For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การจับลิ่มของเลือด.

การจับลิ่มของเลือด

The classical blood coagulation pathway[1]

การแข็งตัวของเลือด (อังกฤษ: coagulation) คือกระบวนการซึ่งทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด เป็นกลไกสำคัญของการห้ามเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับกับไฟบรินกลายเป็นลิ่มเลือด อุดรอยรั่วของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่ไหลออกจากหลอดเลือด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการนี้อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น เกิดเลือดออกง่าย หรือเลือดแข็งตัวง่ายกว่าที่ควรจะเป็น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด

กระบวนการการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่มีการคงอยู่ในระบบพันธุกรรมสูงมาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีกลไกการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการพัฒนาสูง กระบวนการนี้ประกอบขึ้นจากสองส่วนคือส่วนของเซลล์ (เกล็ดเลือด) และส่วนของโปรตีน (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ระบบการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างมาก จึงเป็นที่เข้าใจมากที่สุด

กลไกการแข็งตัวของเลือดเริ่มต้นขึ้นแทบจะทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง เกล็ดเลือดจะมาจับที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู่

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การเรียกชื่อ

[แก้]

ที่ประชุมประจำปีของผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแข็งตัวของเลือดได้ตกลงยอมรับการใช้ตัวเลขโรมันเป็นการตั้งชื่อสารในการแข็งตัวของเลือดตั้งแต่ ค.ศ. 1955 จากนั้นปี 1962 จึงยอมรับให้ใช้ตัวเลขในการตั้งชื่อสารปัจจัยแฟกเตอร์ 1-12 ที่ประชุมนี้ต่อมาได้กลายเป็นที่ประชุมนานาชาติว่าด้วยการเกิดลิ่มเลือดและการห้ามเลือด (International Committee on Thrombosis and Hemostasis, ICTH) จากนั้นการกำหนดชื่อด้วยตัวเลขถูกยกเลิกไปหลังจากมีการกำหนดชื่อแฟกเตอร์ 13 และเริ่มมีการตั้งชื่อโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดในรูปแบบอื่น เช่น Fletcher Factor, Fitzgerald Factor, prekallikrein, hight-molecular-weight kininogen เป็นต้น

แฟกเตอร์ 3 และแฟกเตอร์ 4 ไม่มีอยู่ เนื่องจากไม่เคยมีใครพบ thromboplastin แต่กลายเป็นว่าขั้นตอนนี้ประกอบด้วยแฟกเตอร์อื่นๆ อีก 10 ตัว ส่วน accelerin ต่อมาก็พบว่าเป็นแฟกเตอร์ 5 รูปแอกทีฟ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pallister CJ, Watson MS (2010). Haematology. Scion Publishing. pp. 336–347. ISBN 1-904842-39-9.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การจับลิ่มของเลือด
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?