For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for คนยิงธนูเอ*.

คนยิงธนูเอ*

คนยิงธนูเอ*
หลุมดำใจกลางทางช้างเผือก
ภาพถ่ายหลุมดำคนยิงธนูเอ* ที่เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว กลุ่มดาวคนยิงธนู
ไรต์แอสเซนชัน 17h 45m 40.0409s
เดคลิเนชัน −29° 0′ 28.118″[1]
มาตรดาราศาสตร์
ระยะทาง26,673 ± 42×106[2] ly
รายละเอียด
มวล(4.154±0.014) ×106[3] M
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata

คนยิงธนูเอ*[4] (อังกฤษ: Sagittarius A*) เป็นหลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ตามเวลาในประเทศไทย เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ประกาศความสำเร็จในการถ่ายภาพหลุมดำบริเวณใจกลางทางช้างเผือกที่มีชื่อว่า คนยิงธนูเอ* ได้เป็นครั้งแรก เป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของหลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก และยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์[5]

คนยิงธนูเอ* เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด อยู่ห่างจากโลกประมาณ 27,000 ปีแสง[6] มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 ล้านกิโลเมตร เล็กกว่าหลุมดำเอ็ม87* ซึ่งอยู่ใจกลางดาราจักรเมซีเย 87 1,000 เท่า นักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คน ต้องร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลกว่า 6 เทระไบต์ เป็นเวลาหลายปีกว่าจะได้ภาพถ่ายภาพแรกของหลุมดำคนยิงธนูเอ*[7]

การศึกษาและการค้นพบ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1933 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนาจากทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนูซึ่งอยู่บริเวณใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก นักดาราศาสตร์จึงได้เรียกชื่อของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนานี้ตามชื่อของกลุ่มดาวคนยิงธนูว่า คนยิงธนูเอ* ต่อมานักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่า ดาวฤกษ์และกลุ่มแก๊สร้อนที่โคจรรอบวัตถุนี้มีการโคจรด้วยความเร็วที่สูงมาก จึงเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นว่าวัตถุปริศนาที่มองไม่เห็นนี้จะต้องมีแรงโน้มถ่วงที่มหาศาลมาก ๆ ในปริมาตรที่น้อยมาก ๆ สอดคล้องกับคุณสมบัติของหลุมดำมวลยิ่งยวด การค้นพบหลักฐานที่บ่งชี้การมีอยู่ของหลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกนี้ทำให้นักดาราศาสตร์สองคนคือ ไรน์ฮาร์ท เก็นท์เซิล และแอนเดรีย เอ็ม. เกซ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 2020 ร่วมกับรอเจอร์ เพ็นโรส นอกจากการค้นพบนี้เราก็ไม่เคยมีการค้นพบอื่นที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของหลุมดำใจกลางทางช้างเผือกนี้อีกเลย จนกระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ประกาศความสำเร็จในการถ่ายภาพหลุมดำคนยิงธนูเอ* สำเร็จเป็นครั้งแรก[8]

การโคจรของดาวฤกษ์รอบหลุมดำคนยิงธนูเอ*

ในการถ่ายภาพหลุมดำคนยิงธนูเอ* นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากกว่าการถ่ายภาพหลุมดำเอ็ม87* ที่ถ่ายได้ครั้งก่อน เนื่องจากกลุ่มแก๊สที่โคจรรอบหลุมดำคนยิงธนูเอ* ใชเวลาในการโคจรเร็วกว่ากลุ่มแก๊สที่โคจรรอบหลุมดำเอ็ม87* โดยใช้เวลาโคจรครบรอบไม่กี่วินาที ซึ่งหมายความว่าความสว่างและรูปแบบของแก๊สรอบ ๆ หลุมดำคนยิงธนูเอ* เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ทีมกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์กำลังสังเกตอยู่ โดยนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าความยากในการถ่ายภาพหลุมดำคนยิงธนูเอ* นั้นยากพอ ๆ กับการเอาโดนัทไปวางไว้บนดวงจันทร์แล้วสังเกตโดนัทจากพื้นโลก[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Reid, M.J.; Brunthaler, A. (2004).| "Sgr A* – Radio-source". Astrophysical Journal. 616 (2) : 872–884.(identifier) | arXiv:| astro-ph/0408107.(identifier) | Bibcode:| 2004ApJ...616..872R.(identifier) | doi:| :10.1086/424960.(identifier) | S2CID | 16568545.
  2. The GRAVITY collaboration (April 2019). "A geometric distance measurement to the Galactic center black hole with 0.3% uncertainty". Astronomy & Astrophysics. 625: L10. (identifier) arXiv:1904.05721. (identifier) Bibcode:2019A&A...625L..10G. (identifier) doi:10.1051/0004-6361/201935656. (identifier) S2CID 119190574. Archived from the original on October 4, 2019. สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
  3. The GRAVITY collaboration (April 2019). "A geometric distance measurement to the Galactic center black hole with 0.3% uncertainty". Astronomy & Astrophysics. 625: L10. (identifier) arXiv:1904.05721. (identifier) Bibcode:2019A&A...625L..10G. (identifier) doi:10.1051/0004-6361/201935656. (identifier) S2CID 119190574. Archived from the original on October 4, 2019. สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
  4. "เปิดภาพแรก หลุมดำกลางดาราจักรทางช้างเผือก". สมาคมดาราศาสตร์ไทย. สืบค้นเมื่อ 9 June 2022.
  5. -สรุปภาพหลุมดำมวลยิ่งยวด Sagittarius A* ใจกลางทางช้างเผือก, Spaceth , สืบค้นวันที่ 16/05/2565.
  6. Sagittarius A*: NASA Telescopes Support Event Horizon Telescope in Studying Milky Way's Black Hole, NASA, สืบค้นวันที่ 16/05/2565.
  7. เผยภาพถ่ายแรกของหลุมดำ ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือกสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
  8. "NARIT ภาพแรก !! ของหลุมดำ ณ ใจกลางทางช้างเผือก". สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ. 13 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
  9. Astronomers reveal first image of the black hole at the heart of our galaxy, Event Horizon Telescope, สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
คนยิงธนูเอ*
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?