For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กาม็องแบร์.

กาม็องแบร์

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
กาม็องแบร์
Camembert
ประเทศถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส
เขต/เมืองกาม็องแบร์
นมวัว
พาสเจอไรซ์ในแบบสมัยใหม่
เนื้อสัมผัสนิ่ม-มีราซึ่งสามารถรับประทานได้
หมักขั้นต่ำ 3 สัปดาห์
การรับรองCamembert de Normandie AOC 1983, PDO 1992
สื่อที่เกี่ยวข้องที่คอมมอนส์

กาม็องแบร์ (ฝรั่งเศส: camembert; ออกเสียง: [kamɑ̃bɛʁ] ( ฟังเสียง)) เป็นเนยแข็งชนิดเนื้อนิ่ม ชุ่ม มีความครีม และมีผิวสุก และผลิตมาจากนมวัว กาม็องแบร์ผลิตครั้งแรกในปลายศตวรรษที่ 18 ในหมู่บ้านกาม็องแบร์ในแคว้นนอร์ม็องดี ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส กาม็องแบร์เป็นเนยแข็งที่เหมือนกับบรี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคบรี ของฝรั่งเศส

การผลิต

[แก้]

กาม็องแบร์แรกเริ่มนั้นผลิตจากนมวัวดิบ ซึ่งตามกฎหมาย AOC ระบุว่าชีสจำพวก “กาม็องแบร์เดอนอร์ม็องดี” (Camembert de Normandie) ต้องผลิตมาจากน้ำนมดิบที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรส์เท่านั้น แต่ภายหลังเริ่มมีการผ่อนปรนกฎนี้แล้ว ทำให้ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันเลือกที่จะใช้นมพาสเจอไรส์ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและความสะดวกในการผลิต[1]

การผลิตกาม็องแบร์แบบดั้งเดิมคือ"กาม็องแบร์เดอนอร์ม็องดี"ซึ่งได้รับการรับรองจากตรา AOC หรืออาจไม่ได้การรับรองเนื่องจากอยู่นอกเขตการผลิต การผลิตจะเริ่มจากการทิ้งนมไว้ ซึ่งหากเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์จะมีการเติมหัวเชื้อแบคทีเรียชนิด Mesophillic หัวเชื้อราชนิด Penicillium Camemberti(Penicillium Candidum) และหัวเชื้อราชนิด Geotrichum Candidum หรืออาจจะใช้หางนมจากการผลิตกาม็องแบร์วันก่อนๆซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียและรานั้นอยู่แล้วลงไปก่อนที่จะทิ้งนมไว้เป็นเวลา 1 วันเพื่อให้เชื้อแบคทีเรียและราเติบโต แต่ถ้าหากใช้น้ำนมดิบส่วนมากจะไม่เติมหัวเชื้อแบคทีเรีย Mesophillic เนื่องจากในน้ำนมดิบจะมีแบคทีเรียกลุ่มนั้นอยู่แล้ว

เมื่อถึงวันต่อมานมที่ผ่านการหมักจากเมื่อวานมาแล้วจะถูกนำมาใส่เรนเน็ทแล้วทิ้งไว้สักพัก เมื่อโปรตีนในนมจับตัวกันเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้จึงใช้อุปกรณ์ซึ่งเป็นโลหะแผ่นบางยาวตัดเป็นตารางขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วจึงตักใส่พิมพ์ทรงกระบอกซึ่งมีรูขนาดเล็กกระจายอยู่รอบๆเพื่อให้หางนมระบายออกมา เมื่อถึงวันต่อมาลิ่มนมจะจับตัวกันเป็นก้อนทรงกระบอกที่แบนและแข็ง แล้วจึงนำมาทาเกลือและวางไว้ในอุณหภูมิห้อง 1 วัน และจึงย้ายไปห้องบ่มซึ่งมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการพัฒนารสชาติและพื้นผิวของเนยแข็ง ในขั้นตอนนี้จะสังเกตได้ว่าเปลือกสีขาวของเนยแข็งซึ่งก็คือรา Penicillium Camemberti และเปลือกสีเหลืองอ่อนซึ่งก็คือรา Geotrichum Candidum นั้นเริ่มปรากฎขี้นและมากขึ้นเรื่อยตามขั้นตอนการบ่ม อีกทั้งเนื้อภายในจะเริ่มเหลวและหนืดลงเรื่อยๆ โดยชีสจะอยู่ในห้องบ่มนี้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้วจึงนำออกมาเข้าสู่กระบวนการแพ็คและนำออกขาย

หากเป็นการแบบผลิตแบบสมัยใหม่ซึ่งจะไม่ได้การรับรองจากตรา AOC มักจะไม่ใช้ตักลิ่มนมที่คล้ายเต้าหู้ลงไปในพิมพ์ แต่จะใช้การให้ความร้อนและคนทำให้ลิ่มนมกลายเป็นก้อนเล็กๆและนำมาอัดลงในพิมพ์แทน และไม่มีการใส่หัวเชื้อรา Penicillium Camemberti และรา Geotrichum Candidum ลงในนมในขั้นตอนแรก แต่จะมีการพ่นหัวเชื้อราเฉพาะ Penicillium camemberti ลงไปบนผิวของชีสในขั้นตอนทาเกลือ อีกทั้งยังใช้นมพาสเจอร์ไรซ์ ทำให้กาม็องแบร์ที่ผลิตในรูปแบบนี้ขาดรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกาม็องแบร์แบบดั้งเดิมไป และไม่มีความคล้ายกับการผลิตกาม็องแบร์แบบดั้งเดิมเลย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Smith, Tim (2005). Making artisan cheese : 50 fine cheeses that you can make in your own kitchen. Beverly, Massachusetts: Quarry Books. ISBN 1-59253-197-0.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กาม็องแบร์
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?