For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for จงรัก จุฑานนท์.

จงรัก จุฑานนท์

จงรัก จุฑานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 เมษายน พ.ศ. 2493 (74 ปี)
อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสอรอนงค์ จุฑานนท์

พลตำรวจเอก จงรัก จุฑานนท์ (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2493) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสาร Cop's Magazine สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 รองประธานคนที่ 1 วุฒิสภาไทย ชุดที่ 11[1] อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[2] และอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 เป็นหลานปู่ของหลวงบำราบประทุษฐ (นิล จุฑานนท์) เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

[แก้]

พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2493 ที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี[3] สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมการศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4111 เป็นผู้ให้ความรู้ด้านกฎหมาย และการสอบสวนคนหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีบุตร2คน คือ พันตำรวจโท มงคลรักษ์ จุฑานนท์ และนายจุฑาเทพ จุฑานนท์

ชีวิตราชการส่วนใหญ่อยู่ในนครบาลมาโดยตลอด นับเป็นลูกหม้อขนานแท้ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.ต.อ.จงรัก ดำรงตำแหน่งสำคัญมาแล้วหลายตำแหน่ง เช่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 จนเกษียณในตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[4]ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2551 ถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 ในรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช

ในกลางปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่าใครคือผู้ที่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.3 สนับสนุน พล.ต.อ.จงรัก[5]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหา[6]

การรับราชการ

[แก้]
  • 4 กันยายน พ.ศ. 2551 กรรมการในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ปป.1)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (หัวหน้ารับผิดชอบงานสอบสวน)
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2540 รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ผู้บังคับการกองบังคับการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • 23 มกราคม พ.ศ. 2537 ผู้บังคับการกองคดี
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 รองผู้บังคับการกองคดี
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ผู้กำกับการกองคดี (ช่วยราชการที่สำนักงานอธิบดีกรมตำรวจด้วยในด้านกฎหมายและกำลังพล)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 รองผู้กำกับการ 1 กองปราบปราม
  • พ.ศ. 2526 สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน
  • พ.ศ. 2523 สารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางรัก
  • พ.ศ. 2521 หัวหน้าแผนกกฎหมาย กองวิชาการ กรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2516 สารวัตรปกครองป้องกัน สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์

พล.ต.อ.จงรัก สมรสกับ นางอรอนงค์ จุฑานนท์ มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ร.ต.ท.มงคลรักษ์ จุฑานนท์ และ นายจุฑาเทพ จุฑานนท์

ฉายานาม

[แก้]

ได้รับฉายาว่า “นายพลองค์บาก” จากกรณีที่เชิญ นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ (เสี่ยเจียง) และ จา พนม มาตกลงจับมือกันเพื่อถ่ายทำหนังเรื่ององค์บาก 2 ให้เสร็จสิ้นหลังขัดแย้งในกองถ่ายมานาน [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สั่งเรียกประชุมใหญ่กฤษฎีกา ตีความเลือก"ปธ.-รองวุฒิสภา"ขัดกม.22 พ.ค.
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
  3. ""ป่าล้อมบ้าน" บ้านแสนสุข... พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-20. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/148/3.PDF
  5. พลตำรวจเอก จงรัก จุฑานนท์
  6. [https://web.archive.org/web/20160304115919/http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302613976&grpid=&catid=01&subcatid=0100 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "สมเจตน์-จงรัก" เข้ารายงานตัวในฐานะ ส.ว.สรรหา หลัง กกต.ประกาศรับรองรายชื่อแล้ว จากมติชน]
  7. เปิดฉายา'สีกากี'สตช.แพะการเมือง'จงรัก'คว้า'นายพลองค์บาก[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
จงรัก จุฑานนท์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?