For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for การตรึงกางเขน.

การตรึงกางเขน

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” โดย คาราวัจโจ

การตรึงกางเขน (อังกฤษ: crucifixion) เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งผู้ถูกสั่งให้ประหารจะถูกผูกหรือตอกตะปูบนไม้กางเขนและปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย วิธีการประหารชีวิตแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยจักรวรรดิโรมันและในประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และวิธีที่คล้ายคลึงกันในจักรวรรดิเปอร์เชีย[1] การประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนโดยจักรวรรดิโรมันมาจนถึงปี ค.ศ. 337[2] หลังจากที่คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมื่อปี 313 โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 แต่การใช้วิธีตรึงกางเขนก็ยังใช้กันอยู่บ้างในหลายที่ในสมัยใหม่

“กางเขน” (Crucifix) ที่เป็นรูปสัญลักษณ์ของพระเยซูถูกตรึงบนกางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของผู้นับถือศาสนาคริสต์ แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางครั้งจะนิยมใช้กางเขนที่ไม่มีพระเยซูมากกว่า

การตรึงกางเขน

การตรึงกางเขนจะไม่ใช้ในการทำพิธีกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ แต่จะใช้ในการที่ทำให้ผู้ตาย ตายอย่างทรมาน (ทำให้เกิดคำว่า “excruciating” หมายความว่า “out of crucifying” ซึ่งหมายถึงความเจ็บปวดที่ทารุณ), สยดสยอง (เพื่อทำให้คนขยาดจากการทำในสิ่งไม่ดี), และทำในที่สาธารณะ การตรึงกางเขนก็ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่และยุคสมัย

ภาษากรีกและละตินที่เกี่ยวกับการตรึงกางเขนก็มีหลายลักษณะตั้งแต่ ตรึงกับเสา, ตรึงกับต้นไม้, ตรึงกับไม้รูปต่าง ๆ[3] ถ้าใช้ไม้ไขว้ผู้ที่ถูกตรึงก็จะถูกบังคับให้แบกไม้บนบ่า เดินไปยังสุถานที่ที่จะถูกตรึง ซึ่งอาจจะทำให้เนื้อบนไหล่ฉีก น้ำหนักของกางเขนก็จะหนักประมาณ 135 กิโลกรัม[4] แทซิทัส (Tacitus) นักประวัติศาสตร์โรมันบันทึกไว้ว่า ที่โรมมีสถานที่สำหรับการตรึงกางเขนเป็นการเฉพาะ อยู่ที่นอกประตูเอสควิลิเน่ (Esquiline Gate)[5] และมีบริเวณเฉพาะสำหรับการประหารชีวิตทาสโดยการตรึงกางเขน[6] สันนิษฐานกันว่า ตรงที่ตรึงกางเขนจะมีเสาตรงปักไว้แล้วเป็นการถาวร และเมื่อมีผู้แบกไม้มา (หรืออาจจะตรึงแขนไว้กับไม้แล้วก็ได้) ก็ยกทั้งคนและไม้ขึ้นไปประกอบกับเสาตรงที่ปักถาวร

บางครั้งผู้ที่ถูกประหารชีวิตก็อาจจะถูกผูกกับไม้ด้วยเชือกหลังจากที่ถูกตรึง ตามที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์โจซีฟัส (Josephus) ซึ่งกล่าวถึงสมัยที่กรุงเยรูซาเลมถูกล้อมเมื่อ ค.ศ. 70 ถึงการตรึงกางเขนผู้ที่ถูกจับด้วยวิธีต่าง ๆ ของทหารโรมัน[7]และใน จอห์น 20:25

วัตถุที่ใช้ในการตรึงกางเขนเช่น ตะปู เป็นสิ่งที่แสวงหากัน เพราะถือเป็นเครื่องรางช่วยป้องกันภัย[8]

อ้างอิง

  1. "The first recorded instances of crucifixion are found in Persia, where it was believed that since the earth was sacred, the burial of the body of a notorious criminal would desecrate the ground. The birds above and the dogs below would dispose of the remains."
    Smith, Damian Barry, The Trauma of the Cross: How the Followers of Jesus Came to Understand the Crucifixion, p. 14. Paulist Press: Mahwah, New Jersey, 1999.
  2. "Crucifixion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-01. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  3. Seneca the Younger wrote: "I see crosses there, not just of one kind but made in many different ways: some have their victims with head down to the ground; some impale their private parts; others stretch out their arms on the gibbet" (Dialogue "To Marcia on Consolation", 6.20.3).
  4. "Crucifixion in the Ancient World". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  5. Annales 2:32.2
  6. Annales 15:60.1
  7. Jewish War V.II
  8. Mishna, Shabbath 6.10, quoted in Crucifixion in Antiquity
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
การตรึงกางเขน
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?