For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การสงครามจิตวิทยา.

การสงครามจิตวิทยา

การสงครามจิตวิทยา (อังกฤษ: psychological warfare) คือ การสงครามที่ใช้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่มุ่งเน้นต่อความคิดและความเชื่อของบุคคลและกลุ่มบุคคล โดยอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อร่วมกับกิจกรรมทางจิตวิทยา สงครามจิตวิทยานั้นกระทำทั้งในยามสงบและยามสงครามทั้งฝ่ายข้าศึกและฝ่ายเดียวกัน รวมถึงฝ่ายเป็นกลางอีกด้วย ทั้งในด้านการเมืองและการทหาร ในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และระดับยุทธวิธี[1]

ตัวอย่างสงครามจิตวิทยาตามตำนานและเรื่องเล่าขาน

[แก้]

สงครามกรุงทรอย ฝ่ายกรีกใช้กลศึกม้าไม้โทรจันในการเอาชนะกรุงทรอย โดยใช้วิธีการถอยทัพออกจากฝั่งของกรุงทรอยแล้วเอาทหารทุกนายขึ้นกองเรือไปแอบไว้ในเกาะใกล้ๆ และสร้างม้าไม้ขนาดยักษ์ไว้หนึ่งตัว และปล่อยทหารไว้หนึ่งคน เมื่อทหารทรอยเห็นว่าฝ่ายกรีกถอยทัพกลับไปหมดทั้งกองทัพแล้วจึงกราบทูลต่อกษัตริย์ในสมัยนั้น กษัตริย์พร้อมกับแม่ทัพ นายกองทั้งหลายจึงออกมาตรวจสอบ จึงได้พบม้าไม้ขนาดยักษ์กับทหารหนึ่งคน เมื่อทหารฝ่ายกรีกคนนี้ได้พบกับกษัตริย์จึงได้กราบทูลว่า "การที่ฝ่ายกรีกต้องถอยทัพนั้นทำให้เทพเจ้าพิโรธและฝ่ายกรีกเสียนายทหารไปมากมาย จึงได้สร้างม้าไม้ขนาดยักษ์นี้ไว้เพื่อเป็นการขอขมาต่อเทพเจ้าทั้งปวง" เมื่อฝ่ายกษัตริย์ได้ฟังก็เกิดการหลงเชื่อและให้นำมาไม้ขนาดยักษ์นี้เข้าเมือง แต่หารู้ไม่ว่าภายในม้าไม้ขนาดยักษ์นี้มีทหารของกรีกจำนวนหนึ่งแอบซ่อนอยู่ภายในท้องขนาดใหญ่ ตกดึกทหารที่อยู่ในท้องของม้าได้ออกมาเปิดประตูและส่งสัญญาณให้ทหารฝ่ายกรีกเข้าเมือง ทหารกรีกจึงได้สังหารทหารของฝ่ายทรอยและเผาเมืองจนสิ้น[2]

สงครามเยรูซาเล็ม ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิ้ล โดยบันทึกถึงวิธีการปกป้องเมืองเยรูซาเล็มของไกดอน (Gideon) จากพวกมิเดียไนท์ (Midianites) โดยไกดอนได้จัดทหารจำนวน 300 นายถือแตรเดี่ยวและคบไฟไปโอบล้อมค่ายของฝ่ายข้าศึกในเวลากลางคืน เมื่อถึงที่หมายไกดอนจึงให้ทหารทุกนายจุดคบไฟและเป่าแตรพร้อมกัน ทหารฝ่ายมิเดียไนท์จึงสะดุ้งตื่นและรบฆ่าฟันกันเองเพราะความตื่นตระหนก และไกดอนจึงถือโอกาสนี้สั่งให้ทหารทุกนายเข้าโจมตีซ้ำจึงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด

ตัวอย่างสงครามจิตวิทยาในประว้ติศาสตร์

[แก้]

การปฏิวัติอเมริกา สหรัฐอเมริกาในสมัยก่อนถูกปกครองโดยประเทศอังกฤษในฐานะเมืองอาณานิคม เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้นฝ่ายอเมริกาได้ใช้สงครามจิตวิทยาโดยใช้ลักษณะคำชวนเชื่อในหมู่ชาวอเมริกาด้วยกันเอง โดยใช้คำกล่าวที่ว่า "จงอย่ากดขี่ข้าพเจ้า" และ "จงให้อิสรภาพแก่ข้าพเจ้าหรือไม่ก็ฆ่าข้าพเจ้าเสีย" ส่งผลให้ชาวอเมริกามีจิตสำนึก เกิดความรักชาติ และพร้อมสู้กับทหารอังกฤษจนตัวตาย ต่อมาคำกล่าวนี้ได้ขยายวงกว้างไปถึงหมู่ทหารอังกฤษด้วย ทหารอังกฤษจำนวนมากเสียขวัญและแปรพรรคมาร่วมต่อสู้กับฝ่ายอเมริกา สุดท้ายกองทัพอังกฤษจึงอ่อนกำลังลงและพ่ายแพ้ไปในที่สุด[3]

สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทุกรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจต่างๆ มีความพยามยามในการโน้มน้าวให้ประชาชนสนับสนุนสงคราม โดยใช้การโฆษณาและปลูกฝังแนวคิดในสื่อต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ แผ่นป้ายโฆษณา แผ่นพับ หนังสือ หนังสือพิมพ์ รายการวิทยุ ฯลฯ โดยแผ่นป้ายโฆษณานิยมนำมาใช้มากที่สุดเพราะผลิตได้ง่าย ราคาถูก และมีสีสันสะดุดตา[4][5][6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คู่มือการสอนวิชาสงครามพิเศษ บทที่ 2 เรื่องการดำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
  2. มาลัย (จุฑารัตน์). ตำนานกรีก-โรมัน ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์คำ, 2548.
  3. เกร็ดประวัติศาสตร์ สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกัน (ค.ศ.1775)
  4. "วัฒนธรรมร่วมสมัยในสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามสื่อ) จากเว็บไซต์ Dek-D.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28.
  5. "บทความ เรื่อง ทำไมนาซีถึงต้องฆ่าชาวยิวจากเว็บไซต์ Unigang". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-29. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28.
  6. อเมริกากับสงครามโลกครั้งที่ 1 จากเว็บไซต์ GotoKnow

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การสงครามจิตวิทยา
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?