For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กระดูกสันอก.

กระดูกสันอก

กระดูกสันอก
(Sternum)
มุมมองทางด้านหน้าของกระดูกสันอกและกระดูกอ่อนซี่โครง
มุมมองทางด้านหลังของกระดูกสันอก
ตัวระบุ
MeSHD013249
TA98A02.3.03.001
TA21129
FMA7485
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

กระดูกสันอก (อังกฤษ: Sternum) เป็นกระดูกชนิดกระดูกแบบแบน (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของทรวงอก และติดต่อกับกระดูกซี่โครงโดยข้อต่อและกระดูกอ่อนซี่โครง (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของผนังช่องอก เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วนไหล่อีกด้วย

กายวิภาคศาสตร์

[แก้]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

กระดูกสันอกมีลักษณะยาวและแบน และเป็นกระดูกที่อยู่ตรงกลางของผนังทางด้านหน้าของช่องอก กระดูกสันอกในผู้ใหญ่จะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 17 เซนติเมตร และกระดูกสันอกของเพศชายจะยาวกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ทางด้านบนสุดรองรับกระดูกไหปลาร้าโดยข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (sternoclavicular joint) ขอบด้านข้างจะมีรอยที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอ่อนซี่โครง และทางด้านบนสุดจะเป็นจุดเกาะต้นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (sternocleidomastoid muscle)

ส่วนต่างๆ ของกระดูกสันอก

[แก้]

กระดูกสันอกจะประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่

  • แมนูเบรียม (Manubrium) เป็นส่วนบนของกระดูกสันอก และมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า กระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 และครึ่งหนึ่งของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 2 ทางด้านบนสุดยังมีรอยเว้าที่สามารถคลำได้จากภายนอก ซึ่งรอยเว้านี้คือ รอยเว้าซุปปราสเตอร์นัล (suprasternal notch)
  • บอดี้ (Body) เป็นส่วนกลางของกระดูกสันอก ซึ่งขอบด้านข้างจะมีการติดต่อกับกระดูกอ่อนซี่โครง พื้นผิวทางด้านหลังยังเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อทรานสเวอร์ซุส ทอราซิส (transversus thoracis muscle) ด้วย
  • ซิฟอยด์ โปรเซส (Xiphoid process) หรือลิ้นปี่ ซึ่งเป็นปลายทางด้านล่างสุดของกระดูกสันอก และมีจุดเกาะกับกะบังลม

ส่วนต่อกันระหว่างส่วนแมนูเบรียมและส่วนบอดี้ จะมีความโค้งนูนออกมาเล็กน้อย ซึ่งสามารถคลำได้จากภายนอก บริเวณดังกล่าวนี้เรียกว่า มุมกระดูกสันอก (sternal angle) ซึ่งเป็นจุดอ้างอิงถึงกระดูกซี่โครงซี่ที่ 2 และมีประโยชน์ในการตรวจร่างกายส่วนอก

การบาดเจ็บของกระดูกสันอก

[แก้]

การบาดเจ็บหรือการแตกหักของกระดูกสันอกนั้นพบได้ไม่บ่อย แต่มักมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ เช่นการกระแทกกับพวงมาลัยในกรณีของอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแตกหักของกระดูกสันอกมักจะทำให้เกิดเศษกระดูกชิ้นเล็กน้อย จุดที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการหักของกระดูกสันอกมากที่สุดคือที่บริเวณมุมกระดูกสันอก ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาทางด้านหน้ามากที่สุดและมีความแคบมากที่สุดด้วย

รูปประกอบเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Clinically Oriented Anatomy, 4th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กระดูกสันอก
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?