For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คุรุรามทาส.

คุรุรามทาส

บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ เรื่องการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้
คุรุรามทาส
Guru Ram Das
ภาพสีน้ำบนกระดาษ ประมาณ ค.ศ. 1800
พิพิธภัณฑ์รัฐบาล จันทีครห์
เกิดBhai Jetha Mal Sodhi
24 กันยายน ค.ศ. 1534[1]
Chuna Mandi, ลาฮอร์, รัฐปัญจาบ, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน)
เสียชีวิต1 กันยายน ค.ศ. 1581
Goindval, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย)
ชื่ออื่นคุรุองค์ที่สี่
อาชีพคุรุ
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งเมืองอมฤตสระ[2]
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนคุรุอมรทาส
ผู้สืบตำแหน่งคุรุอรชุน
คู่สมรสBhani Rani
บุตรPrithi Chand, Mahan Dev, and Guru Arjan
บิดามารดาHari Das กับ Mata Daya

คุรุรามทาส (Guru Ram Das) หรือบางเอกสารสะกดว่า คุรุรามดาม เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 4 ของศาสนาซิกข์[2][3] ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1534 ในครอบครัวชาวฮินดูที่มีฐานะยากจนในเมืองละฮอร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน[3][1] ท่านมีชื่อกำเนิดว่า "เชฐา" (Jetha) และถูกทิ้งกำพร้าตั้งแต่อายุเพียง 7 ปี ท่านจึงถูกเลี้ยงดูโดยยายตั้งแต่นั้น[3]

เมื่อท่านอายุได้ 12 ปี ภัย เชธา และยายของท่านได้ย้ายไปอาศัยเมืองโคอินทวัล (Goindval) ซึ่งทำให้ทั้งสองได้พบกับคุรุอมรทาส คุรุศาสดาองค์ที่ 3 ของซิกข์[3] ซึ่งภาอี เชฐา ได้ขอรับตัวเข้าเป็นศิษย์ของท่านคุรุและช่วยปรนิบัติอย่างดี ต่อมาท่านได้สมรสกับลูกสาวของท่านคุรุและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลท่านคุรุอมรทาสอย่างเป็นทางการ ท่านคุรุได้แต่งตั้งให้ภัย เชธา เป็นคุรุศาสดาผู้สืบทอดองค์ต่อไป (องค์ที่ 4) และมอบชื่อใหม่ว่า "คุรุรามทาส" (Guru Ram Das) อันแปลว่า "ทาสหรือผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้า"[3][1][4]

คุรุรามดาสได้เข้าสู่การเป็นผู้นำจิตวิญญาณศาสนาซิกข์ในปี ค.ศ. 1574 และเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1581 ที่บ้านเกิดของท่านในเมืองโคอินทวัล[5] ระหว่างที่ท่านดำเนินการเผยแผ่ศาสนา ท่านได้รับการปรณิบัติและเคารพอย่างดีจากบุตร-ธิดาของท่านคุรุอมรทาสผู้ล่วงลับ และได้ย้ายหลักแหล่งและตั้งศูนย์กลางของชาวซิกข์ขึ้นใหม่ที่ดินแดนที่ท่านคุรุอมรทาสเรียกว่า "คุรุกาจัก" (Guru-ka-Chak)[3] เมืองแห่งนี้ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "รามทาสปุระ" (เมืองของท่านราทาส) (Ramdaspur) และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองอมฤตสาร์ จวบจนปัจจุบัน ซึ่งเมืองอมฤตสาร์แห่งนี้ในปัจจุบันได้เป็นเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ สถานที่แสวงบุญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ อันเป็นที่ตั้งของหริมันทิรสาหิบ หรือ สุวรรณวิหาร ซึ่งท่านได้เริ่มขุดสระน้ำ "สระน้ำอมฤต" ไว้[6][7] ผลงานที่ท่านสร้างไว้นอกจากการตั้งเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ "อมฤตสาร์" แล้ว ท่านยังขยาย "มันจิ" องค์กรเพื่อสนับสนุนและรับบริจาคเพื่อพัฒนาการเผยแผ่ศาสนาซิกข์ ให้กว้างใหญ่และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น[3] ท่านได้แต่งตั้งบุตรของท่านเองเป็นคุรุศาสดาองค์ต่อไป คือคุรุอาร์จัน ซึ่งเป็นคุรุองค์แรกที่ถูกแต่งตั้งโดยสืบเชื้อสายจากบิดาของตน[7][8]

ชื่อของท่านถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของท่าอากาศยานนานาชาติศรีคุรุรามทาสจี (Sri Guru Ram Dass Jee International Airport) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติประจำเมืองอมฤตสาร์ และชื่อของวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลบีคุรุรามทาส (Guru Ram Das Institute of Management and Technology; GRDIMT) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเดห์ราดุน รัฐอุตตราขัณฑ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 G.S. Mansukhani. "Ram Das, Guru (1534-1581)". Encyclopaedia of Sikhism. Punjab University Patiala. สืบค้นเมื่อ 19 January 2017.
  2. 2.0 2.1 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 22–24. ISBN 978-1-898723-13-4.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Publishing. pp. 38–40. ISBN 978-1-4411-5366-1.
  4. Shakti Pawha Kaur Khalsa (1998). Kundalini Yoga: The Flow of Eternal Power. Penguin. p. 76. ISBN 978-0-399-52420-2.
  5. Arvind-pal Singh Mandair (2013). Religion and the Specter of the West: Sikhism, India, Postcoloniality, and the Politics of Translation. Columbia University Press. pp. 251–252. ISBN 978-0-231-51980-9.
  6. W.H. McLeod (1990). Textual Sources for the Study of Sikhism. University of Chicago Press. pp. 28–29. ISBN 978-0-226-56085-4.
  7. 7.0 7.1 Christopher Shackle; Arvind Mandair (2013). Teachings of the Sikh Gurus: Selections from the Sikh Scriptures. Routledge. pp. xv–xvi. ISBN 978-1-136-45101-0.
  8. W. H. McLeod (2009). The A to Z of Sikhism. Scarecrow Press. p. 86. ISBN 978-0-8108-6344-6.
ก่อนหน้า คุรุรามทาส ถัดไป
คุรุอมรทาส คุรุศาสดาของศาสนาซิกข์
คุรุอาร์จัน
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คุรุรามทาส
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?