For faster navigation, this Iframe is preloading the Wikiwand page for วัตสันและปลาฉลาม.

วัตสันและปลาฉลาม

วัตสันและปลาฉลาม
ศิลปินจอห์น ซิงเกิลทัน โคพลีย์
ปีค.ศ. 1778
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.

วัตสันและปลาฉลาม (อังกฤษ: Watson and the Shark) ที่เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น ซิงเกิลทัน โคพลีย์จิตรกรชาวอเมริกัน เป็นภาพของการช่วยเหลือบรุค วัตสันผู้เป็นพ่อค้าบริติชและอดีตนายกเทศมนตรีของนครลอนดอนจากการถูกโจมตีโดยปลาฉลามที่ฮาวานาในคิวบา ภาพต้นฉบับสามภาพโดยโคพลีย์เป็นของ หอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.ในสหรัฐอเมริกา

เบื้องหลัง

[แก้]

เนื้อหาของภาพมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่อ่าวฮาวานาในปี ค.ศ. 1749 บรุค วัตสันในขณะนั้นเป็นเด็กกำพร้ามีอายุ 14 ปี มีทำหน้าที่ทำงานในเรือขนส่งสินค้า ขณะที่ว่ายน้ำอยู่คนเดียวในอ่าววัตสันก็ถูกโจมตีหลายครั้งโดยปลาฉลาม ครั้งแรกปลากัดเนื้อใต้น่องจากขาขวาของวัตสันออกไปก้อนใหญ่ ครั้งที่สองกัดเท้าตั้งข้อเท้าลงไป ผู้อยู่บนเรื่อลำเล็กๆ ที่พายเรือรอพากัปตันขึ้นฝั่งต่อสู้ช่วยชีวิตวัตสันไว้ได้ วัตสันถูกตัดขาจากใต้เข่าลงมา และมีชีวิตอยู่รอดมาได้ และต่อมาก็กลายมาเป็นนายกเทศมนตรีของนครลอน การโจมตีของปลาฉลามดังกล่าวเป็นการโจมตีของปลาฉลามที่ได้รับการบันทึกไว้อย่างละเอียดอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

ภาพเขียน

[แก้]

โคพลีย์กลายมาเป็นเพื่อนของบรุค วัตสันหลังจากที่ย้ายมาอยู่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1774 และเขียนภาพนี้ด้วยกันสามเวอร์ชัน อาจเป็นได้ว่าวัตสันจ้างให้โคพลีย์เขียน เมื่อเสียชีวิตวัตสันก็ยกให้โรงพยาบาลไครสต์ ที่ยังคงมีภาพฉบับก็อปปีหลังจากที่ขายภาพต้นฉบับไปแล้ว โดยหวังว่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ "a most usefull Lesson to Youth" (ไทย: บทเรียนอันมีประโยชน์ที่สุดสำหรับเด็ก) ภาพนี้เป็นภาพแรกในภาพเขียนต่อๆ มาของจิตรกรรมประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่โคพลีย์เขียนหลังจากที่มาตั้งถิ่นฐานในลอนดอน

"แกลดิเอเตอร์บอร์เกเซ"

ภาพนี้เป็นภาพแบบจินตนิยมที่ซ่อนความสยดสยองของบาดแผลถูกซ่อนภายใต้คลื่น (แต่ก็ยังแสดงนัยยะเป็นเลือดในสายน้ำ) และตัววัตสันในภาพเลียนแบบการวางท่างของ "แกลดิเอเตอร์บอร์เกเซ" โดย อกาเซียสแห่งเอฟาซัสที่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ใน กรุงปารีส นอกจากจะเห็นอิทธิพลของศิลปะเรอเนสซองซ์แล้ว โคพลีย์ก็อาจจะก็อาจจะได้มีโอกาสเห็นประติมากรรมเลอาโคอันและบุตรในกรุงโรมอีกด้วย นอกจากนั้นโคพลีย์ก็ยังได้รับอิทธิพลจากภาพ "ความตายของนายพลวูล์ฟ" โดย เบนจามิน เวสต์ และ ความนิยมอันสูงขึ้นของภาพพิมพ์แบบจินตนิยม

