทียมที่บริเวณจุดกึ่งกลางของพิกัด 45° ใต้ 90° ตะวันออก[6][7]

45° ใต้ 90° ตะวันตก

เป็นจุดที่ตั้งทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง Guaitecas ของชิลี 1,297 km (806 mi) และอยู่เหนือทวีปแอนตาร์กติกา 3,070 km (1,910 mi) พื้นผิวของพิกัด 45°0′0″S 90°0′0″W / 45.00000°S 90.00000°W / -45.00000; -90.00000 ตั้งอยู่ลึกใต้ระดับน้ำทะเล 4,180 m (13,730 ft)

ดูเพิ่มเติม

อ้างอิง

  1. "45 X 90 Geographical Marker". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-04.
  2. "45 X 90 Geographical Marker". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-04.
  3. 3.0 3.1 Hart, Bill. "Gesicki, John Raymond". Marathon County Historical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  4. "Center of the Northwest Hemisphere". Attractions & Landmarks. City of Wausau, Wisconsin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-10. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  5. "45°N 90°E". Degree Confluence Project. 13 April 2004. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  6. "Malaysia plane search: China checks new 'debris' image". BBC News. 22 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  7. Murdoch, Lindsay (22 March 2014). "Missing Malaysia Airlines flight MH370: Floating debris spotted by Chinese satellite image". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จุด 45×90
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?