For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จันทรุปราคา.

จันทรุปราคา

จันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; อังกฤษ: lunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลกเข้าสู่เงามืด (umbra) โดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับโหนดของวงโคจร (orbital node)

จากภาพที่ปรากฏเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ฝังเงามัวเริ่มกลายเป็นสีขาวเมื่อดวงจันทร์บางส่วนค่อยๆเข้าไปในเงามืดและทำให้เห็นสีแดงตรงขอบมืดๆ

จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ

ประเภทของจันทรุปราคา

เงาของโลกที่ทอดไปในอวกาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงามัว (Penumbra Shadow) เป็นเงาส่วนนอกสุด เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะมีความสว่างลดลงเล็กน้อย และ เงามืด (Umbra Shadow) เป็นเงาที่มืดสนิท เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะทำให้เกิดส่วนมืดเว้าแหว่ง จึงแบ่งประเภทของปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ดังนี้[1]

จันทรุปราคาเงามัว

จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด สามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นค่อนข้างยาก

จันทรุปราคาบางส่วน

จันทรุปราคาบางส่วน (Partial lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง

จันทรุปราคาเต็มดวง

จันทรุปราคาเต็มดวง (Total lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เนื่องจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะถูกหักเหเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก สีแดงและสีส้มเบี่ยงทิศทางเข้าหากลางเงามืด จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง

จันทรุปราคาแบบกึ่งกลาง

จันทรุปราคาแบบกึ่งกลาง (Central lunar eclipse) เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงในระหว่างที่ดวงจันทร์ผ่านใจกลางเงาของโลกไปสัมผัสกับจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์(antisolar point) ซึ่งเป็นจุดที่จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ 180° จันทรุปราคาประเภทนี้ค่อนข้างหายาก มีอุปราคาที่ใหญ่ และระยะเวลาคราสจะยาวนานกว่าจันทรุปราคาเต็มดวงที่ไม่ได้ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

ซีลินิเลียน

ซีลินิเลียน (Selenelion) เป็นจันทรุปราคาที่สามารถสังเกตเห็นทั้งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ที่เกิดจันทรุปราคาพร้อมกันได้ เกิดจากการหักเหโดยชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ปรากฏดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่เกิดจันทรุปราคาอยู่สูงเกินตำแหน่งจริง จันทรุปราคาประเภทนี้ สามารถสังเกตการณ์ได้บนพื้นที่ที่สูงกว่าขอบฟ้า

ช่วงเวลา

ภาพอธิบายช่วงเวลาของจันทรุปราคา
  • P1 : เริ่มต้นการเข้าสู่คราสเงามัว เงามัวของโลกสัมผัสกับขอบของดวงจันทร์
  • U1 : เริ่มต้นของคราสบางส่วน เงาของโลกสัมผัสกับขอบของดวงจันทร์
  • U2 : เริ่มต้นของคราสเต็มดวง พื้นผิวของดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกทั้งหมด
  • กึ่งกลางคราส : ระยะสูงสุดของคราส ดวงจันทร์อยู่ใกล้ศูนย์กลางของโลกมากที่สุด
  • U3 : สิ้นสุดของคราสเต็มดวง ขอของดวงจันทร์ออกจากพื้นผิวโลก
  • U4 : สิ้นสุดคราสบางส่วน เงาของโลกออกจากพื้นผิวดวงจันทร์
  • P4 : สิ้นสุดคราสเงามัว เงามัวของโลกไม่สัมผัสกับดวงจันทร์อีกต่อไป

ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

อองเดร ดังชง คิดค้นมาตราต่อไปนี้ (เรียก มาตราดังชง) เพื่อจัดความมืดและบ่งบอกถึงลักษณะโดยรวมของจันทรุปราคา[2]

L=0: อุปราคามืดมาก แทบมองไม่เห็นดวงจันทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลางคราสเต็มดวง (mid-totality)
L=1: อุปราคามืด มีสีเทาหรือออกน้ำตาล แยกแยะรายละเอียดได้ยาก
L=2: อุปราคาสีแดงเข้มหรือสนิม เงากลางมืดมาก ขณะที่ขอบนอกของอัมบราค่อนข้างสว่าง
L=3: อุปราคาสีแดงอิฐ เงาอัมบราปกติมีขอบสว่างหรือสีเหลือง
L=4: อุปราคาสีแดง-ทองแดงหรือส้มสว่างมาก เงาอัมบราสีออกน้ำเงินและขอบสว่างมาก

และตัวอักษรตัว l หมายถึง luna

หรือดวงจันทร์

ประวัติการเกิดจันทรุปราคา

จากข้อมูลที่ทราบจะมีข้อมูลดังนี้

1.จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นจันทรุปราคาแรกของจันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2557 และยังเป็นจันทรุปราคาครั้งแรกสำหรับอุปราคาที่อยู่ในเทแทรด (ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 4 ดวงติดต่อกัน) ซึ่งไม่ได้พบในประเทศไทย

2.จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยสังเกตได้ในช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน ในทวีปอเมริกา ขณะที่ในทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และตะวันออกกลาง

3.จันทรุปราคา กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกิดขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยดวงจันทร์เคลื่อนผ่านที่ศูนย์กลางของเงาของโลก ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกของปรากฏการณ์จันทรุปราคาศูนย์กลาง นับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปัจจัยในการเกิดจันทรุปราคา

จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้

ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

1 ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
2 ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น

ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทำนายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้

การสังเกตจันทรุปราคาแตกต่างจากสุริยุปราคา จันทรุปราคาส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตได้จากบริเวณใดๆ บนโลกที่อยู่ในช่วงเวลากลางคืนขณะนั้น ขณะที่สุริยุปราคาจะสามารถสังเกตได้เพียงบริเวณเล็ก ๆ เท่านั้น

หากขึ้นไปยืนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบนโลก ก็จะสามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่โลกกำลังบังดวงอาทิตย์อยู่ในเวลานั้น

การเกิด

ทุกปีมีจันทรุปราคาอย่างน้อยสองครั้งและมีได้มากถึงห้าครั้ง แม้จันทรุปราคาเต็มดวงจะมีน้อยมาก หากทราบวันที่และเวลาของอุปราคาหนึ่งแล้ว สามารถพยากรณ์การเกิดอุปราคาอีกครั้งหนึ่งโดยใช้วงรอบอุปราคาอย่างซารอส

อุปราคาเกิดเฉพาะในฤดูอุปราคา เมื่อดวงอาทิตย์เข้าใกล้ปมขึ้นหรือลงของดวงจันทร์

การจำลองลักษณะปรากฏของดวงจันทร์ก่อน ระหว่างและหลังจันทรุปราคาเต็มดวง (ตัวอย่างเมื่อ 8 ตุลาคม 2557)

อ้างอิง

  1. Nuttapong. "หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน เตรียมตัวมาส่องปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวครั้งที่ 2 ของปี". สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2023.
  2. Paul Deans and Alan M. MacRobert. "Observing and Photographing Lunar Eclipses". Sky and Telescope. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จันทรุปราคา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?