ภาพที่สามที่เปลี่ยนองค์ประกอบที่เน้นแนวตั้ง

การวางองค์ประกอบของผู้ที่มาช่วยเหลือจากเรือแสดงนัยยะของงานเขียนของภาพ "โจนาห์ถูกโยนลงทะเล" โดย รูเบนส์ และภาพอื่นอีกสองภาพ "ปาฏิหาริย์ปลา" โดยรูเบนส์ และ งานร่างของราฟาเอลชื่อเดียวกัน ความรู้สึกบนใบหน้าแทบจะเหมือนที่เห็นในภาพ Conférence de M. Le Brun sur l'expression générale et particulière โดย ชาร์ลส์ เลอ บรุน ซึ่งเป็นงานที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1698 อันมีอิทธิพล ซึ่งเป็นงานที่แสดงอารมณ์ต่างๆ หลายอย่างตั้งแต่ความกลัวไปจนถึงความกล้าหาญ ส่วนประกอบหลายอย่างขององค์ประกอบได้รับการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเขียนภาพ จากการวิจัยโดยอินฟราเรดแสดงให้เห็นว่าคนเรือสูงอายุที่เดิมเป็นชายหนุ่ม และ ภาพร่างแสดงกลาลีผิวดำทางตอนหลังของเรือที่ดูเหมือนจะเป็นคนเดียวกับคนที่โคพลีย์ใช้เป็นแบบในภาพ หัวนิโกร ที่เขียนในช่วงเดียวกัน เดิมตั้งใจจะให้เป็นกะลาสีผิวขาวที่ไว้ผมยาวสลวย

ภาพเขียนตั้งแสดงเป็นครั้งแรกที่ราชสถาบันศิลปะในปี ค.ศ. 1778 โคพลีย์เขียนภาพที่สองที่มีขนาดใหญ่เต็มที่ตามแบบภาพแรกสำหรับสำหรับตนเองที่ในปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์, บอสตัน และภาพที่สามที่มีขนาดย่อมกว่าสองภาพแรก และเป็นทรงตั้งมากกว่าทรงนอนในปัจจุบันเป็นของสถาบันศิลปะแห่งดีทรอยต์ ภาพต้นฉบับเป็นของหอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.

โคพลีย์เองไม่เคยเดินทางไปฮาวานา และคงจะไม่เคยเห็นปลาฉลามอย่าว่าแต่การถูกโจมตีด้วยปลาฉลาม อาจจะเป็นได้ว่าโคพลีย์ได้เห็นภาพพิมพ์ของอ่าวฮาวานาจากหนังสือและแหล่งข้อมูลอื่น เพราะในฉากหลังของภาพของโคพลีย์มีจุดสนใจของฮาวานาต่างๆ อยู่ด้วย แต่ที่ขาดความน่าเชื่อถือคือปลาฉลามที่มีรายละเอียดที่ไม่ถูกต้องเช่นลักษณะของปากและตา

อ้างอิง

[แก้]
  • "Watson and the Shark". National Gallery of Art, Washington DC. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-11. สืบค้นเมื่อ 12 November 2006.
  • "The Collection: Watson and the Shark". National Gallery of Art, Washington DC. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 12 November 2006.
  • "Spotlight Biography: Artists: John Singleton Copley". Smithsonian Education. 2006. สืบค้นเมื่อ 12 November 2006.
  • "Biography of John Singleton Copley (1738–1815)". National Maritime Museum, Greenwich. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-13. สืบค้นเมื่อ 12 November 2006.
  • Bendersky, Gordon (2002). "The Original "Jaws" Attack". Perspectives in Biology and Medicine. The Johns Hopkins University Press. 45 (3): 426–432. doi:10.1353/pbm.2002.0043. ((cite journal)): |access-date= ต้องการ |url= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]
{{bottomLinkPreText}} {{bottomLinkText}}
วัตสันและปลาฉลาม
Listen to this article

This browser is not supported by Wikiwand :(
Wikiwand requires a browser with modern capabilities in order to provide you with the best reading experience.
Please download and use one of the following browsers:

This article was just edited, click to reload
This article has been deleted on Wikipedia (Why?)

Back to homepage

Please click Add in the dialog above
Please click Allow in the top-left corner,
then click Install Now in the dialog
Please click Open in the download dialog,
then click Install
Please click the "Downloads" icon in the Safari toolbar, open the first download in the list,
then click Install
{{::$root.activation.text}}

Install Wikiwand

Install on Chrome Install on Firefox
Don't forget to rate us

Tell your friends about Wikiwand!

Gmail Facebook Twitter Link

Enjoying Wikiwand?

Tell your friends and spread the love:
Share on Gmail Share on Facebook Share on Twitter Share on Buffer

Our magic isn't perfect

You can help our automatic cover photo selection by reporting an unsuitable photo.

This photo is visually disturbing This photo is not a good choice

Thank you for helping!


Your input will affect cover photo selection, along with input from other users.

X

Get ready for Wikiwand 2.0 🎉! the new version arrives on September 1st! Don't want to wait?