For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค.

กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

ประกาศของตำรวจอันเป็นผลมาจากกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

คำสั่งประธานาธิบดีไรช์ว่าด้วยการป้องกันประชาชนและรัฐ (เยอรมัน: Verordnung des Reichspräsidenten zum Schutz von Volk und Staat) หรือรู้จักกันในชื่อ กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstagsbrandverordnung) เป็นคำสั่งฝ่ายบริหารที่เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ประธานาธิบดีไรช์เยอรมัน ออกเพื่อตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 มีเนื้อหาสาระเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของพลเมืองเยอรมันอย่างมาก พรรคนาซียืมมือประธานาธิบดีออกคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยเสียงข้างมากในรัฐสภาที่พรรคครองอยู่ เพื่อจับกุมผู้ต่อต้านพรรคและระงับสิ่งตีพิมพ์ที่เห็นว่าเป็นภัยต่อตน นักประวัติศาสตร์มองว่าการออกคำสั่งฉบับนี้เป็นการเตรียมสร้างรัฐเผด็จการของพรรคนาซีในกาลอนาคต

ภูมิหลัง

[แก้]

ก่อนเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ไรชส์ทาคสี่สัปดาห์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซีได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีไรช์ และได้รับเชิญจากประธานาธิบดีเพาล์ให้เป็นผู้นำคณะรัฐบาลผสมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 รัฐบาลของฮิตเลอร์ได้สนับสนุนให้ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คสั่งยุบไรชส์ทาค และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 5 มีนาคม ปีเดียวกันนั้น

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ หกวันก่อนหน้าการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ไรชส์ทาคได้เกิดเพลิงไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุแม้จนบัดนี้ แต่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีใช้เป็นเหตุสร้างฐานอำนาจของตนให้มั่นคงยิ่งขึ้น โดยกล่าวหาผู้นิยมคอมมิวนิสต์ว่าก่อความไม่สงบจนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ไรชส์ทาค ส่งผลให้พลเมืองเยอรมันหลายล้านคนเกิดความหวาดหวั่นต่อคอมมิสนิสต์ เนื่องจากทางการประกาศว่า

"การวางเพลิงไรชส์ทาคเป็นความมุ่งหมายที่จะส่งสัญญาณว่าจะเกิดการก่อการจลาจลนองเลือดและสงครามกลางเมือง มีการวางแผนการปล้มสะดมอย่างกว้างขวางในกรุงเบอร์ลิน...มีการกำหนดให้มี...ตลอดทั่วเยอรมนีซึ่งการก่อการร้ายต่อบุคคลสำคัญ ต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล ต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชากรอันสงบเรียบร้อย และจะได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองอยู่ทั่วไป..."

หลังเพลิงไหม้ไรชส์ทาคหนึ่งวัน แฮร์มัน เกอริงได้อภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ และมีการร่าง "คำสั่งประธานาธิบดีไรช์ว่าด้วยการป้องกันประชาชนและรัฐ" เสนอต่อคณะรัฐมนตรีไรช์ ซึ่งตัวฮิตเลอร์เองกล่าวว่า เหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนี้นำไปสู่ "การเผชิญหน้ากับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันอย่างไม่ลดละ" จากนั้นไม่นาน เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค วัย 84 ปีและมีภาวะสมองเสื่อม ก็ลงนามในคำสั่งฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่อนุญาตให้ประธานาธิบดีเยอรมนีดำเนินมาตรการใด ๆ ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องปัดภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ

คำสั่งฉบับดังกล่าวประกอบด้วยความ 6 ข้อ ข้อ 1 มีเนื้อหาสาระเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของพลเมืองที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ได้แก่ สิทธิพลเมือง เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพของสื่อ เสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่มสาธารณะ ตลอดจนจำกัดความคุ้มครองความลับในไปรษณียภัณฑ์และการติดต่อสื่อสาร รวมถึงสิทธิในการป้องกันทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย ส่วนข้อ 2 และข้อ 3 เป็นการให้รัฐบาลไรช์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งหมดแทน ข้อ 4 และข้อ 5 เป็นการวางบทลงโทษสำหรับการละเมิดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ เช่น โทษประหารชีวิตสำหรับการลอบวางเพลิงอาคารสาธารณะ

ผลของคำสั่ง

[แก้]

การออกคำสั่งดังกล่าวส่งผลให้แฮร์มัน เกอริง รัฐมนตรีมหาดไทยปรัสเซีย สามารถคุมกำลังตำรวจในแคว้นใหญ่ที่สุดของเยอรมนีได้ และใช้กำลังนั้นปราบปรามจับกุมผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ถูกจับกุมมากถึงหนึ่งหมื่นคน

สามสัปดาห์ถัดมา พรรคนาซีได้ประกาศใช้รัฐบัญญัติมอบอำนาจ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่พรรคนาซีมากขึ้น นำไปสู่การสร้างรัฐเผด็จการในอนาคตของพรรคนาซี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Broszat, Martin (1981). The Hitler State: The foundation and development of the internal structure of the Third Reich. John W. Hiden (tr.). New York, NY: Longman. ISBN 0-582-49200-9. ((cite book)): ข้อความ "Martin Broszat" ถูกละเว้น (help)
  • Fest, Joachim (1974). Hitler. New York, NY: Harcourt Brace Jovanovich.
  • Manvell, Roger (1974). The Hundred Days to Hitler. New York, NY: St. Martin's Press. ((cite book)): ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) LCC DD247.H5.M25 1974
  • Shirer, William (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York, NY: Simon & Schuster. ISBN 0-671-62420-2.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?