For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for กรมทหารรักษาวัง.

กรมทหารรักษาวัง

กรมทหารรักษาวัง วปร.
ประจำการ2 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 (113 ปี)
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อกระทรวงวัง
รูปแบบกำลังกึ่งทหาร
บทบาทถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์
กองบัญชาการพระบรมมหาราชวังและพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สีหน่วย  สีบานเย็น
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บังคับการพิเศษพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้บังคับการพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
จเรทหารพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
เครื่องหมายสังกัด
ตราหน้าหมวกอุศเรน

กรมทหารรักษาวัง วปร. หรือนามอย่างเป็นทางการว่า กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกองกำลังกึ่งทหารส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยเป็นการส่วนพระองค์ จึงทำให้กรมทหารแทนทหารจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า การทหารวังนั้น "มิใช้หน้าที่ของทหาร" แต่เป็นของกรมวังนอก[1]

กรมทหารรักษาวัง อยู่ในสังกัดกระทรวงวัง โดยมีสมุหราชองครักษ์เป็นผู้บังคับการ ทำหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ และมีเจ้าหน้าที่เป็นพลเรือน โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นงบประมาณสำหรับบริหารกิจการภายในกรมทหารรักษาวัง และมีศาลทหารรักษาวังสำหรับพิจารณาคดีโดยเฉพาะ ทำให้สายการบังคับบัญชาของกรมทหารรักษาวังแยกออกจากกระทรวงกลาโหม[2]

ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลดความสำคัญของกรมทหารรักษาวังลงด้วยการลดทอนอัตรากำลังพลของกรมทหารรักษาวัง และเมื่อปี พ.ศ. 2478 คณะราษฎรยุบเลิกกรมทหารรักษาวังไปสังกัดหน่วยทหารของกองทัพบก กระทรวงกลาโหมแทน และเมื่อปี พ.ศ. 2488 ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1

ภูมิหลัง

[แก้]

ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 ได้เกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ทหารจำนวนหนึ่งได้ลุกขึ้นมาก่อกบฏ แม้ว่าการก่อกบฏในครั้งนี้จะไม่สำเร็จ แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ของพระองค์ เพราะเป็นครั้งแรกของสถาบันกษัตริย์ถูกท้าทายพระราชอำนาจของพระองค์

โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยามรามราฆพ เรื่องการก่อตั้งกรมทหารรักษาวัง วปร. แทนทหารของกองทัพบก ความว่า

"เมื่อวันที่ 6 เมษายน ฉันได้พูดจาตกลงกับเสนาบดีกระลาโหมว่า กรมวังนอก ซึ่งมีน่าที่รักษายามตามประตูพระบรมมหาราชวังและวังสวนดุสิต จะได้จัดวางระเบียบใหม่ คือจะได้จัดให้เป็นทหาร จึงขอให้เสนาบดีกระลาโหมเลือกหานายทหารมาเป็นผู้บังคับบัญชา และคนที่เกณฑ์ก็ให้ใช้เกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร กรมวังนอก ตามที่เป็นอยู่ก่อนนั้น สามัญชนเรียกกันว่า ทหารชาววัง [...] การรักษาพาใจไม่สู้เรียบร้อย และตามประตูมียามทหารบกวางซ้อนอยู่ด้วยทุกแห่ง ส่วนที่จะระเบียบใหม่นั้น กรมทหารที่ตั้งขึ้นใหม่เรียกว่า กรมทหารรักษาวัง เป็นทหารบกจริง ๆ แต่สังกัดขึ้นกระทรวงวัง นับว่าเป็นที่เรียบร้อยดี และถอนทหารบกที่เคยวางยามตามประตูวังออกได้..."

หลังจากนั้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่าไม่แน่พระราชหฤทัยต่อความจงรักภักดีของทหารในกองทัพบก ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ จัดตั้ง "กรมทหารรักษาวัง"[3] ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยเป็นการส่วนพระองค์แทนทหารจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และด้วยความมุ่งหวังส่วนพระองค์ว่ากรมทหารรักษาวังนี้จะเป็นความมั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ในพระองค์[4]

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามกรมทหารรักษาวังว่า กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]

โครงสร้าง

[แก้]
ขบวนทหารรักษาวัง วปร.

กรมทหารรักษาวัง วปร. มีรูปแบบการจัดกำลังแบบทหารราบในสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งออกเป็น 3 กองพัน คือ

  • กองพันที่ 3 กรมทหารรักษาวัง วปร. ประจำการอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช; ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2458 ซึ่งรวมพื้นที่มณฑลนครศรีธรรมราช ปัตตานี สุราษฏร์ฏานี ภูเก็ต และเพชรบูรณ์ กองพันยุบเลิกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2468[6]

มีสมุหราชองครักษ์เป็นผู้บังคับการ ทำหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ โดยใช้เงินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินงบประมาณสำหรับบริหารกิจการภายในกรมทหารรักษาวัง และมีศาลทหารรักษาวังสำหรับพิจารณาคดีโดยเฉพาะ ทำให้สายการบังคับบัญชาแยกออกจากกองทัพบก กระทรวงกลาโหม

ในส่วนของกำลังพลนั้นโอนจากข้าราชบริพารที่อยู่ในสังกัดกรมวังนอก รวมถึงทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งทางกรมทหารรักษาวัง วปร. ได้ขอให้โอนย้ายมาสังกัดกรมทหารรักษาวัง วปร. นอกจากนี้แล้วยังมีข้าราชการในพระราชสำนัก รวมทั้งมหาดเล็กสมัครเข้าเป็นทหารรักษาวัง

ทหารรักษาวัง วปร. แต่งกายด้วยหมวกอุศเรนที่มีตราพระครุฑพ่าห์โลหะสีทองติดทับบนดอกไม้แพรจีบสีบานเย็น ประดับพู่สีขาว สวมเสื้อราชประแตน กางเกงสีขาบแกบสีบานเย็น

อ้างอิง

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
กรมทหารรักษาวัง
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?