For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กองพลทหารราบที่ 15.

กองพลทหารราบที่ 15

กองพลทหารราบที่ 15
พล.ร.15
เครื่องหมายหน่วย
ประจำการ1 เมษายน พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน
ประเทศไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบทหารราบเบา
บทบาททหารราบเบา
กำลังรบกองพลทหารราบเบา
ขึ้นกับกองทัพภาคที่ 4
กองบัญชาการค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[1]
เว็บไซต์http://www.infantry-division15.com/Inf_Dev15.html (ไทย)
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว

กองพลทหารราบที่ 15 เป็นกองพลทหารราบของกองทัพบกไทย ปัจจุบันเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่ 4 ประกอบด้วยกรมทหารราบที่ 151, กรมทหารราบที่ 152, กรมทหารราบที่ 153 และกรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 ซึ่งกองพลนี้กำลังสู้รบในความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]

ประวัติ กองพลทหารราบที่ 15

การก่อความไม่สงบในภาคใต้ได้เริ่มขึ้นเพื่อโต้ตอบพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2487 ของนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ซึ่งแทนที่การใช้ภาษามลายูในโรงเรียนของภูมิภาคด้วยภาษาไทย รวมถึงยกเลิกศาลอิสลามท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนที่มีชาติพันธุ์มาเลย์ และมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ในจังหวัดยะลา, จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส[3][การอ้างอิงวกเวียน] อย่างไรก็ตามมักจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างเล็ก การก่อความไม่สงบทวีความรุนแรงขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในระหว่างรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร การโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้ขยายไปสู่ชนชาติไทยฝ่ายข้างน้อยในจังหวัดดังกล่าว[4] ส่วนกองทัพไทยได้ตอบโต้ด้วยยุทธวิธีติดอาวุธที่รุนแรง ซึ่งทําให้ส่งเสริมความรุนแรงเพิ่มขึ้น[5] ในปลายปี พ.ศ. 2555 ความขัดแย้งได้สร้างความสูญเสีย 3,380 คน ซึ่งรวมถึงพลเรือน 2,316 คน, ทหาร 372 นาย, ตำรวจ 278 นาย, ผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย 250 คน, เจ้าหน้าที่การศึกษา 157 คน และพระสงฆ์ 7 รูป ผู้เสียชีวิตหลายคนเป็นมุสลิม เพราะพวกเขาตกเป็นเป้าหมายเพราะสันนิษฐานว่าให้การสนับสนุนรัฐบาลไทย[6]

การจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 15

เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 และเมื่อปลายปี 2547 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้เสนอรัฐบาลจัดตั้งหน่วยทหารขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 กองทัพบกจึงได้แปรสภาพกองพลทหารราบที่ 16 ซึ่งเป็นกองพลทหารราบหนึ่งของกองทัพบก เป็นกองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร มีที่ตั้งชื่อชั่วคราวอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ได้เปลี่ยนนามหน่วย จากเดิม คือ กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร เป็นกองพลทหารราบที่ 15 และในวันที่ 19 สิงหาคม 2553 ได้เคลื่อนย้ายกองบัญชาการกองพลมาตั้งในพื้นที่ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และได้ทะยอยเคลื่อนย้ายกำลังเข้ามาปฏิบัติงานและก่อสร้างค่ายหน่วยต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามค่ายเดิมว่า ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งหน่วยเป็นต้นมา[7]

  • ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ได้รับพระราชทานนามค่าย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานนามค่ายทหาร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 152 ลง 1 ธ.ค. 35 หน้า 13542
    • ที่ตั้งเดิม : ค่ายเด็จพระสุริโยทัย ต.หนองแก อ.หัวหิน จว. ประจวบคีรีขันธ์
    • ที่ตั้งปัจจุบัน : ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จว. ปัตตานี

หน่วยขึ้นตรง กองพลทหารราบที่ 15

  • กรมทหารราบที่ 151[8]
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 151
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 151
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 151
  • กรมทหารราบที่ 152[9]
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 152
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 152
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152
  • กรมทหารราบที่ 153[10]
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 153
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 153
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 153
  • กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 [11]
      • กองพันส่งกำลังและบริการ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15
      • กองพันซ่อมบำรุง กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15
      • กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15
    • กองพันทหารช่างที่ 15 กองพลทหารราบที่ 15 [12]
    • กองพันทหารม้าที่ 31 กองพลทหารราบที่ 15
    • กองพันทหารสื่อสารที่ 15 กองพลทหารราบที่ 15

รายนามผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15

  1. พล.ต.สำเร็จ ศรีหร่าย (1 เมษายน พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
  2. พล.ต.จำลอง คุณสงค์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  3. พล.ต.กิตติ อินทสร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
  4. พล.ต.พีรพล วิริยากุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
  5. พล.ต.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2557)
  6. พล.ต.มณี จันทร์ทิพย์ (1 เมษายน พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2558)
  7. พล.ต.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ (1 เมษายน พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559)
  8. พล.ต.วิชาญ สุขสง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  9. พล.ต.สมดุลย์ เอี่ยมเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563)
  10. พล.ต.ไพศาล หนูสังข์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
  11. พล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. กองกำลังทหารพรานกองทัพภาคที่4 หน่วยรบจรยุทธ์ชุดดำในพื้นที่ภาคใต้
  2. "ส่งศพทหารกล้ากลับบ้านเกิด หลังปะทะคนร้ายที่ยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.
  3. Patani
  4. Search – Global Edition – The New York Times เก็บถาวร 18 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. International Herald Tribune (29 March 2009). Retrieved on 2012-01-18.
  5. Thailand's counter-insurgency operations เก็บถาวร 3 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Janes.com (19 November 2007). Retrieved on 2012-01-18.
  6. Data from the (governmental) Southern Border Provinces Administrative Centre, cited in ISRANews เก็บถาวร 1 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน report, 4 January 2013
  7. ประวัติและี่มาของการตั้งชื่อค่ายสมเด็จพระสุรโยทัย[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567
  8. "ผบ.ร.151 รับ-มอบหน้าที่ยืนยันต่อยอดช่วยปชช. – innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.
  9. กรมทหารราบที่ 152 ค่ายสิรินธร นำกำลังพลพร้อมเครื่องมือ ทำความสะอาด ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อลดการแพร่ระบาดโควิด-19
  10. ทหารอัญเชิญธงชัยเฉลิมพลเข้าประจำกรมทหารราบที่ 153 เป็นสิริมงคลดูแล 3 จชต.
  11. คลอดแล้ว! ‘บิ๊กแดง’ลงนามแต่งตั้งผู้บังคับหน่วย 389 นาย
  12. "สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กองพลทหารราบที่ 15
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?