For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for ข้อตกลงพลาซา.

ข้อตกลงพลาซา

อัตราแลกเปลี่ยนก่อนและหลังข้อตกลงพลาซา
  ฟรังก์ฝรั่งเศสเทียบดอลลาร์สหรัฐ (FRF/USD)
  เยนญี่ปุ่นเทียบดอลลาร์สหรัฐ (JPY/USD)
  มาร์คเยอรมันเทียบดอลลาร์สหรัฐ (DEM/USD)

ข้อตกลงพลาซา (อังกฤษ: Plaza Accord) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ปฏิญญาระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของฝรั่งเศส, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ (อังกฤษ: Announcement of the Ministers of Finance and Central Bank Governors of France, Germany, Japan, the United Kingdom, and the United States)[1][2][3] เป็นข้อตกลงระหว่าง 5 ประเทศอุตสาหกรรมหลัก อันได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมนีตะวันตก, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มค่าเงินของตัวเองเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลทั้งห้าประเทศได้ลงนามข้อตกลงนี้ในวันที่ 22 กันยายน 1985 ที่โรงแรมพลาซา ในนครนิวยอร์ก

โรงแรมพลาซาในนครนิวยอร์ก

ข้อตกลงครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่เยอรมนีตะวันตกและญี่ปุ่นได้ดุลการค้ากับสหรัฐอย่างมหาศาล สหรัฐประสบภาวะขาดดุลการค้าถึงร้อยละ 3.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าอเมริกาถูกประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆชิงส่วนแบ่งในตลาดโลกเป็นจำนวนมาก รัฐบาลของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน จึงวางแผนที่จะลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลงเพื่อให้สินค้าของสหรัฐในสายตาของชาวโลกมีราคาถูกลง

การลงนามข้อตกลงพลาซาส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งปีห้าเดือน จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 1987 มีการทำข้อตกลงลูฟวร์เพื่อยับยั้งการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่าลงกว่าร้อยละ 51 เมื่อเทียบกับเงินเยนนับตั้งแต่ข้อตกลงพลาซาบังคับใช้[4]

ข้อตกลงนี้ส่งผลให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีสามารถซื้อหาสินค้าต่างประเทศได้ในราคาถูกลงเกือบเท่าตัว แต่ในทางตรงข้าม สินค้าญี่ปุ่นในสายตาชาวโลกก็มีราคาแพงขึ้นเท่าตัวด้วยเช่นกัน ในระยะแรกดูเหมือนสินค้าญี่ปุ่นยังคงขายได้แม้มีราคาแพงขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากคุณภาพสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นมีความโดดเด่นจนไม่อาจทดแทนด้วยสินค้าจากที่อื่น แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีการขยายตัวในอัตราที่ลดลงในระยะยาว[5]

เมื่อภาคการผลิตในญี่ปุ่นทำผลกำไรลดต่ำลง จึงเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าและขนส่งได้สะดวก ซึ่งก็คือกลุ่มอาเซียน4 (อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และไทย)[5] หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นต้องปลดคนงานราวหนึ่งในสาม มีการกู้ยืมเงินเพื่อการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจนเกิดเป็นภาวะฟองสบู่[5] และสุดท้ายฟองสบู่ก็แตกจนเศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซาติดต่อกันถึงสองทศวรรษตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 – 2010 ซึ่งเรียกยุคนี้ว่า "สองทศวรรษที่หายไป" (The Lost 2 Decades)

อีกด้านหนึ่ง ประเทศเยอรมนีตะวันตกไม่ได้รับผลกระทบจากข้อตกลงพลาซาหนักหนาเท่าญี่ปุ่น เนื่องจากเยอรมนีตะวันตกมีนโยบายรักษาระดับราคาสินค้าให้คงที่ ภาครัฐส่งเสริมการวิจัยและการยกระดับคุณภาพสินค้าส่งออก ตลอดจนมีกลไกการเชื่อมโยงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในประชาคมยุโรป ภาคการส่งออกของเยอรมนีจึงยังคงสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนภายหลังมีข้อตกลงพลาซา[6] นอกจากนี้ก็มีการกำกับดูแลตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างเข้มงวด เศรษฐกิจเยอรมันจึงไม่เกิดภาวะฟองสบู่เหมือนญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Economy: Announcement of [G5] Finance Ministers & Central Bank Governors (the Plaza Agreement)". margaretthatcher.org. Margaret Thatcher Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  2. "Announcement the Ministers of Finance and Central Bank Governors of France, Germany, Japan, the United Kingdom, and the United States (Plaza Accord)". g8.utoronto.ca. University of Toronto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  3. Funabashi, Yōichi (1989). Managing the Dollar: From the Plaza to the Louvre (ภาษาอังกฤษ). Peterson Institute. pp. 261–271. ISBN 9780881320978.((cite book)): CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  4. Brook, A, F Sedillot and P Ollivaud (2004). "Channel 1: Exchange Rate Adjustment". OECD Economics Working Paper 390 - "Channels for Narrowing the US Current Account Deficit and Implications for Other Economies" (online ed.). Oxford; New York: OECD. p. 8, figure 3. doi:10.1787/263550547141.((cite book)): CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 พีรเดช ชูเกียรติขจร และ นลิตรา ไทยประเสริฐ (2014). ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศญ่ปุ่นและเอเชีย ที่มีต่อการเคลื่อนย้ายการลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นสู่ 4 ประเทศในอาเซียนและ 3 ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ วารสารคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  6. CHING TAT TSE (2021). A Comparative Analysis of the Economic Impacts of West Germany and Japan After the Plaza Accord.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
ข้อตกลงพลาซา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?