For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การพูดติดอ่าง.

การพูดติดอ่าง

การพูดติดอ่าง
Stuttering, Stammering
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F98.5
ICD-9307.0
OMIM184450 609261
MedlinePlus001427
MeSHD013342

การพูดติดอ่าง (อังกฤษ: stuttering หรือ stammering) เป็นความผิดปกติของการพูดที่กระแสคำพูดสะดุดเพราะพูดซ้ำ (repetition) และลาก (prolongation) เสียง พยางค์ คำหรือวลีให้ยาวโดยมิได้ตั้งใจ เช่นเดียวกับการหยุดเงียบ (silent pause) หรือการติดขัด (block) ซึ่งบุคคลที่พูดติดอ่างไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาได้ โดยมิได้ตั้งใจ[1] คำว่า "การพูดติดอ่าง" เกี่ยวข้องกับการพูดซ้ำโดยมิได้ตั้งใจมากที่สุด แต่ยังรวมถึงการลังเล (hesitation) ผิดปกติหรือหยุดก่อนพูด และการลากเสียงบางอย่าง ซึ่งปกติเป็นสระและกึ่งสระ ให้ยาวผิดปกติ สำหรับหลายคนที่พูดติดอ่าง การพูดซ้ำเป็นปัญหาหลัก การติดขัดและการลากเสียงยาวโดยมิได้ตั้งใจเป็นกลไกที่เกิดจากการเรียนรู้เพื่อซ่อนการพูดซ้ำ เพราะความกลัวการพูดซ้ำในที่สาธารณะมักเป็นสาเหตุหลักของความไม่สบายใจทางจิตวิทยา คำว่า "การพูดติดอ่าง" หมายความถึงความรุนแรงหลายระดับ มีตั้งแต่อุปสรรคที่สังเกตได้เพียงเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรงจนไม่สามารถสื่อสารทางปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลกระทบของการพูดติดอ่างต่อการทำหน้าที่และสถานะอารมณ์ของบุคคลอาจรุนแรงได้ ซึ่งอาจรวมถึงความกลัวที่จะต้องออกเสียงสระหรือพยัญชนะบางตัว ความกลัวว่าจะถูกจับได้ว่าพูดติดอ่างในสถานการณ์ทางสังคม การแยกตัวด้วยตนเอง วิตกกังวล เครียด อับอายหรือรู้สึก "เสียการควบคุม" ระหว่างการพูด การพูดติดอ่างบางครั้งหลายคนเข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล แต่แท้จริงแล้วหามีความสัมพันธ์กันไม่ การพูดติดอ่างมิได้สะท้อนสติปัญญาแต่อย่างใด[2]

การพูดติดอ่างโดยทั่วไปไม่เป็นปัญหากับการผลิตเสียงพูดทางกายภาพ หรือการเรียบเรียงความคิดเป็นคำพูด ความประหม่าและความเครียดเรื้อรังอาจกระตุ้นให้เกิดการพูดติดอ่างในบุคคลที่มีใจโน้มเอียง และการอยู่ด้วยความพิการที่ถูกตีตรา (stigmatized disability) อย่างสูงสามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลและการรับรู้หรือเผชิญปัญหาความเครียด (allostatic stress load) สูง คือ อาการประสาทและความเครียดเรื้อรัง ที่ลดปริมาณความเครียดเฉียบพลันที่กระตุ้นให้เกิดการพูดติดอ่างในบุคคลที่พูดติดอ่าง ทำให้ปัญหาในรูประบบผลป้อนกลับทางบวกเลวลง มีการเสนอให้ใช้คำว่า "อาการพูดติดอ่าง" (Stuttered Speech Syndrome) กับสภาวะนี้[3][4] อย่างไรก็ดี ความเครียด ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ไม่ได้สร้างความโน้มเอียงรับโรคการพูดติดอ่างแต่อย่างใด

ความผิดปกตินี้แปรผัน หมายความว่า ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่น ขณะพูดทางโทรศัพท์ การพูดติดอ่างอาจรุนแรงหรือเป็นน้อยกว่าเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับความวิตกกังวลที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมนั้น แม้จะยังไม่ทราบสมุฏฐานแน่ชัดหรือสาเหตุของการพูดติดอ่าง แต่คาดว่าทั้งพันธุศาสตร์และประสาทสรีรวิทยาจะมีผล มีเทคนิคการรักษาและการแก้ไขการพูดจำนวนมากซึ่งอาจช่วยเพิ่มความคล่องในบางคนที่พูดติดอ่างถึงขั้นที่หูที่ไม่ผ่านการฝึกไม่สามารถระบุปัญหาได้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาความผิดปกติถึงแก่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. World Health Organization ICD-10 F95.8 - Stuttering.
  2. Myths about stuttering, on Stuttering Foundation's website.
  3. http://www.stutteredspeechsyndrome.com
  4. Irwin, M (2006). Au-Yeung, J; Leahy, MM (บ.ก.). Terminology – How Should Stuttering be Defined? and Why? Research, Treatment, and Self-Help in Fluency Disorders: New Horizons. The International Fluency Association. pp. 41–45. ISBN 978-0-9555700-1-8. ((cite book)): ตรวจสอบค่า |url= (help)


{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การพูดติดอ่าง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?