For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง.

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

โรคหลงตัวเอง
ชื่ออื่นNarcissistic personality disorder, megalomania[1]
A man looking into a pool of water
นาร์ซิสซัสผู้กำลังมองเงาสะท้อนตนเอง วาดโดยการาวัจโจ
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง ความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น[2][3]
การตั้งต้นวัยรุ่น[3]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[3]
สาเหตุไม่ทราบ[4]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคอารมณ์สองขั้ว, การติดยาเสพติด, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล[5]
การรักษายาก[2]
ความชุก1%[4]

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง[6] (อังกฤษ: Narcissistic personality disorder, NPD) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น[3] ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดขึ้นได้ในหลายเหตุการณ์

ยังไม่มีใครรู้สาเหตุของโรคหลงตัวเอง[4] คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตจัดให้โรคนี้อยู่ในกลุ่ม B (cluster B) โรคถูกวินิฉัยด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โรคนี้ต่างจากอาการฟุ้งพล่าน และอาการติดยา

การรักษายังไม่ถูกศึกษามากนัก การบำบัดมักเป็นไปได้ยากเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา[2] เชื่อกันว่าคนประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนมีอายุ บุคลิกภาพนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 โดยโรเบิร์ต วีลเดอร์ (Robert Wealder) โดยชื่อที่ใช้ในปัจจุบันถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2511[7]

อาการ

[แก้]

คนที่เป็นโรคหลงตัวเองจะชอบโอ้อวด ต้องการให้คนอื่นชม ชอบเหยียดหยามผู้อื่น และขาดความร่วมรู้สึกต่อผู้อื่น[8][9] ทำให้ผู้เป็นโรคหลงตัวเองดูเหมือนมีพฤติกรรมที่ดื้อรั้น รู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น และมักคอยหาทางควบคุมผู้อื่นหรือใช้อำนาจแบบผิด ๆ[10] โรคหลงตัวเองต่างกับความมั่นใจในตนเอง โดยคนเป็นโรคนี้มักให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าผู้อื่น และมักไม่เอาใจใส่ความรู้สึกหรือความต้องการของคนรอบข้าง รวมถึงคาดหวังว่าตนเองจะได้รับการปฏิบัติที่เหนือกว่า โดยไม่คำนึงถึงสถานะความสำเร็จที่แท้จริงของตน[11] นอกจากนี้ผู้เป็นโรคนี้มักมีอาการอัตตาอ่อนแอ (fragile ego) ทำให้ไม่สามารถทนต่อคำวิจารณ์ของคนอื่น และมักดูถูกคนอื่นเพื่อให้รู้สึกว่าตนเหนือกว่า

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต พิมพ์ที่ 5 (DSM-5) ระบุว่าบุคคลที่เป็นโรคหลงตัวเองมักมีอาการบางข้อหรือทุกข้อต่อไปนี้:

  1. โอ้อวดเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติราวกับตนอย่างอยู่เหนือกว่า
  2. คงอยู่กับจินตนาการเกี่ยวกับอำนาจ ความสำเร็จ ความฉลาด ความมีเสน่ห์ และอื่น ๆ 
  3. มองว่าตัวเองพิเศษ เหนือกว่าผู้อื่น และเกี่ยวข้องกับคนหรือสถาบันดัง
  4. ต้องการให้คนอื่นชื่นชมตลอดเวลา
  5. รู้สึกว่าตนเองควรได้รับการปฏิบัติแบบพิเศษและผู้อื่นควรเชื่อฟังตน
  6. เอาเปรียบผู้อื่นเพื่อผลดีต่อตนเอง
  7. ไม่ยอมเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ และความจำเป็นของผู้อื่น
  8. อิจฉาผู้อื่นและเชื่อว่าผู้อื่นก็อิจฉาตนเช่นกัน
  9. ขี้โม้และมีพฤติกรรมดื้อรั้น

โรคหลงตัวเองมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือช่วงเข้าสู่ผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายกับโรคหลงตัวเองทว่ามักเป็นการชั่วคราว และไม่เข้าขายของการวินิจฉัยโรค อาการที่แท้จริงของโรคมักเกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์ และไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาผ่านไป DSM-5 ระบุว่าผู้ป่วยต้องแสดงอาการที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นอาการของโรคหลงตัวเอง

สาเหตุ

[แก้]

ไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุของโรคหลงตัวเอง ผู้เชี่ยวชาญมักใช้แบบจำลองชีวจิตสังคม (biopsychosocial model) ของสาเหตุ[12] ซึ่งแปลว่าปัจจัยทางสภาพแวดล้อม สังคม พันธุกรรม และชีวประสาท ล้วนมีผลต่อบุคลิกภาพหลงตัวเอง

พันธุกรรม

[แก้]

หลักฐานชี้ว่าโรคหลงตัวเองสามารถสืบทอดได้ และโอกาสการเกิดโรคสูงขึ้นมากหากมีญาติที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคหลงตัวเอง งานวิจัยเกี่ยวกับการเกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในฝาแฝดพบว่าโรคหลงตัวเองมีอัตราพันธุกรรมสูง[13][14]

อย่างไรก็ตาม ยีนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนที่มีส่วนก่อให้เกิดโรคยังไม่ถูกพบ

สภาพแวดล้อม

[แก้]

เชื่อว่าปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและสังคมก็มีส่วนก่อให้เกิดโรคหลงตัวเอง[12] ในบางคน โรคอาจพัฒนาจากความสัมพันธ์ที่บกพร่องต่อผู้ดูแลที่มักเป็นผู้ปกครอง[15] สิ่งนี้อาจส่งผลให้เด็กมองตนเองว่าไม่สำคัญและขาดการเชื่อมต่อกับผู้อื่น และมักเชื่อว่าตนเองมีบุคลิกภาพบางอย่างที่ไม่ปกติทำให้พวกเขา/เธอไม่มีค่าและไม่เป็นที่ต้องการ[16] เชื่อว่าผู้ปกครองที่ตามใจมากเกินไปหรือที่ใจร้ายและบังคับมากเกินไปอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผล[11][17]

อ้างอิงจาก Leonard Groopman และ Arnold Cooper ปัจจัยต่อไปนี้ถูกระบุโดยนักวิจัยหลายคนว่าเป็นปัจจัยที่อาจส่งเสริมให้เกิดโรคหลงตัวเอง:[18]

  • พื้นนิสัยที่อ่อนไหวมากเกินไปซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
  • การชื่นชมเกินจริงที่ไม่เคยถูกดุลด้วยความคิดเห็นที่เป็นจริง
  • การชื่นชมพฤติกรรมดี หรือการวิจารณ์พฤติกรรมไม่ดีที่มากเกินไป 
  • การที่ผู้ปกครอง ญาติ หรือเพื่อนตามใจและประเมินค่าสูงไป
  • ถูกผู้ใหญ่ชมว่ามีทักษะหรือหน้าตาดี
  • การทารุณกรรมทางอารมณ์อย่างรุนแรงในวัยเด็ก
  • การดูแลที่ไม่สม่ำเสมอจากผู้ปกครอง
  • การเรียนรู้พฤติกรรมชักจูงจากผู้ปกครองหรือเพื่อน
  • ถูกให้ความสำคัญจากผู้ปกครองเพราะพวกเขาต้องการเพิ่มความมั่นใจตนเอง

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Brian Blackwell (case study)
  • Disengaging from a narcissist using the no contact rule or grey rock method
  • Egomania
  • Egotism
  • Hubris
  • Narcissistic abuse
  • Narcissistic leadership
  • Narcissistic parent
  • Narcissistic Personality Inventory
  • Narcissistic rage and narcissistic injury
  • Narcissistic supply
  • Selfishness
  • Superiority complex
  • True self and false self

อ้างอิง

[แก้]
  1. Breedlove, S. Marc (2015). Principles of Psychology. Oxford University Press. p. 709. ISBN 9780199329366. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 Caligor, E; Levy, KN; Yeomans, FE (May 2015). "Narcissistic personality disorder: diagnostic and clinical challenges". The American Journal of Psychiatry. 172 (5): 415–22. doi:10.1176/appi.ajp.2014.14060723. PMID 25930131.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5th ed.). Washington [etc.]: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 645, 669–72. ISBN 9780890425558.
  4. 4.0 4.1 4.2 Sederer, Lloyd I. (2009). Blueprints psychiatry (5th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 29. ISBN 9780781782531. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2017.
  5. Caligor, E; Levy, KN; Yeomans, FE (May 2015). "Narcissistic personality disorder: diagnostic and clinical challenges". The American Journal of Psychiatry. 172 (5): 415–22. PMID 25930131.
  6. "ICD-10-TM Online บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย]". thcc.or.th. สืบค้นเมื่อ 2017-12-30.
  7. O'Donohue, William (2007). Personality disorders : toward the DSM-V. Los Angeles: SAGE Publications. p. 235. ISBN 9781412904223. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016.
  8. American Psychiatric Association (2013), Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.), Arlington: American Psychiatric Publishing, pp. 669–72, ISBN 0890425558
  9. Ronningstam, Elsa (2016), "New Insights Into Narcissistic Personality Disorder", Psychiatric Times, 33 (2): 11
  10. Ronningstam E (2011). "Narcissistic personality disorder: a clinical perspective". J Psychiatr Pract. 17 (2): 89–99. doi:10.1097/01.pra.0000396060.67150.40. PMID 21430487.
  11. 11.0 11.1 Mayo Clinic Staff (18 Nov 2014), "Narcissistic personality disorder: Symptoms", Mayo Clinic, Mayo Foundation for Medical Education and Research, สืบค้นเมื่อ 29 Apr 2016[ลิงก์เสีย]
  12. 12.0 12.1 Paris, Joel (2014), "Modernity and narcissistic personality disorder", Personality Disorders: Theory, Research, and Treatment, 5 (2): 220, doi:10.1037/a0028580
  13. Torgersen, S; Lygren, S; Oien, PA; Skre, I; Onstad, S; Edvardsen, J; Tambs, K; Kringlen, E (December 2000). "A twin study of personality disorders". Comprehensive psychiatry. 41 (6): 416–25. doi:10.1053/comp.2000.16560. PMID 11086146.
  14. Reichborn-Kjennerud, Ted (1 March 2010). "The genetic epidemiology of personality disorders". Dialogues in Clinical Neuroscience. 12 (1): 103–114. ISSN 1294-8322. PMC 3181941. PMID 20373672.
  15. Ken Magid (1987). High risk children without a conscience. Bantam. p. 67. ISBN 0-553-05290-X. สืบค้นเมื่อ 17 November 2012.
  16. Stephen M. Johnson (1 พฤษภาคม 1987). Humanizing the narcissistic style. W.W. Norton. p. 39. ISBN 978-0-393-70037-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2013.
  17. Berger, FK (31 Oct 2014), "Medical Encyclopedia: Narcissistic personality disorder", MedlinePlus, U.S. National Library of Medicine ((citation)): |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  18. Groopman, Leonard C. M.D.; Cooper, Arnold M. M.D. (2006). "Narcissistic Personality Disorder". Personality Disorders – Narcissistic Personality Disorder. Armenian Medical Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?